พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: การคำนวณค่าจ้างจากค่าเที่ยว และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเนื่องจาก ส. ประสบอุบัติเหตุตกจากรถและแขนขวาได้รับบาดเจ็บ ส. จึงไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเพราะได้รับค่าเที่ยวน้อยลง และ ส. แสดงใบรับรองแพทย์ภายหลังโจทก์เลิกจ้าง ส. แล้ว ส. จึงมีเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาคารชุด: ผู้จัดการมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ตามข้อบังคับและกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุด มีบริษัท ย. ซึ่งมี ร. เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัท ย. ในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดดังนั้น ร. ซึ่งเป็นผู้จัดการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโจทก์ข้อ 8 (2) การฟ้องคดีเพื่อเรียกเอาค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ข้อ 8 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันผู้รับโอนสิทธิ แม้มิได้เป็นคู่ความเดิม
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ก. ต่อมาวันที่ 7 กันยายน 2513 ก. ได้จดทะเบียนการซื้อขายให้แก่ ด. ในวันเดียวกัน ด. ได้แบ่งที่ดินพิพาทเป็น 6 แปลง และจดทะเบียนแบ่งให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ป. บิดาโจทก์ที่ 3 แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2513 จำเลยฟ้อง ก. ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นของ ก. ตกเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2513 โดยพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและ ก. ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ทั้งสามจะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาท 1 แปลงมาจาก ป. และ ป. กับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ด. โดย ด. รับโอนที่ดินพิพาททั้งหมดมาจาก ก. คดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ก. ด้วย จึงต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบเมื่อไม่บรรยายส่วนประกอบเมทแอมเฟตามีน แม้รับสารภาพเสพก็ลงโทษไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วยวิธีการคือ นำเอายาแก้ปวดทั่วไปมาบดให้ละเอียดกับครกและผสมสีผสมอาหารสีส้ม จากนั้นจึงนำมาบดอัดเป็นเม็ด ฟ้องของโจทก์จึงมิได้บรรยายให้เห็นว่าสิ่งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตมีส่วนประกอบของเมทแอมเฟตามีน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำอันเป็นความผิดต่อกฎหมายของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน ก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวมิได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ในส่วนผลิตไม่ชอบเสียแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนเสพเมทแอมเฟตามีนที่ได้ผลิตดังกล่าวจึงไม่ชอบไปด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2549)
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน ก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวมิได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ในส่วนผลิตไม่ชอบเสียแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนเสพเมทแอมเฟตามีนที่ได้ผลิตดังกล่าวจึงไม่ชอบไปด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2549)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6272/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอาคารชุดโดยผู้ไม่มีอำนาจตามข้อบังคับ และการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่มีผู้มีอำนาจ
ตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดข้อ 31 กำหนดไว้ว่า บุคคลผู้มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่สามัญ คือ 31.1 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ 31.2 คณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ เมื่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 และขณะนั้นก็ไม่มีคณะกรรมการควบคุมจัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่มีการแต่งตั้งโดยชอบตามกฎหมาย ดังนั้น นับแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา นิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่มีทั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดและคณะกรรมการควบคุมจัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่จะเรียกประชุมใหญ่ตามข้อบังคับข้อ 31 ได้ ที่จำเลยที่ 2 กับเจ้าของร่วมจำนวนหนึ่งได้เรียกประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขัดต่อข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ เมื่อมีการประชุมในวันที่ 5 กันยายน 2542 ก็ถือได้ว่าเป็นไปตามความประสงค์ของการก่อตั้งนิติบุคคลอาคารชุดที่ประสงค์จะให้เจ้าของร่วมทั้งหมดจัดการร่วมกัน การเรียกประชุมดังกล่าวจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ; สิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วตามสัญญาคำนวณแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลย แต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญา กู้ยืมเงิน – กรณีไม่ระบุชัดเจน ศาลใช้ ป.พ.พ. ม.7 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ระบุว่า ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาน่าน กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชี เป็นเพียงตกลงกันว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน แต่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งในสัญญา เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาน่าน กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่แน่นอนย่อมขึ้นลงได้ตามประกาศธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด จึงต้องใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่กำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ที่จะตกเป็นโมฆะไปทั้งหมด และโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ดอกเบี้ยไม่ชัดเจน ศาลใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่า ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชี โดยจะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ชำระต้นเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามข้อตกลงดังกล่าวเพียงแต่ตกลงกันว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน แต่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งในสัญญาว่าอัตราเท่าไร เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่แน่นอนย่อมขึ้นลงได้ตามประกาศธนาคาร ก. จึงต้องใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่กำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ที่จะตกเป็นโมฆะไปทั้งหมด และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: ผู้เสียหายจากการกระทำละเมิดคือสหกรณ์ฯ มิใช่เจ้าของที่ดินจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ดิน 29 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา เป็นของโจทก์ โจทก์ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ ส. สามีโจทก์ต่อสหกรณ์การเกษตร ต่อมาสหกรณ์การเกษตรได้ยื่นฟ้อง ส. เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ มิฉะนั้นให้บังคับที่ดินที่จำนองและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรได้ซื้อที่ดินในฐานะส่วนตัวแล้วใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปราศจากอำนาจที่สหกรณ์การเกษตรให้จำเลยเข้าประมูลสู้ราคาหรือซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดและทำนิติกรรมรับโอนที่ดินแทนสหกรณ์การเกษตร แต่จำเลยกลับกระทำขัดต่อหนังสือมอบอำนาจที่ทางสหกรณ์การเกษตรให้อำนาจไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและผิดต่อข้อบังคับของสหกรณ์การเกษตร ส่อไปในทางทุจริต และต่อมาจำเลยและบริวารได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกด้วย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินเป็นของสหกรณ์การเกษตร และห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินต่อไป ซึ่งหากจำเลยได้ทำการละเมิดจริง ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือถูกโต้แย้งสิทธิคือสหกรณ์การเกษตร มิใช่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. กรรมการ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกศาลแพ่งพิพากษาให้ล้มละลาย บริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรก ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 มาตรา 24 และมาตรา 25 จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุก มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุก มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ได้