คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1364 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกที่ดินในนิคมสร้างตนเอง โดยผู้รับโอนมีสิทธิเพียงผู้ถือแทนทายาทอื่น และการซื้อขายที่ดินที่ไม่ชอบ
ผู้ตายครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมสร้างตนเอง เมื่อยังไม่มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐ การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่ บ. มิใช่การตกทอดโดยมรดก เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว ผู้ตายมีเพียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทถือเป็นทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย เมื่อทายาททุกคนของผู้ตายตกลงให้ บ. เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินของผู้ตายตามที่พระราชกฤษฎีกานิคมสร้างตนเองกำหนดให้ทายาทเข้ารับสิทธิได้เพียงผู้เดียว บ. จึงเป็นแต่เพียงผู้มีชื่อในหนังสือแสดงการทำประโยชน์แทนบุตรทุกคนของผู้ตายเท่านั้น ต่อมา บ. ไปขอออกโฉนดที่ดินจนได้รับโฉนดที่ดินพิพาท ก็ยังต้องถือว่าเป็นการดำเนินการแทนทายาทอื่น ทายาททุกคนมีส่วนเท่า ๆ กันและเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท บ. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ขอรับโอนมรดกที่ดินใส่ชื่อของตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็ยังคงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนคงมีสิทธิในทำนองเดียวกันกับสิทธิของ บ. ผู้โอน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 นิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แบ่งแยกที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทของผู้ตาย แต่หากการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองไม่อาจดำเนินการได้ ก็ต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7899/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: ศาลต้องสืบราคาบ้านตามตกลงก่อนมิใช่ขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยแถลงรับกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านพิพาท และตกลงกันได้แล้วว่าจะแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโดยให้บ้านพิพาทตกเป็นของจำเลย แล้วชำระราคาบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งตามฟ้อง คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องราคาบ้านพิพาทซึ่งจำเลยยังไม่ยอมรับราคาตามที่โจทก์ฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้นำบ้านพิพาทออกขายโดยประมูลราคากันระหว่างโจทก์และจำเลย หากไม่สามารถตกลงกันได้ให้นำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งกรณีเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไร จึงไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานก็ตาม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ มิใช่ประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้ จึงเห็นควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์สิน: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง สิทธิของผู้ร้องขอปล่อยทรัพย์
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิ ดังกล่าวร่วมกัน ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม เนื้อที่ 2 ไร่ 47 ตารางวา หากจำเลยไม่ยอมแบ่งแยกให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา หากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วนจำเลยไม่ยอมแบ่งแยกและการแบ่งแยกไม่อาจกระทำได้ โจทก์ทั้งสามจึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคดีที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วน การยึดทรัพย์ในกรณีนี้มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากแต่เป็น การร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง ฉะนั้น ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกต้องคำนึงถึงสิทธิทายาททุกคน การฟ้องแบ่งเฉพาะคู่ความอาจไม่บังคับได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินและให้จำเลยให้ความยินยอมในการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์จำเลยและพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด5คนเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์อาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินมรดกต้องคำนึงถึงสิทธิทายาทอื่น การฟ้องให้แบ่งเฉพาะส่วนของตนเองอาจไม่ได้รับการบังคับ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน และให้จำเลยให้ความยินยอมในการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทคือ โจทก์ จำเลยและพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด 5 คน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์อาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้ คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยเจ้าของรวม การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดก ระหว่างพิจารณาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ต่อมาการแบ่งทรัพย์บางรายการไม่อาจตกลงกันได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วน การยึดทรัพย์ในกรณีนี้มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสองฉะนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยเจ้าของร่วม: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดก ระหว่างพิจารณาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ต่อมาการแบ่งทรัพย์บางรายการไม่อาจตกลงกันได้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วน การยึดทรัพย์ในกรณีนี้มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสองฉะนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวม การฟ้องซ้ำ และการประมูลราคาเมื่อตกลงแบ่งกันไม่ได้
คดีก่อนกับคดีนี้ โจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกันส่วนมากที่พิพาทก็แปลงเดียวกันข้อเท็จจริงในคำฟ้องก็บรรยายในทำนองเดียวกันแต่คำขอต่างกันโดยฟ้องคดีก่อนโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทด้านตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งแต่คำขอคดีนี้ขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งเฉยๆไม่ระบุด้านถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ก็ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินแก่โจทก์จำเลยตามส่วนดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ทรัพย์เป็นของบุคคลหลายคนรวมกันในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันเว้นแต่เจ้าของรวมฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนได้พิเศษมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364วรรค 2 นั้นเมื่อสภาพของที่พิพาทควรแบ่งกันได้ก็ยังไม่ควรบังคับให้ประมูลราคากันก่อน(อ้างฎีกาที่1993/2500)