คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ม. 91 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดอำนาจศาลในการลงโทษเกินคำขอในฟ้องอาญา แม้โจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 ตรี แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด และความผิดดังกล่าวมีโทษสูงกว่าโทษความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายและการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ทำให้คดีอาญาฉ้อโกงและหลอกลวงผู้อื่นระงับ
ตามหลักฐานบันทึกการรับเงินที่จำเลยได้ชดใช้ให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่ปรากฏว่าในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 มีการลงชื่อโดยภริยาของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แม้จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 จึงไม่มีอำนาจยอมความแทนผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (5) บันทึกดังกล่าวไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ระงับไป คงมีผลเพียงให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปเฉพาะแต่ความผิดข้อหาฉ้อโกงที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายทั้งสี่แล้วก็ไม่ทำให้ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ระงับตามไปด้วยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความระหว่างจำเลยและผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอชดใช้ค่าเสียหายระงับ
การที่ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินจากการฉ้อโกง: ผลกระทบของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อคำขอทางแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายความผิดฐานฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามได้ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 341 ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามตามที่โจทก์ขอมาได้
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงหางานต่างประเทศและได้ทรัพย์สิน ถือเป็นความผิดแม้ไม่มีการส่งคนไปทำงานจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี เมื่อผู้กระทำมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดแล้วไม่จำต้องมีการส่งคนหางานไปทำงานยังต่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้มีการเรียกเงินจากผู้หางาน ศาลยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหารงานก่อน จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่เคยได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศและไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัดหางานแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากจะไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" แล้ว ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานสำคัญกว่า หากไม่มี ถือเป็นการหลอกลวง ไม่ใช่ความผิดฐานจัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ การที่คำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยบอกกล่าวและให้ถ้อยคำรับรองแก่ผู้เสียหายทั้งสองว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งคนหางานจะต้องเสียค่าบริการให้แก่จำเลยกับพวกอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่เคยได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางให้ดำเนินการดังกล่าวได้ อีกทั้งไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศตามที่กล่าวอ้างได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งสอง คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226-5227/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี ไม่จำเป็นต้องอาศัยความผิดฐานอื่น และศาลมีอำนาจสั่งคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำผิดและโทษไว้เป็นการเฉพาะ มิได้อาศัยฐานความผิดฐานใดฐานหนึ่งในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด แม้จำเลยมิได้กระทำผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง , 82 ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี ได้
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้สั่งในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226-5227/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษฐานฉ้อโกงจัดหางาน แม้ไม่เข้าฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าชดใช้
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี เป็นบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำผิดและโทษไว้เป็นการเฉพาะ มิได้อาศัยฐานความผิดอื่นฐานใดฐานหนึ่งในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี ได้แม้จำเลยมิได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,80
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 80,000 บาทศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในเรื่องนี้จึงไม่มีอำนาจสั่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองนั้นแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน: การแยกพิจารณาความผิดอันยอมความได้และไม่ยอมความได้
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 นั้น ไม่ทำให้การกระทำความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วยเพราะความผิดตามมาตรา 91 ตรี มิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการที่ไปหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศซึ่งเป็นเท็จจนเป็นเหตุให้ได้เงินและทรัพย์สินจากคนหางาน จึงเป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
of 4