คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วสันต์ ตรีสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการถอนฟ้องคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฎีกาเป็นอันลบล้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านแล้ว ซึ่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยตามมาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: การสมรสซ้อนและผลกระทบต่อสิทธิในครอบครัวและมรดก
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. นั้น ว. ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องที่ 1 อยู่ตลอดมาจน ว. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1445 (3) (เดิม) และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. แม้ภายหลัง ว. ได้ถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. สิ้นสุดลงก็ตาม แต่เมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. ยังเป็นโมฆะอยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิในครอบครัวและสิทธิในมรดก ผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดฐานมีอาวุธปืน และการที่ศาลฎีกาสั่งยกฟ้องข้อหาขาดอายุความ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 26 กรกฎาคม 2535 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 3 ตุลาคม 2540 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4856-4857/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น ไม่ถือเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ แม้มีการรับรองเขตที่ดินให้
ศาลชั้นต้นไม่ได้ชี้สองสถาน โดยนัดสืบพยานวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 หลังจากสืบพยานผู้ร้องไปบางส่วนแล้ว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2544 คู่ความแถลงร่วมกันขอให้ทำแผนที่พิพาท ศาลชั้นต้นจึงสั่งให้จัดทำแผนที่พิพาท สำนักงานที่ดินจังหวัดระยองจัดทำแผนที่ดินพิพาทส่งมาถึงศาลวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการสืบพยานผู้คัดค้าน ข้อเท็จจริงจึงปรากฏว่าเนื้อที่ดินที่รุกล้ำอยู่นั้นเป็นจำนวนเนื้อที่ 25.7 ตารางวา ไม่ใช่ 14 ตารางวา ตามที่ผู้ร้องคิดคำนวณเองและระบุในคำร้อง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ร้องก็ไม่อาจทราบได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น ประกอบกับตามคำร้องขอที่ผู้ร้องเสนอคดีต่อศาลระบุอาคารของผู้ร้องบางส่วนปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาท ผู้ร้องคำนวณเนื้อที่ส่วนนี้ได้ 14 ตารางวา ผู้ร้องครอบครองอย่างเป็นเจ้าของซึ่งหมายถึงครอบครองส่วนที่รุกล้ำอยู่ทั้งหมด จำนวนเนื้อที่ระบุในคำร้องขอจึงเป็นส่วนของรายละเอียดในคำร้องขอ จึงเป็นการขอแก้ไขในส่วนของรายละเอียดให้ชัดเจน ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย แม้ขณะร้องขอแก้ไขได้มีการสืบพยานเสร็จแล้ว คดีอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาแต่ก็ถือว่าคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
ผู้ร้องรับรองความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านมาโดยตลอด ไม่ได้ครอบครองโดยแย่งกรรมสิทธิ์ แม้เมื่อปี 2541 ถึงปี 2542 ผู้คัดค้านรังวัดที่ดิน ผู้ร้องไม่ยอมลงชื่อรับรองเขตเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ยังไม่พอฟังว่าผู้ร้องแสดงเจตนาต่อผู้คัดค้านเปลี่ยนการยึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนภริยาจากการแสดงตนเป็นชู้สาว แม้จะมีการฟ้องหย่าและแยกกันอยู่
ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ภริยาชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวโดยมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาจะต้องเกิดความเสียหายอย่างใดหรือจะต้องเป็นภริยาที่อยู่กินกับสามีและอุปการะเลี้ยงดูกัน หรือต้องไม่มีคดีฟ้องหย่ากันอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภริยาเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้ แม้แยกกันอยู่และมีคดีหย่า
ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ภริยาชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว โดยมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาจะต้องเกิดความเสียหายอย่างใดหรือจะต้องเป็นภริยาที่อยู่กินกับสามีและอุปการะเลี้ยงดูกัน หรือต้องไม่มีคดีฟ้องหย่ากันอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้แม้โจทก์กับสามีจะมิได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแล้วและมีคดีฟ้องหย่ากันก่อนที่จะเกิดเหตุตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างนิติกรรมการให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: การใช้สิทธิโดยสุจริต
โจทก์ยอมให้จำเลยมีชื่อร่วมในบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งยื่นคำขอเปิดระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นคู่สมรส โดยโจทก์ตกลงยกเงินฝากที่เป็นสินส่วนตัวของโจทก์ในบัญชีดังกล่าวจำนวน 7,500,000 บาท ให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ให้สิทธิสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกล้างสัญญาได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมการให้เงินต่อจำเลย ซึ่งเป็นการกระทำในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันไว้ในระหว่างสมรส โดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม เหตุแห่งการบอกล้างนั้นจึงขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ไม่พอใจจำเลย โจทก์ย่อมใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมได้ ไม่ใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: คุ้มครองสิทธิคู่สมรสจากอิทธิพลเสน่หาหรือความเสียเปรียบ
โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ตกลงยกเงินฝากประจำส่วนหนึ่งอันเป็นสินส่วนตัวของโจทก์จำนวน 7,500,000 บาท ซึ่งอยู่ในบัญชีเงินฝากที่โจทก์ยอมให้จำเลยมีชื่อร่วมให้แก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้สิทธิสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้ภายในเวลาที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่การบอกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อโจทก์บอกล้างนิติกรรมให้เงิน 7,500,000 บาท ต่อจำเลยแล้วในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกันอยู่ การบอกล้างดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวอันเป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของคู่สมรสโดยทั่วไปที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างสมรสโดยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเสน่หาหรือเหตุอื่นใดอันทำให้ตนต้องเสียประโยชน์ มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกข่มเหงโดยไม่ชอบธรรม โดยเหตุแห่งการบอกล้างนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ให้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ไม่พอใจจำเลย โจทก์ย่อมใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมการให้เงินดังกล่าวแก่จำเลยได้ จึงไม่ใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมเหยียดหยามและหมิ่นประมาท ศาลพิจารณาพฤติการณ์โดยรวมและเหตุแห่งการกระทำ
โจทก์มีพฤติการณ์ส่อว่าจะมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับผู้หญิงอื่น จำเลยหึงหวงเป็นเหตุให้ทะเลาะกันมาโดยตลอด ณ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับโจทก์เคยมาขอยืมเงินโจทก์ไปแล้วยังใช้คืนไม่หมด ต่อมา ณ. ขอให้โจทก์นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองเพื่อนำเงินกู้มาเป็นค่าใช้จ่ายเดินทางไปทำงานต่างประเทศอีก แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อให้ความยินยอมในการจดทะเบียนจำนอง จึงเกิดทะเลาะกัน โจทก์จำเลยเขียนบันทึกโต้ตอบกันโดยโจทก์ด่าจำเลยก่อนว่าโจทก์กับจำเลยเป็นบุคคลคนละชั้นกัน จำเลยจึงลำเลิกบุญคุณด่ากลับทำนองว่าโดยเลี้ยงดูส่งเสียโจทก์มาก่อน การที่จำเลยพูดห้ามบุตรสาวจำเลยไม่ให้เข้าใกล้โจทก์และว่าไอ้คนนี้ถ้าคลำไม่มีหางมันเอาหมดนั้น เป็นการกระทำไปโดยเจตนาเตือนให้บุตรสาวระมัดระวังตัวไว้ เพียงแต่ใช้ถ้อยคำอันไม่สมควรเยี่ยงมารดาทั่วไปเท่านั้น นอกจากนี้ การที่จำเลยพูดว่าทำนองเหยียดหยามโจทก์และมารดาโจทก์เกิดจากโจทก์และมารดาโจทก์มีส่วนร่วมก่อให้จำเลยกระทำการดังกล่าวอยู่มาก จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเหยียดหยามโจทก์และมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงอันโจทก์จะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสที่เสียหายและการแยกสินสมรสเมื่อสามีจัดการสินสมรสไม่ระมัดระวัง
จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์จึงยังมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เงินชดเชย เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5)
จำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลย 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวง 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลย คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) (2) (5)
of 32