คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วสันต์ ตรีสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 พ.ร.บ.แพ่งฯ เพราะเป็นนิติกรรมระหว่างสามีภรรยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยานศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยซึ่งเป็นภรรยาระหว่างสมรสซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภรรยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินต่อจำเลย จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1469มาใช้บังคับ หาใช่นำบทบัญญัติมาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน จึงให้งดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษานั้นเป็นการสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดิน 7 แปลง แก่จำเลยซึ่งเป็นภริยาระหว่างสมรสนิติกรรมการให้จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้วดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินทั้งหมดต่อจำเลย กรณีต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 1469 มาใช้บังคับ หาใช่ต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับของจำเลยที่ไม่เชื่อมโยงกับหลักฐานอื่น ไม่เพียงพอลงโทษ จำเลยต้องได้รับการยกฟ้อง
คำรับของจำเลยที่ว่าตนเป็นคนลักทรัพย์ผู้เสียหายไปต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนนั้น แม้จะถือว่าเป็นคำรับอันเป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของจำเลยและสามารถใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ก็ตาม แต่โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามคำรับด้วยจึงจะลงโทษจำเลยได้เพราะเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นเช่นนั้นเมื่อโจทก์ไม่มีพยานเห็นว่าจำเลยเป็นคนร้าย ทั้งผลการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือแฝงที่ปรากฏบนพื้นกระจกโต๊ะและกระจกบานเกล็ดในที่เกิดเหตุเปรียบเทียบกับลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยแล้วพบว่าลายพิมพ์นิ้วมือแฝงมีจุดลักษณะสำคัญพิเศษของลายเส้นแตกต่างจากลายพิมพ์นิ้วมือ10 นิ้ว ของจำเลย กรณีจึงไม่พอฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่น การครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
แม้ผู้ตรวจพิสูจน์จะตรวจพบรอยขูดลบเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายทะเบียนที่อาวุธปืนของกลาง แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าเครื่องหมายทะเบียนเดิมเป็นเลขใด ประกอบกับได้ความในชั้นสอบสวนว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จึงต้องรับฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนของผู้อื่นดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และความผิดฐานขู่เข็ญ
แม้ผู้ตรวจพิสูจน์จะตรวจพบรอยขูดลบเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายทะเบียนที่อาวุธปืนของกลาง แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าเครื่องหมายทะเบียนเดิมเป็นเลขใด ประกอบกับได้ความในชั้นสอบสวนว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จึงต้องรับฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนของผู้อื่นดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้ภารจำยอมต้องมีการใช้สิทธิโดยเปิดเผย ต่อเนื่อง และโดยปรปักษ์ หากเจ้าของที่ดินอนุญาตให้ใช้ ย่อมไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์
โรงเรียน ศ. ไม่มีรั้วล้อมรอบ ชาวบ้านกับโจทก์เดินผ่านสนามของโรงเรียนมานานถึง 40 ปีเศษ หากมีนักเรียนใช้สนามอยู่ก็จะเดินไปตามขอบสนามโดยไม่มีการทำไว้เป็นทางเดิน แต่การที่โจทก์และชาวบ้านเดินผ่านสนามได้เพราะเจ้าของโรงเรียนอนุญาตให้เดิน โจทก์จึงมิได้เดินอย่างปรปักษ์ ดังนั้น แม้โจทก์จะเดินผ่านทางดังกล่าวมานานถึง 40 ปีเศษ ก็ไม่ได้ภารจำยอม กรณีไม่อาจนับอายุความการเดินผ่านสนามไปต่อกับทางอื่นซึ่งโจทก์ใช้มาไม่ถึง 10 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและการเริ่มต้นสิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิหน้าที่บิดากับบุตรพึงมีต่อกันตามกฎหมายจึงเริ่มในวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่นับแต่วันฟ้องของโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งร้างและการอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา
หลังจากโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว โจทก์กับจำเลยไปอยู่กินกันที่บ้านมารดาโจทก์ ต่อมามารดาและพี่สาวโจทก์มีเรื่องทะเลาะกับจำเลย จำเลยกับบุตรจึงต้องออกไปอาศัยอยู่ที่อื่นซึ่งโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยละทิ้งร้างโจทก์ส่วนการที่โจทก์ไปอยู่กับจำเลยได้ประมาณ 3 เดือน แล้วกลับออกมาอยู่กับมารดาโจทก์โดยอ้างว่ามีเรื่องทะเลาะกับจำเลยและจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าบ้านนั้นก็เป็นเรื่องระหองระแหงกันระหว่างสามีภริยาซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาแต่โจทก์กลับละทิ้งจำเลยและบุตรกลับมาอยู่บ้านมารดาโจทก์โดยไม่สนใจนำพาจำเลยแม้ต่อมาจำเลยจะย้ายบ้านมาอยู่ข้างบ้านมารดาโจทก์ห่างออกไปเพียง 5 ถึง 6 ห้องเพื่อต้องการให้โจทก์มาอยู่กินด้วย แต่โจทก์ก็ไม่มา เมื่อจำเลยต้องย้ายที่อยู่ใหม่ห่างประมาณ 3 ป้ายรถประจำทาง แต่โจทก์ก็ไม่เคยมาหาหรือชักชวนจำเลยกับบุตรให้กลับไปอยู่ด้วยกัน อันเป็นการผิดปกติวิสัยของสามีที่จะพึงมีต่อภริยาแสดงให้เห็นว่าโจทก์สิ้นความรักความผูกพันต่อจำเลยแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นฝ่ายละทิ้งร้างจำเลย มิใช่จำเลยละทิ้งร้างโจทก์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของบิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ หากไม่อุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษา บุตรผู้เยาว์ย่อมฟ้องเรียกเอาค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตามมาตรา 1598/38 และสิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นก็จะสละมิได้ตามมาตรา 1598/41 ฉะนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้เยาว์ไม่ยอมรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากโจทก์ผู้เป็นบิดาที่เสนอให้ ย่อมไม่ทำให้สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษโดยไม่สืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีอาญาที่มีโทษสูง เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิง ส. อายุ 12 ปีเศษ ไปเสียจากบิดาและผู้ปกครองของผู้เยาว์ โดยปราศจากเหตุสมควรเพื่อการอนาจาร ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 317 หากศาลฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคท้าย ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ระบุว่า อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยขอให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องและไม่ต้องการทนาย โจทก์และจำเลยไม่ขอสืบพยาน ศาลเห็นสมควรให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงก่อนมีคำพิพากษา จึงเลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคท้าย ตามคำฟ้องโดยไม่มีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก่อนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญ + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ แม้ราคาทรัพย์สินไม่ใช่สาระสำคัญโดยตรง
การที่โจทก์ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ในราคา 4,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาทในราคา 52,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ก็ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีราคาท้องตลาดมากกว่า 36,000,000 บาท เป็นการทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดเพราะถูกนายหน้าขายที่ดินพิพาทหลอกลวง ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 กับพวกรู้ถึงการหลอกลวง การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเช่นนี้ แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เช่นเดียวกัน เมื่อนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมรายนี้เป็นโมฆะเพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ
of 32