พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: การจัดการทรัพย์สิน vs. การดำเนินคดีอาญา
บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกโดยมิได้มีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) หรือจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. กรรมการ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกศาลแพ่งพิพากษาให้ล้มละลาย บริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรก ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 มาตรา 24 และมาตรา 25 จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุก มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุก มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าเช่าจากบุคคลภายนอก และสิทธิของผู้คัดค้านในการโต้แย้ง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าเช่าที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะได้รับจากผู้คัดค้านไปยังผู้คัดค้าน เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสอง ถ้าคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นไม่มีการคัดค้าน หรือศาลได้มีคำสั่งรับรองตามมาตรา 312 วรรคหนึ่งแล้วผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ผู้คัดค้านและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าผู้คัดค้านเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 312 วรรคสอง มิใช่หน้าที่ของโจทก์ โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทผู้คัดค้านมาไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าเช่าที่อายัดไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการอายัดทรัพย์สินจากบุคคลภายนอก และหน้าที่ของศาลในการพิจารณาคำร้อง
ภายใต้บังคับบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดีฯ เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวาง ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจรวบรวมเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอายัดเงินเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 278 และมาตรา 282 (3) หรือในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีระบุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้ตามมาตรา 311 วรรคสอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าเช่าที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะได้รับจากผู้คัดค้านไปยังผู้คัดค้าน จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้ไม่ว่าหนี้ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะมีข้อโต้แย้ง ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขใด ส่วนผู้คัดค้านมีสิทธิปฏิเสธหรือโต้แย้งได้โดยการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 312 วรรคหนึ่ง ถ้าคำสั่งอายัดไม่มีการคัดค้านหรือศาลมีคำสั่งรับรองตามวรรคหนึ่งแล้วผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ผู้คัดค้านและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าผู้คัดค้านเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 312 วรรคสอง มิใช่หน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกกรรมการบริษัทผู้คัดค้านมาไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าเช่าที่อายัดไปยังเจ้าพนักงานบังคดีหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าเช่าที่อายัดและศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จำนวนเงินที่ให้ผู้คัดค้านส่งเงินที่อายัดไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีขับไล่และการแสดงอำนาจพิเศษเมื่อมูลค่าเช่าที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดิน ซึ่งขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าชั้นนี้เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการบังคับผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบริวารของจำเลยถูกฟ้องขับไล่ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องทั้งสามไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษได้ ที่ผู้ร้องทั้งสามฎีกาว่า ผู้ร้องทั้งสามมิใช่บริวารของจำเลย เนื่องจากผู้ร้องที่ 3 ได้รับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิมและครอบครองโดยสุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยอ้างเหตุผลความถูกต้องของประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีสืบเนื่องจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือของผู้ร้อง จึงตรงตามคำร้องขอ มิได้เป็นการคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาทมิใช่ของผู้ร้อง ก็มีผลเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่อีก
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของผู้ร้องกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของผู้ร้องกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาแรก
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึง วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีนับจากวันคดีถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาแรก
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึง วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรณีศาลยกฟ้องเพราะจำเลยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และการขยายอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 7 วรรคสอง ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด ในกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ได้ฟ้องสิบเอก ช. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.พระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ดังนั้น อายุความฟ้องร้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีก่อนจึงขยายออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุดตามมาตรา 7 วรรคสอง การที่โจทก์ได้ฟ้องกองทหารพลาธิการ กองพลทหารม้าที่ 2 เป็นจำเลยในคดีก่อนด้วย แต่ศาลยกฟ้องเพราะผู้ถูกฟ้องดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มิใช่เหตุที่จะไม่ขยายอายุความฟ้องร้องจำเลยซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีแต่อย่างใด โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดของเจ้าหน้าที่: ขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
คดีก่อนโจทก์ได้ฟ้องสิบเอก ช. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกจำเลยและศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 จึงเป็นกรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด อายุความฟ้องร้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีก่อนจึงขยายออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด ตามมาตรา 7 วรรคสอง คือวันที่ 7 ตุลาคม 2544 การที่โจทก์ได้ฟ้องกองพลาธิการ กองพลทหารม้าที่ 2 เป็นจำเลยในคดีก่อนด้วย แต่ศาลยกฟ้องเพราะผู้ถูกฟ้องดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มิใช่เหตุที่จะไม่ขยายอายุความฟ้องร้องจำเลยซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดี โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 จึงไม่ขาดอายุความ