พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำชำเราเด็กหญิง ไม่ถือเป็นความผิดฐานพรากเด็กเพื่อการอนาจาร หากไม่มีการหน่วงเหนี่ยวหรือพาไปที่อื่น
วันเกิดเหตุครั้งแรก เด็กหญิง น. ผู้เสียหายไปที่บ้านนาย ต. ได้พบ ต. และจำเลย จำเลยบอกให้ น. ไปที่ห้องน้ำซึ่งอยู่บริเวณบ้าน ต. แล้วจำเลยตามเข้าไปกระทำชำเรา น. ครั้งที่สอง น. ขี่รถจักรยานไปหาเพื่อนผ่านบ้าน ต. พบจำเลยจำเลยบอกให้ น. ไปรอที่ห้องน้ำในวัดแล้วจำเลยตามไปกระทำชำเรา น. ครั้งที่สามน. ขี่รถจักรยานกลับบ้านพบจำเลยบริเวณสะพานข้ามคลอง จำเลยบอกให้ น. ไปรอที่ห้องน้ำบ้าน บ. แล้วจำเลยตามไปกระทำชำเรา น. ที่เกิดเหตุทุกแห่งอยู่ใกล้เคียงกันและเป็นสถานที่ที่ น. ผ่านไปมาอยู่ตามปกติเป็นประจำ แม้จำเลยจะเป็นผู้สั่งให้ น. ไปรอ ณ ที่เกิดเหตุแต่เมื่อจำเลยกระทำชำเราแล้วจำเลยก็ปล่อยให้กลับบ้านโดยไม่ได้หน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือพาไปที่อื่นใดอีก แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนามุ่งที่จะกระทำชำเรา น. อย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4329/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีอาญาซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างพิจารณา
การพิจารณาว่าฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกหรือไม่ ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ไม่ใช่พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลและโจทก์เมื่อศาลรับคำฟ้องแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทต่อศาลแขวงไว้แล้ว ระหว่างส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องให้แก่จำเลย โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยข้อหาเดียวกันต่อศาลอาญา ฟ้องคดีหลังของโจทก์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและข้อจำกัดในการขอขยายซ้ำ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นั้น ศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอ ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีดุลพินิจ พิจารณาจากเหตุพิเศษ การอนุญาตขยายบางส่วนไม่ถือเป็นเหตุอุทธรณ์
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลา แม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอไป 2 วัน ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างหลังสัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่
ในขณะที่มีการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้ขายที่ดิน ที่ดินยังอยู่ระหว่างการเช่า โดยผู้ขายที่ดินได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ ธ. กับพวก มีกำหนดเวลา 20 ปี และมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ดังนั้น เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนไว้ สิ่งปลูกสร้างในที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้รับโอน ธ. กับพวกย่อมหมดสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวและไม่มีสิทธินำห้องในอาคารตึกแถวให้บุคคลใดเช่าช่วงได้ จำเลยจึงเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม ไม่อาจยกการเช่าระหว่างจำเลยกับ ธ. และพวกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องพิพาท การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมา จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาท
การที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์มีผลเพียงโจทก์ไม่มีประเด็นที่จะฎีกาในชั้นฎีกาเท่านั้น
การที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์มีผลเพียงโจทก์ไม่มีประเด็นที่จะฎีกาในชั้นฎีกาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์, การยกประเด็นนอกคำให้การ, และค่าทนายความ
แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อรวมต้นเงินและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องสำหรับโจทก์ที่ 2 แล้วไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า หนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า หนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกประเด็นใหม่ในฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ และการสืบพยานนอกคำให้การ
ปัญหาที่ว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็น แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณา ก็เป็นการสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้ง เท่ากับเป็นการฎีกาให้รับฟังพยานหลักฐานของจำเลยว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ แต่ได้ทำสัญญากู้เงินเพื่ออำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนของโจทก์ในกองทุนของจำเลยอันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีบริษัทมหาชนดำเนินการตามมติที่ประชุม และเกิดเหตุสุดวิสัยในการค้นหาสำนวน
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 20 วัน เนื่องจากที่ประชุมกรรมการบริษัทโจทก์เพิ่งมีมติให้ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์ แต่ระยะเวลาที่เหลืออยู่กระชั้นชิดไม่สามารถทำอุทธรณ์ได้ทัน นับว่ามีเหตุอันสมควรและเป็นพฤติการณ์พิเศษเพราะโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด (มหาชน) การดำเนินการใด ๆในเรื่องสำคัญย่อมต้องกระทำในรูปมติของคณะกรรมการบริษัทซึ่งอาจไม่คล่องตัวหรือต้องล่าช้าไปบ้าง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับแรกก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 2 วัน และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับที่สองโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนหาสำนวนไม่พบ โจทก์จึงยังไม่ทราบคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาและยังมีความประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์เอาใจใส่และติดตามคดีของตนตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลเพราะหาสำนวนไม่พบ โจทก์ก็ดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลอีกครั้งหนึ่งทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองคลองสาธารณะโดยการกีดขวางทางน้ำถือเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองคลองควายซึ่งเป็นคลองสาธารณะโดยใช้เสาคอนกรีตปักปิดขวางช่วงปากคลอง ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์สัญจรผ่านไปมาในคลองเพื่อออกสู่แม่น้ำได้นั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จึงไม่อาจอาศัยบทเบาตาม ป. ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง มาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินสาธารณะและทำให้เสียทรัพย์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วไม่อาจบังคับให้จำเลยออกจากที่ดินได้
จำเลยกระทำความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแล้วจึงไม่อาจอาศัยบทเบาตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง มาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองตามที่โจทก์ขอได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ไม่ได้บัญญัติข้อบังคับดังกล่าวไว้