พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมโดยไม่แจ้งสิทธิในการปฏิเสธไม่กระทบความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน
การที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์ยาว 1 คืบ แทงที่บริเวณลิ้นปี่ของผู้เสียหายนั้นอาจเป็นความผิดฐานทำร้ายร่ายกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือรับอันตรายสาหัส หรือพยายามฆ่าผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้สอบสวนถึงการกระทำนั้นของจำเลย ทั้งมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้ว แต่การแจ้งข้อหาก็หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจำต้องแจ้งข้อหา ทุกกระทงความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกันไม่ ซึ่งในการสอบสวนจำเลยครั้งแรกพนักงานสอบสวนได้แจ้ง ข้อหาฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจให้จำเลยทราบแล้วว่าคำให้การอาจใช้ยันจำเลย ในชั้นพิจารณาของศาลได้และจำเลยให้การปฏิเสธ แม้จะมีการสอบสวนโดยแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยอีกสองครั้ง แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งแก่จำเลยว่าคำให้การเพิ่มเติมอาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ มิได้ทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการไม่ชอบเพราะบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 เพียงแต่บัญญัติว่าคำให้การจำเลยไม่อาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ซึ่งตามคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยอีกสองครั้ง ก็มีเพียงว่า ขอให้การปฏิเสธตามที่ให้การในครั้งแรก จึงไม่มีข้อความใดที่จะใช้ยันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว ศาลฎีกายกฟ้องในส่วนดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรม โดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ซึ่งความผิดดังกล่าวมีบัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 21 จึงถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาเวชกรรมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2544 เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดฐานประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 , 11 , 21 ที่แก้ไขแล้ว เท่ากับเป็นการขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างกฎหมายผิด ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ไม่ได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินยักยอกที่วางศาลเกิน 5 ปี ผู้เสียหายไม่รับสิทธิขาดตกเป็นของแผ่นดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งนำมาใช้ในคดีอาญาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อจำเลยได้นำเงิน20,885 บาท ที่ยักยอกไปมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อวันที่ 6มิถุนายน 2539 ผู้เสียหายต้องมารับไปภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวาง มิใช่นับจากวันที่ผู้เสียหายทราบถึงการวางเงิน การที่ผู้เสียหายมาขอรับเงินเมื่อวันที่ 21มิถุนายน 2545 ซึ่งเกิน 5 ปี เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่จำเลยวางศาลเพื่อชำระหนี้ ผู้เสียหายต้องรับภายใน 5 ปี มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งนำมาใช้ในคดีนี้ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อจำเลยได้นำเงิน 20,885 บาท ที่ยักยอกไปมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2539 ผู้เสียหายต้องมารับไปภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวาง มิใช่นับจากวันที่ผู้เสียหายทราบถึงการวางเงิน การที่ผู้เสียหายมาขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2545 ซึ่งเกิน 5 ปี เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5030/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายยาเสพติดเสร็จสมบูรณ์ แม้จะถูกจับกุมก่อนรับเงิน และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
การที่จำเลยทั้งห้าตกลงจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ผู้ล่อซื้อโดยจำเลยทั้งห้าตรวจดูเงินที่ใช้ในการล่อซื้อและพาสิบตำรวจเอก อ. ไปตรวจรับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ซ่อนไว้ในบังกาโลเฟรนด์ จากนั้นได้นำของกลางทั้งหมดขึ้นรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 1 ขับ และวางเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ที่วางเท้าด้านซ้าย ซึ่งเป็นด้านที่สิบตำรวจเอก อ. นั่งมาเพื่อส่งมอบต่อให้แก่ร้อยตำรวจเอก บ. ที่ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเช่นนี้ แม้จำเลยทั้งห้าจะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมก่อนรับเงินค่าซื้อขายของกลาง การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งตรวจนับจำนวนแน่นอนและส่งมอบแล้วย่อมเป็นอันเสร็จบริบูรณ์ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงพยายามจำหน่ายแมทแอมเฟตามีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5030/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้จับกุมก่อนรับเงิน แต่การซื้อขายเสร็จสมบูรณ์แล้ว
จำเลยทั้งห้าตกลงจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยทั้งห้าตรวจดูเงินที่ใช้ในการล่อซื้อและพาสิบตำรวจเอก อ. ไปตรวจรับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ซ่อนไว้ในบังกาโล จากนั้นได้นำของกลางทั้งหมดขึ้นรถยนต์กระบะคันที่จำเลยที่ 1 ขับ และวางเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ที่วางเท้าด้านซ้าย ซึ่งเป็นด้านที่สิบตำรวจเอก อ. นั่งมาเพื่อส่งมอบต่อให้แก่ร้อยตำรวจเอก บ. ที่ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า แม้จำเลยทั้งห้าจะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมก่อนรับเงินค่าซื้อขายของกลาง การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งตรวจนับจำนวนแน่นอนและส่งมอบแล้ว ย่อมเป็นอันเสร็จบริบูรณ์ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนผิดทางอาญา ภริยาไม่มีสิทธิฟ้องฎีกา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จำเลยและ ส. ต่างขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย ส. จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย ส. จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ป. ภริยาของ ส. จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทน ส. ซึ่งถึงแก่ความตายตามมาตรา 5(2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: กรณีผู้ตายมีส่วนผิดทางอาญา ภริยาไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยและ ส. (ผู้ตาย) ต่างขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทส. จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย ดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่า ส. มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ป. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภริยาของ ส. จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทน ส. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ป. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ ป. ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในที่ดินป่าสงวน กรณีต่ออายุอนุญาตล่าช้า และการพิสูจน์การซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อครบกำหนดอนุญาตแล้ว โจทก์ได้ยื่นหนังสือต่อทางราชการขอทำกินต่อไปอีก ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวถึงปี 2531 นั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาทางราชการจะส่งเจ้าหน้าที่มารับคำขอเพื่อนำไปจัดทำใบ สทก.2ต่อไป แต่ในปี 2532 ทางราชการมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอจึงไม่ได้จัดส่งคนไปรับคำขอเพิ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปรับคำขอเมื่อปี 2533 กรณีจึงเป็นเรื่องตกค้างจากปี 2533 ซึ่งป่าไม้เขตมีคำสั่งรับใบคำขอของโจทก์แล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทอยู่ต่อเนื่องตลอดมา โจทก์ซึ่งมีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาจำนอง: การคุ้มครองหนี้ทุกประเภท และผลกระทบต่อการไถ่ถอนจำนอง
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์กับธนาคารจำเลยนอกจากจะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลยแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังค้างชำระหนี้ตามสัญญาขายตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย จึงถือได้ว่าโจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์ได้