คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วสันต์ ตรีสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทุกประเภท: การบังคับจำนองเมื่อยังค้างชำระหนี้อื่น
โจทก์ทำสัญญากู้เงินไปจากจำเลย โดยจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันการชำระหนี้ และตกลงทำหนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ระบุว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่ผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้าก็ตาม? ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายอย่างชัดแจ้งว่าสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวนอกจากจะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลยแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีก เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังค้างชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลย ถือได้ว่าโจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-กรรมเดียวหลายกรรม: คดีสถานพยาบาลและขายยา
การดำเนินคดีในศาลแขวงต้องการความรวดเร็ว จึงเปิดโอกาสให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้ โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดดังเช่นคดีอาญาทั่วไปไม่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาในฟ้องได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาล และจำเลยขายยาลูกกลอนด้วยนั้นจำเลยกระทำด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตและการขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียน: การพิจารณาความเคลือบคลุมของฟ้องและกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ประกอบกิจการสถานพยาบาลไม่มีชื่อ ซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะ โดยจำเลยกระทำเป็นปกติธุระได้รับผลประโยชน์ตอบแทนและไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายและจำเลยขายยาลูกกลอนอันเป็นยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้กับกระทรวงสาธารณสุขให้แก่บุคคลทั่วไป ส่วนการที่จำเลยจะกระทำเป็นปกติธุระอย่างไร มีประชาชนหลงเชื่อเข้าไปให้จำเลยทำการรักษาพยาบาลกี่ราย จำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ใดบ้างกี่ครั้ง และจำเลยขายยาลูกกลอนให้แก่ผู้ใดบ้างนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ประกอบกับการดำเนินคดีในศาลแขวงต้องการความรวดเร็ว จึงเปิดโอกาสให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้ โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดดังเช่นคดีอาญาทั่วไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลเพื่อประกอบโรคศิลปะและขายยาลูกกลอน จำเลยมีเจตนาที่ต่างกัน ย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดไว้แยกจากกัน คือ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่งอีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตในสองกรณีแตกต่างกัน แสดงว่าในแต่ละฐานความผิดต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาแตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีลักษณะการกระทำและเจตนาต่างกันเป็นความผิดหลายกรรม
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯ ได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลกับฐานดำเนินการสถานพยาบาลไว้แยกจากกัน คือ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตในสองกรณีก็แตกต่างกัน แสดงให้เห็นได้ชัดว่า ในแต่ละฐานความผิดดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไปการกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
แม้ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลและความผิดฐานดำเนินการสถานพยาบาล จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน แต่กฎหมายได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดในกรณีทั้งสองแยกจากกัน ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลก็แตกต่างกัน แสดงให้เห็นได้ชัดว่าในแต่ละฐานความผิดดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาแตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ซึ่งหากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 97: การคำนวณโทษและการปรับบทกฎหมาย
ในเรื่องการเพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 นั้น โทษกึ่งหนึ่งที่จะนำมาคำนวณในการเพิ่มโทษที่จะลงโทษแก่จำเลยหมายถึงโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลได้กำหนดไว้สำหรับความผิดครั้งหลัง ซึ่งก็คือโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลได้กำหนดไว้สำหรับความผิดในคดีนี้ มิใช่เป็นโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลได้กำหนดไว้สำหรับความผิดครั้งก่อนหรือความผิดในคดีอาญาของศาลชั้นต้นทั้งสองคดีรวมกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 2 กระทง จำคุก 10 ปี การที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยอีกกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี นั้น เป็นการเพิ่มโทษที่ถูกต้องและชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว และเมื่อมีการลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามเพราะเหตุจำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุม คงจำคุก 10 ปี ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าเสียหายจากเหตุละเมิดต่อทรัพย์สิน: ราคาขณะเกิดเหตุ vs. ราคาซื้อเดิม และค่าเสื่อมราคา
ปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในเหตุที่จำเลยนำเครื่องบินของโจทก์ขึ้นฝึกบินโดยประมาทจนเป็นเหตุให้เครื่องบินตกมากน้อยเพียงใดให้คิดคำนวณราคาทรัพย์เพื่อชดใช้แทนตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาในขณะเกิดเหตุละเมิด ด้วยเหตุนี้การคิดมูลค่าของเครื่องบินจึงต้องคิดจากราคาในขณะเกิดเหตุละเมิดไม่ใช่คิดจากราคาซื้อเดิม นอกจากนี้เครื่องบินเป็นทรัพย์สินที่เสื่อมราคาเพราะการใช้งานจึงต้องคิดค่าเสื่อมราคาด้วย ดังนั้น ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะทำให้เครื่องบินของโจทก์ตกโดยประมาทคือราคาเครื่องบินขณะเกิดเหตุหลังจากหักค่าเสื่อมราคาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด คำนวณจากราคาทรัพย์สินขณะเกิดเหตุ ไม่ใช่ราคาซื้อเดิม
ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย การคำนวณราคาทรัพย์เพื่อชดใช้แทนนั้นต้องคิดฐานที่ตั้งจากราคาในขณะเกิดเหตุละเมิด ไม่ใช่คิดจากราคาซื้อเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าเสียหายจากละเมิดต่อทรัพย์สินเสื่อมราคา: ราคาขณะเกิดเหตุเป็นฐาน
โจทก์ซื้อเครื่องบินลำเกิดเหตุมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2533 ในราคา 3,899,087บาท แต่ขณะเกิดเหตุเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2535 เครื่องบินเช่นลำเกิดเหตุมีราคาลำละ4,717,898 บาท แสดงว่าเครื่องบินของโจทก์ย่อมมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจากเครื่องบินเป็นทรัพย์สินที่เสื่อมราคาเพราะการใช้ ช่วงเวลา 1 ปี 9 เดือน ของการใช้งานคำนวณค่าเสื่อมราคาได้ 1,106,347 บาท ฉะนั้นการคำนวณราคาซึ่งจะต้องหักค่าเสื่อมราคาออกด้วยจึงต้องคิดฐานที่ตั้งจากราคา 4,717,898 บาท ซึ่งเป็นราคาในขณะเกิดเหตุละเมิดไม่ใช่คิดจากราคาซื้อเดิม
of 32