พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด แม้จะชำระบางส่วนและตกลงให้ผู้เสียหายไปเรียกร้องจากลูกหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ. มาตรา 341 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดรวม 810,000 บาท ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 หลบหนี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ชั่วคราว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ขอถอนคำให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพ แต่ขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาเพื่อนำเงินมาชำระให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาท ส่วนที่เหลือผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไปเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 สอบโจทก์ ผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 7 แล้วรับว่าเป็นจริง และต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาทแล้ว ดังนี้ การที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมรับตามคำแถลงของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ว่า เงินส่วนที่เหลือผู้เสียหายจะไปเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินส่วนที่เหลือจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อีก จึงถือไม่ได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาระงับข้อพิพาทโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดต่อกันอีก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจนสิ้นเชิงในฐานะลูกหนี้ร่วม ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันคืนหรือใช้เงินส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ ไม่ใช่ความผิดฉ้อโกง สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่อาจใช้ได้
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี แม้จะมีคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มิใช่ความผิดฉ้อโกง อัยการขอคืนเงินผู้เสียหายไม่ได้
พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา91 ตรี มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. จัดหางานผิดกฎหมาย: การยอมความเฉพาะความผิดส่วนตัว
ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว และความผิดฐานดังกล่าวซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. พ.ร.บ.จัดหางาน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฉ้อโกง แต่คดี พ.ร.บ.จัดหางานยังดำเนินต่อไปได้
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งศาลได้ลงโทษในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและการคืนเงินค่าบริการ ศาลฎีกายกประเด็นความผิดฐานจัดหางานและแก้ไขจำนวนเงินที่ต้องคืน
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ในความผิดร่วมกันจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลอกลวงหางานในต่างประเทศ พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้แจ้งข้อหาอื่นก่อนก็มีอำนาจฟ้องได้
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ++
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการหลอกลวงหางาน แม้เจตนาและวิธีการคล้ายกัน แต่การกระทำเกิดขึ้นกับบุคคลต่างสถานและต่างเวลา
จำเลยหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการหลอกลวงบุคคลกลุ่มเดียวกันด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน มีการจ่ายเงินให้แก่จำเลยเหมือนกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้เจตนาและวิธีการหลอกลวงคล้ายคลึงกัน
จำเลยหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการหลอกลวงบุคคลกลุ่มเดียวกัน ด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน และมีการจ่ายเงินให้แก่จำเลยเหมือนกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงหลายรายถือเป็นความผิดหลายกรรม แม้เจตนาเดียวกัน
จำเลยหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการหลอกลวงบุคคลกลุ่มเดียวกัน ด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน และมีการจ่ายเงินให้แก่จำเลยเหมือนกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน