พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14009/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยื่นคำร้องคัดค้านหลังพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย และความถูกต้องของอ้างอิงบทกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาลเห็นสมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวยื่นคำร้องต่อศาล ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงหรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร" มาตรา 296 วรรคสาม บัญญัติว่า "การยื่นคำร้องตามมาตรานี้อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง..." คดีนี้การบังคับคดีเสร็จสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ในราคา 1,120,000 บาท และเจ้าพนักงานเสนอบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินต่อศาลว่าได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีไปครบถ้วนแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องในคดีนี้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยกว่า 2 ปี หลังจากการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงไปแล้ว คำร้องขอให้กันส่วนที่ดินของผู้ร้องและยกเลิกการขายทอดตลาดของผู้ร้องจึงเป็นการล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม จึงเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นระบุมาตรา 1332 นั้น เนื่องจากมีข้อความว่าเป็นเรื่องผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ซึ่งเมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมายแล้วก็จะเห็นว่า มาตรา 1332 นั้นเป็นเรื่องของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิใช่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนในเรื่องชื่อของกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการอ้างกฎหมายผิด หรือไม่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ดังนั้นการอ้างชื่อบทกฎหมายผิดทั้ง ๆ ที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจึงไม่ก่อให้เกิดผลของการเปลี่ยนแปลงทางคดีแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นระบุมาตรา 1332 นั้น เนื่องจากมีข้อความว่าเป็นเรื่องผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ซึ่งเมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมายแล้วก็จะเห็นว่า มาตรา 1332 นั้นเป็นเรื่องของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิใช่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนในเรื่องชื่อของกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการอ้างกฎหมายผิด หรือไม่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ดังนั้นการอ้างชื่อบทกฎหมายผิดทั้ง ๆ ที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจึงไม่ก่อให้เกิดผลของการเปลี่ยนแปลงทางคดีแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4963/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสินสมรส: การจำนองและขายที่ดินหลังหย่า ทำให้ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน
จำเลยที่ 3 นำที่ดินโฉนดเลขที่ 16985 ไปจำนองเป็นประกันหนี้แก่ธนาคาร ท. โดยผู้ร้องลงชื่อเป็นพยานในการทำนิติกรรม แสดงให้เห็นถึงผู้ร้องได้ทราบดีแล้วว่าจำเลยที่ 3 จะนำสินสมรสไปจำนองเป็นประกันหนี้ การทำนิติกรรมของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นหนี้ร่วมที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นระหว่างสมรสเนื่องจากเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 16985 ให้จำเลยที่ 1 ก็เป็นการขายให้แก่นิติบุคคลซึ่งมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ และการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจำนองโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ยังคงเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อยู่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทั้งหลายเกี่ยวข้องกับที่ดินโฉนดเลขที่ 16985 จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส ถือได้ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 3 กับผู้ร้องตามมาตรา 1490 เช่นกัน นอกจากนี้ หลังจากที่ผู้ร้องหย่ากับจำเลยที่ 3 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องติดใจในสินสมรส คือโฉนดที่ดินเลขที่ 16985 แต่ประการใด โดยปล่อยให้เวลาล่วงเลยเป็นเวลา 11 ปีเศษ ผู้ร้องเพิ่งมายื่นขอกันส่วน ดังนั้น เมื่อหนี้ระหว่างจำเลยที่ 3 กับผู้ร้องเป็นหนี้ร่วมแล้วผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4317/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากเหตุสุดวิสัยน้ำท่วม และความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและผู้รับประกันภัย
การที่โจทก์ไม่ดำเนินการสืบหาที่อยู่ของจำเลยที่ 1 เพื่อส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ใหม่ และแถลงต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 เดือน โดยปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาถึง 3 เดือนเศษ แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยเกี่ยวกับภัยพิบัติน้ำท่วม ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลสั่งได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ โจทก์สามารถสื่อสารกับศาลชั้นต้นได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าทางโทรศัพท์ หรือทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1
เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เท่ากับหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดมากไปกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่โจทก์เนื่องจากเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้
เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เท่ากับหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดมากไปกว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่โจทก์เนื่องจากเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16130/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชัดแจ้ง มิใช่เพียงอ้างเหตุผลศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักในการยื่นฎีกาประการหนึ่งว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างนั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา คดีนี้โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ และโจทก์คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวโดยคัดลอกคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ชนิดคำต่อคำ ซึ่งข้อความในคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์นั้นล้วนมุ่งหมายที่จะโต้แย้งคัดค้านโดยตรงในประเด็นที่จำเลยหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น โดยโจทก์อาศัยข้อเท็จจริงและอ้างอิงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาเป็นข้อสนับสนุนแทบทั้งสิ้น ไม่มีข้อความตอนใดระบุเลยว่าที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเป็นการไม่ชอบเพราะเหตุใด และรายละเอียดส่วนใด หากยกขึ้นวินิจฉัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้ปัญหาตามข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้หลายประการที่ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ซึ่งแตกต่างไปจากเหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นได้ยกขึ้นวินิจฉัยอีกด้วย ฎีกาของโจทก์จะต้องโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชัดแจ้งว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่รับฟังข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลมานั้น ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงอย่างไรและด้วยเหตุผลใด มิใช่อ้างแต่เพียงคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นถูกต้องชอบด้วยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและเหตุผลแล้วเท่านั้น ฎีกาของโจทก์ในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นฎีกาที่ถือเอาคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นฎีกาของโจทก์นั่นเอง ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ถูกกลับโดยคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไปแล้ว ไม่มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเหลืออยู่ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ต่อไป จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และถือไม่ได้ว่าได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของโจทก์มาก็เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11628/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกไม่ชอบ ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์สินไม่เป็นธรรม ทายาทมีสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดก
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องแบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แต่จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แบ่งที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยที่ 1 จึงกระทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดก โดยปราศจากความยินยอมของทายาททุกคนจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมิได้ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทตามที่กฎหมายกำหนดไว้ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นทั้งหมด โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง กรณีมิอาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้ายมาใช้บังคับได้ เพราะมาตราดังกล่าวจะใช้บังคับต่อเมื่อการจัดการทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9861/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสพเมถุนของพระภิกษุเป็นอาบัติปาราชิก ทำให้ขาดจากความเป็นพระ และต้องสึกตามกฎหมายคณะสงฆ์
การเสพเมถุนของจำเลยเป็นการล่วงละเมิดพระธรรมวินัยจึงเป็นอาบัติปาราชิกถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว และเมื่อเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะอำเภอได้นำคำวินิจฉัยไปอ่านให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.20 นาฬิกา แม้จำเลยจะไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำวินิจฉัยดังกล่าว แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยโดยชอบแล้วซึ่งต้องสึกภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น ตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดี ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 25 จำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ได้อีก ซึ่งจำเลยแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่มีอำนาจดังกล่าวแล้ว แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลอุทธรณ์ภาค 7 นับแต่วันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด รวมถึงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และการยื่นฎีกาของจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 25 แม้ปัญหาเรื่องกระบวนพิจารณาในศาลอุทธรณ์ภาค 7 และการยื่นฎีกาของจำเลยชอบหรือไม่จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติดต่างจากฟ้อง แต่มีหลักฐานแสดงเจตนาเพื่อจำหน่าย ศาลลงโทษฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับ บ. ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีให้ บ. แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 แต่การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ บ. เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายก่อนที่จะส่งมอบ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18641/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจรไม่จำกัดว่าต้องมีตัวผู้กระทำผิดชัดเจน แค่ทรัพย์ได้มาจากการกระทำความผิดก็ผิดฐานนี้ได้
ความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์จะต้องเป็นความผิดที่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิดและศาลพิพากษาลงโทษเป็นความผิดแล้ว ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงจะมีความผิดฐานรับของโจร ดังนั้น แม้ความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 357 จะไม่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิดเลยก็ตาม ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ โดยประการใด ก็ย่อมมีความผิดฐานรับของโจรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12291/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องยื่นคำขอรับรองภายในกำหนดเวลา หากพ้นกำหนด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้มีการรับรองภายหลัง
การขอให้อัยการสูงสุดรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยและรับฎีกาไว้พิจารณาต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 นั้น ผู้ฎีกาต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 เท่านั้น จะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยทำหนังสือยื่นต่ออัยการสูงสุดให้รับรองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ต่อมาอัยการสูงสุดจะรับรองว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยและรับฎีกาไว้พิจารณาต่อไปและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยก็ไม่ทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย