คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วสันต์ ตรีสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลย 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้ทรัพย์สินเสียหาย แม้บำรุงรักษาดีแล้ว
การไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 2จัดให้มีขึ้นเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนเกิดการลัดวงจรเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ ผู้ต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 นำสืบว่าได้ดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีแล้ว แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าหรือทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการไฟฟ้าต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
การไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในการส่งจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าดังกล่าว เกิดการลัดวงจรเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ผู้ต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 นำสืบว่าได้ดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีแล้ว แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าหรือทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ไว้โดยไม่ชอบ และผลกระทบต่อการฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ภายหลังลดโทษแล้วคงจำคุกคนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน 3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้กรณีนี้จึงมิใช่การส่งไปกักและอบรมตามข้อยกเว้นดังกล่าว เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ดังนั้น คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไว้โดยไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ และการไม่รับฎีกาเนื่องจากขาดอำนาจ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จำคุก คนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งตามมาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้ แต่กรณีดังกล่าวมิใช่การส่งไปกักและอบรมจึงอุทธรณ์ไม่ได้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้โดยไม่ชอบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ แม้ทรัพย์จำนองมีราคาไม่เพียงพอ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้
หนี้ตามคำพิพากษาคำนวณถึงวันที่โจทก์ขอยึดที่ดินพิพาททั้งต้นและดอกเบี้ยรวมมากกว่า 10,000,000 บาท แต่ทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงมีราคาตามราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมไม่ถึง 1,000,000 บาท ที่ดินพิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาที่ดิน 98,119,440 บาท แม้ปัจจุบันเป็นชื่อจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยที่ 3 รับมรดกมาจากผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม ที่ดินจึงอยู่ในขอบเขตที่อาจถูกบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่การยึดทรัพย์ที่ดินพิพาทสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ยึด หากเพิกถอนการยึดโจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์โดยไม่มีการขายอัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมจำนวนมาก เนื่องจากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงยังไม่เสร็จสิ้น ก็ยังไม่ทราบจำนวนหนี้ที่เหลือที่จะบังคับคดีต่อไป และนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าธรรมเนียมได้ และจากสภาพราคาทรัพย์จำนองเป็นที่เห็นได้ว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทรัพย์จำนองเสร็จก็ต้องกลับมายึดที่ดินพิพาทใหม่ การยึดที่ดินพิพาทไว้แต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำที่ดินพิพาทออกขายนั้นไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนองและทรัพย์สินอื่นร่วม: การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้แม้ทรัพย์จำนองมีราคาน้อยกว่าหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ การยึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำนองไว้แต่ยังไม่นำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดที่ดินจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงจะนำที่ดินนั้นออกขายย่อมไม่เป็นการขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-อำนาจฟ้อง: เจ้าของรวมใช้สิทธิแทนกันได้-ทางออกสู่สาธารณะ
จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินร่วมกับ จ. การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็น จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและถือเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 แล้ว ผลแห่งคดีแม้จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ก็ย่อมต้องผูกพันถึง จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวให้เปิดทางจำเป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้อง จ. ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทางจำเป็น: เจ้าของรวมคนหนึ่งต่อสู้แทนเจ้าของรวมอื่นได้ แม้ไม่ได้ฟ้องร่วมกัน
จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดร่วมกับ จ. การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยกับ จ. ไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และถือเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้โจทก์ทั้งเจ็ดมิได้ฟ้อง จ. ด้วย ผลแห่งคดีย่อมต้องผูกพันถึง จ. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นในที่ดินร่วม: สิทธิผ่านทาง, ขนาดทาง, อำนาจฟ้องเจ้าของรวม
ทางซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไปออกสู่ถนน เป็นทางที่โจทก์และประชาชนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ ทั้งไม่ใช่ทางสาธารณะ เพราะเป็นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดมีที่ดินของบุคคลอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงถนนสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินของจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349วรรคแรก
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างทำให้สัญญาเดิมสิ้นผล จำเลยไม่มีสิทธิปรับสัญญา
จำเลยผู้ว่าจ้างเป็นผู้เสนอขอยกเลิกข้อกำหนดเดิมในสัญญา โดยเสนอขอเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการก่อสร้างใหม่ ทำให้สัญญาในส่วนที่จะทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการก่อสร้างใหม่ยังไม่เกิด เพราะคู่สัญญายังไม่สามารถหาข้อยุติและยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับเรื่องการยืดเวลาการก่อสร้าง และนับแต่วันที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการก่อสร้างงานเฉพาะในส่วนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง โจทก์ผู้รับจ้างต้องหยุดทำการก่อสร้าง เนื่องจากต้องรอดูผลจากจำเลยว่าจะอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงหรือไม่ งานในงวดที่ 4 และงวดสุดท้ายจึงไม่จำต้องผูกพันตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเดิม การที่จำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามเงื่อนเวลาในสัญญาฉบับเดิมจึงไม่ถูกต้อง โจทก์มีเหตุผลในการส่งมอบงานล่าช้าซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์มิได้ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิปรับและหักเงินค่าจ้างโจทก์
of 32