พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยการปฏิบัติตามคำสั่งศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว ทำให้สิทธิในการยกคดีขึ้นพิจารณาอีกครั้งหมดไป
โจทก์ได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลที่ให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาของ ศาลแขวงธนบุรี ศาลพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงทราบและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าว โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา คดีดังกล่าว โดยโจทก์ได้ไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง แต่โจทก์กลับมิได้ดำเนินการแถลงต่อศาลภายในกำหนด ระยะเวลาตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด เพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ซึ่งเป็นระยะเวลาเนิ่นนานหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ 6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาล ทั้งคำสั่งศาลดังกล่าวก็ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: คดีล้มละลาย - การขยายระยะเวลาวางเงินซื้อทรัพย์ - ค่าขึ้นศาลคำขอปลดเปลื้องทุกข์
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และมีคำสั่งให้รับเงิน 8,150,000 บาท จากผู้ร้อง กับดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์ต่อไป ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยจะมีผลเพียงให้ผู้ร้องวางเงินไว้ร้อยละห้าของราคาทรัพย์ที่ซื้อโดยวางเพิ่มอีกเป็นเงิน 8,150,000 บาท และผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินส่วนที่เหลืออีกจำนวน 173,850,000 บาท ไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้มีผลเป็นการขอบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายและโอนที่ดินที่ผู้ร้องซื้อได้จากการขายทอดตลาดให้ผู้ร้อง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการ ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องจากความเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล และขอบเขตการจำหน่ายคดี
ในการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในครั้งหลัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลำนารายณ์ ให้ยกคำร้อง และให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและท้ายคำร้องของโจทก์มีหมายเหตุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบอีกโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเมื่อโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดเวลา กรณีต้องถือว่าโจทก์ เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132(1) แต่ตามมาตรา 132(1) นี้ไม่ได้ บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เหตุคดีนี้ที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เป็นเพราะโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ศาลจึงควรจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่สมควรจำหน่ายทั้งคดีออกจากสารบบความทั้งโจทก์ได้ดำเนินการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว และคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1กรณีมีเหตุสมควรไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์ ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และผลกระทบต่อการจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลย
ในการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในครั้งหลัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 1ทำงานอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลำนารายณ์ให้ยกคำร้องและให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นคำร้อง และท้ายคำร้องของโจทก์มีหมายเหตุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบอีกโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดเวลา กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132 (1) แม้ตามมาตรา 132 (1)นี้ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ แต่คดีนี้ เหตุที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องเป็นเพราะโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ศาลจึงควรจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลเท่านั้นไม่สมควรจำหน่ายทั้งคดีออกจากสารบบความ ทั้งโจทก์ได้ดำเนินการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว และคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 กรณีมีเหตุสมควรไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2โดยให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป และไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป และไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการนำส่งเอกสารอุทธรณ์ล่าช้าและการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา70 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา174 (2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132 (1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริง ก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่
แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป
แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ร้องในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้วการที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132(1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริงก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากคำร้องเป็นการฟ้องมีผลต่อค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132(1) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีและผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยันและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่นๆที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20บาทมาใช้บังคับสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้องและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายบัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยันหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา132(1)ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องและตามมาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง20บาทเช่นเดียวกับการยื่นคำขออื่นๆต่อศาลชั้นต้นที่ต้องทำเป็นคำร้องตามตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1),174(2)และมาตรา246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องต้องห้ามตามกฎหมายพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา