คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระวรรณ ศิริบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4690/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประโยชน์พระราชบัญญัติล้างมลทินกับการเพิ่มโทษทางอาญา: การพิจารณาโทษจำคุกหลังได้รับอภัยโทษ
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 รวมทั้งเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำพิพากษาที่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 และถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็จะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม-ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยที่ดินนอกโฉนดชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงที่ตั้งที่ดินพิพาท ที่ดินส่วนที่ให้จำเลยอาศัยวันที่จำเลยทำรั้วล้อมรอบปิดกั้นทางเดินเข้าออก แม้ไม่ระบุถึงอาณาเขตที่ดินพิพาทเป็นอย่างไร ถึงไหน จดที่ดินของใคร กว้างยาวเท่าใด ก็สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
คดีนี้แม้จะมีการทำแผนที่พิพาท และคู่ความแถลงรับกันว่าที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวาอยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์ ที่ดินเนื้อที่ 28 ตารางวา อยู่ในเขตโฉนดของโจทก์แต่โจทก์ฟ้องที่ดินพิพาททั้ง 2 ส่วนรวมกันมาเป็น 59 ตารางวา ประเด็นพิพาทที่ศาลกำหนดมีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลย เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์เพียง 28 ตารางวา เท่านั้น ส่วนที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวา อยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากเขตที่ดินของโจทก์ ทั้งให้จำเลยรื้อถอนรั้วที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไปด้วยเท่ากับยกฟ้องในที่ดินส่วนเนื้อที่ 31 ตารางวา ที่จำเลยนำชี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้วินิจฉัยถึงที่ดินเนื้อที่ 31 ตารางวา ซึ่งอยู่นอกเขตของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร คำนึงรายได้บิดา ฐานะผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี การกำหนดรวมกันไม่ถูกต้อง
สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรผู้เยาว์แต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่า, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การกระทำละเมิดต่อเนื่อง, และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากสามีภรรยา
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 มีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยังมิได้หย่าขาดกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องหย่าโดยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสและอยู่กินด้วยกันตั้งแต่ปี 2536 แต่จำเลยทั้งสองก็อยู่กินด้วยกันตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะเคยเห็นภาพถ่ายพิธีมงคลสมรสของจำเลยทั้งสองในภายหลังและมิได้โต้แย้งคัดค้านก็ตาม แต่ขณะจัดพิธีมงคลสมรสของจำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่ทราบเรื่องกรณียังไม่พอฟังว่าโจทก์ได้รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยทั้งสองอยู่กินเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าได้
การที่จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงอื่นฉันภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคแรก
สิทธิของผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันมาจึงไม่ถูกต้อง ควรกำหนดจำนวนเงินเป็นรายเดือนให้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองแต่ละคนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และเมื่อบุตรคนแรกบรรลุนิติภาวะแล้วให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยกำหนดจำนวนเงินเป็นรายเดือนแก่บุตรคนที่สองต่อไปจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่า, ค่าทดแทน, ค่าอุปการะเลี้ยงดู กรณีมีชู้, ความผิดทางแพ่งต่อเนื่อง, อายุความ
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยังมิได้หย่าขาดกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องหย่าเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2536 แต่จำเลยทั้งสองก็อยู่กินร่วมกันตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันสามีภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 1523 วรรคแรก
สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและเบี้ยปรับ: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินสมควร, หนี้จำนองคิดดอกเบี้ยตามหนี้ประธาน
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จำกัด จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากผู้กู้ได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ และตามประกาศของบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อขณะทำสัญญากู้เงิน โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี และต่อมาได้ทำสัญญากู้เพิ่มกำหนดดอกเบี้ยใหม่เป็นอัตราร้อยละ 12.5ต่อปี แม้จะมีข้อตกลงต่อไปว่า ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ถูกต้องจำเลยยอมให้โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ทั้งหมดและคิดดอกเบี้ยในเงินต้นที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เดิมจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อน การบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใดหนี้จำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงเท่าดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้จากหนี้ตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งตามสัญญากู้เงินเพิ่มเติมครั้งที่ 1จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพิ่มอีก โดยระบุว่าจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จึงเป็นข้อตกลงตามเจตนาของคู่สัญญา อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยผิดสัญญาโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับจากอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ลงโดยกำหนดให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จำเลยผิดนัดมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับโดยสิ้นเชิงจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก, อนาจาร, และพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร พิจารณาจากพฤติการณ์และเจตนา
คำว่า "พราก" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก หมายความว่าพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล จะกระทำโดยวิธีใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องใช้กำลังหรืออุบาย ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยซึ่งมีอาชีพขับรถรับส่งนักเรียนจะพาผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเพื่อร่วมประเวณีในเส้นทางหรือนอกเส้นทางรับส่งผู้เสียหายไปกลับจากโรงเรียนก็ย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก, กระทำอนาจาร, และพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารจากผู้กระทำผิดซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
จำเลยมีอาชีพขับรถรับส่งเด็กนักเรียน ขณะที่เด็กหญิงผู้เสียหายเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำเลยทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มือลูบคลำที่อวัยวะสืบพันธุ์และจับหน้าอกผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก
ขณะที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายและเด็กนักเรียนอื่นกลับบ้านได้แวะที่อาคารหลังหนึ่งให้เด็กนักเรียนอื่นลงไปซื้อขนม ผู้เสียหายจะลงไปด้วย แต่จำเลยไม่ให้ลงโดยบอกให้ผู้เสียหายฝากคนอื่นไปซื้อขนมแทนแล้วจำเลยนำตัวผู้เสียหายให้นอนราบกับเบาะ ใช้มือกดตัวผู้เสียหายไม่ให้ลุกขึ้น แล้วได้กระทำชำเราผู้เสียหาย หลังจากครั้งนี้แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกหลายครั้ง จนกระทั่งผู้เสียหายเรียนจบถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนอกจากกระทำชำเราในรถซึ่งแวะจอดที่อาคารดังกล่าวแล้วจำเลยยังพาผู้เสียหายเข้าไปในบ้านร้างแถวสุขุมวิทแล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล จะกระทำโดยวิธีใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องใช้กำลังหรืออุบาย ดังนั้นไม่ว่าการพาไปเพื่อร่วมประเวณีจะอยู่ในเส้นทางหรือนอกเส้นทางรับส่งผู้เสียหายไปกลับจากโรงเรียนก็ย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกโดยไม่ชอบ และอายุความการฟ้องละเมิดจากการครอบครองที่ดิน
จำเลยนำที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ไปขอออก น.ส. 3 ก. โดยไม่ชอบ ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 61 และโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. ในส่วนที่ออกโดยไม่ชอบได้เพราะตราบใดที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ยังไม่ถูกเพิกถอนย่อมถือว่าการละเมิด ยังมีอยู่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนน.ส.3ก. กรณีครอบครองโดยไม่ชอบและอายุความฟ้องร้อง
จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน การที่จำเลยนำที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จึงไม่ชอบ ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และตราบใดที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ยังไม่ถูกเพิกถอนย่อมถือว่าการละเมิดยังมีอยู่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 14