คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 132 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล และขอบเขตการจำหน่ายคดี
จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งในส่วนของฟ้องเดิมและส่วนของฟ้องแย้ง จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องเดิมครบแล้ว แต่ไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนของฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องแย้งให้ครบ จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในเวลาที่ศาลกำหนด ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องแย้ง ซึ่งศาลอุทธรณ์จะสั่งจำหน่ายคดีชั้นอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้งเท่านั้น จะสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดรวมทั้งอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องเดิมด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งเอกสารภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า นัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดให้จำเลย ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง กำหนด 7 วัน ดังกล่าวแม้จะไม่ระบุให้ชัดว่านับแต่วันใด ก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดไม่ได้ หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมายต่อศาลไม่ เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามคำสั่งศาล จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัด การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่านัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดให้จำเลยส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน7วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องกำหนด7วันดังกล่าวแม้จะไม่ระบุให้ชัดว่านับแต่วันใดก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าในแถลงใน7วันนับแต่วันส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดไม่ได้หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมายต่อศาลไม่เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้ตามคำสั่งศาลจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จำเลยในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งศาล
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่ง สำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้อง จัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมาย รายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่ง ในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลงถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "จำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียก แม้จะวางเงินค่าส่งแล้ว
ในคดีอาญาศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว มีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ ให้โจทก์นำส่งหมายภายใน7 วัน หากไม่นำส่งให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โจทก์ทราบคำสั่งแล้วทนายโจทก์นำเงินค่าส่งหมายไปวางต่อเจ้าพนักงานศาลแต่มิได้นำส่งถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)ประกอบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรขาเข้า-ภาษีการค้า น้ำมันปาล์ม ร.บ.ดี. ไม่พึงบริโภค โจทก์ต้องเสียอากรในอัตราที่ถูกต้อง
แม้ว่าทนายจำเลยจะไม่ได้แถลงเพื่อขอให้ศาลดำเนินการอย่างไรในการส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายจำเลยได้วางเงินค่านำหมาย มีการดำเนินการและจัดส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะจำหน่ายฎีกาของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 132(1) น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. ที่โจทก์นำเข้า ประชาชนไม่นิยมบริโภคเพราะจะทำให้ไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นโรคหัวใจได้ง่าย โดยจะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยงและทำให้หัวใจวายถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503จัดอยู่ในพิกัดอัตราประเภทที่ 15.07 ค. ในอัตราน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค โจทก์จึงต้องเสียอากรขาเข้าในอัตราลิตรละ 1.32 บาทมิใช่ลิตรละ 2 บาท ซึ่งเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่พึงบริโภค แม้ว่าน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.ที่โจทก์นำเข้าจะเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค แต่โดยสภาพยังเป็นน้ำมันปรุงอาหารอยู่การที่โจทก์ต้องนำไปทำการผลิตโดยกรรมวิธีใหม่เพื่อแยกส่วนข้นออกจากส่วนใส ก็เป็นเพียงเพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคจะได้จำหน่ายได้มากขึ้น อันเป็นนโยบายทางด้านการค้าของโจทก์ไม่ทำให้น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.เปลี่ยนสภาพไปเป็นน้ำมันที่ไม่ใช้ปรุงอาหารแต่อย่างใด เมื่อน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. พิพาท เป็นน้ำมันปรุงอาหารตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีที่ 1 หมวด 1(5) และเป็นสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรและส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก โจทก์จึงไม่ได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามมาตรา 7(1) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นก็เป็นเวลาที่สมควรการที่โจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตามมาตรา 132(1) ประกอบด้วยมาตรา 246 ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้วนั้น ถ้าแม้ข้ออ้างของโจทก์จะเป็นจริงก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา ทำให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งในวันที่ยื่นฎีกา เมื่อตอนท้ายฎีกาเหนือลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ยื่นฎีกามีข้อความที่แสดงว่าผู้ยื่นฎีการอฟังคำสั่งอยู่ ถ้า ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ทั้งในวันรุ่งขึ้นทนายจำเลยก็ได้มายื่นคำร้องขอส่งสำเนาฎีกาให้ทนายโจทก์แทนการส่งให้แก่ตัวโจทก์อีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ จนล่วงเลยเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น พฤติการณ์เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้น แล้วจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีจำเลยจากสารบบความของศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลาศาล แม้จะมีเหตุผลด้านสุขภาพและภาระงาน
การที่โจทก์ผู้อุทธรณ์ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายในเวลาที่ศาลกำหนด ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยมิได้ติดต่อกับศาลเป็นเวลา 2 เดือนเศษ คงมีข้ออ้างเพียงว่าทนายโจทก์ได้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไปหลายคดี ประกอบกับความพลั้งเผลอ ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 ซึ่งศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 132(1)
of 8