พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้ที่กระทำผิดร่วม: ผู้เสียหายต้องไม่มีส่วนกระทำผิด
จำเลยได้แจ้งความร้องทุกข์โจทก์ร่วมในข้อหาทำร้ายร่างกาย โจทก์ร่วมให้การรับสารภาพเนื่องจากโจทก์ร่วมทำร้ายร่างกายจำเลยหลังจากจำเลยใช้อาวุธมีดแทงโจทก์ร่วมแล้ว ซึ่งคดีดังกล่าวพนักงานอัยการได้แยกฟ้องโจทก์ร่วมในข้อหาทำร้ายร่างกาย ศาลมีคำพิพากษาปรับโจทก์ร่วมแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายจำเลยในเหตุการณ์ที่จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ร่วมในคดีนี้ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และทำให้ไม่มีอำนาจที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามมาตรา 30 โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจยื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้แม้ผู้กู้มอบเช็คแล้ว แต่ไม่นำไปขึ้นเงิน ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องระงับ
แม้ตามสัญญากู้ยืมเงินจะระบุว่า พ. สั่งจ่ายเช็คธนาคารนครหลวงไทย จำกัด เพื่อชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ แต่เมื่อไม่มีการนำเช็คฉบับดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน และต่อมา พ. ถึงแก่กรรมหนี้เงินกู้จึงยังไม่ระงับ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมได้ การที่โจทก์ไม่นำเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้กู้ยืมไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องมีข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการปราบปราม
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 100/2 ที่ให้อำนาจศาลลงโทษปรับผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เจ้าพนักงานนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำผิดรายอื่นต่อไป ข้อเท็จจริงในคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิด และให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ไม่ขอต่อสู้คดีเท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้ข้อเท็จจริงใดที่เป็นเบาะแสสำคัญที่จะนำไปใช้ในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษได้ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในคดียาเสพติด: เงื่อนไขการลดโทษตามมาตรา 100/2 พ.ร.บ.ยาเสพติด ต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปราบปราม
ตามบทบัญญัติมาตรา 100/2 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ศาลจะลงโทษปรับน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน ซึ่งจากข้อมูลที่ผู้กระทำความผิดให้ดังกล่าวทำให้เจ้าพนักงานนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำผิดรายอื่นต่อไป ข้อเท็จจริงในคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิดและให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ไม่ขอต่อสู้คดีเท่านั้น จำเลยจึงไม่ได้ให้ข้อเท็จจริงใดที่เป็นเบาะแสสำคัญที่จะนำไปใช้ในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษได้ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้จนกว่ามีคำพิพากษา
การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม มิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีก่อนหน้า: การรับสารภาพและการเชื่อมโยงตัวจำเลย
ฟ้องโจทก์ได้ระบุไว้แล้วว่านอกจากจำเลยจะกระทำความผิดในคดีนี้แล้ว ยังได้กระทำความผิดโดยถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7354/2544 ของศาลชั้นต้นด้วย และคำขอท้ายฟ้องได้ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ จึงถือว่าจำเลยรับว่าได้กระทำผิดจริงและเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อด้วย และสำหรับคดีที่โจทก์ฟ้องในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่ายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 กำหนดโทษขั้นต่ำ จำคุก 4 ปี ซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ฉะนั้น ศาลจึงลงโทษและนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7354/2544 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดในที่ดินขายฝาก: ประเด็นอายุความและประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม
เรื่องค่าเสียหายโจทก์บรรยายกล่าวไว้ในคำฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้ การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องนั้นให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาล เมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วน และกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม ไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยานแต่อย่างใดจึงชอบแล้ว
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, การชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝาก, และการพิสูจน์หลักฐาน
ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนั้น แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลอาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้
การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วนและกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม จึงไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยาน
การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อครบกำหนดไถ่คืนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนและโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปการละเมิดก็ยังคงอยู่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วนและกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม จึงไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยาน
การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อครบกำหนดไถ่คืนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนและโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปการละเมิดก็ยังคงอยู่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทันที ทำให้สิทธิฎีกาถูกจำกัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดยื่นอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุสุดวิสัย โดยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ด้วย โดยยื่นภายในกำหนดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: ต้องเป็นผู้ต้องหายังไม่ถูกฟ้องเป็นจำเลย
ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มาตรา 19 จะต้องเป็นผู้ต้องหา มิใช่ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว