พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทลงโทษ พ.ร.บ.การพนัน: การลงโทษจำคุกและปรับ, การจ่ายสินบนนำจับ, และการรอการลงโทษ
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 12 (1) บัญญัติบทลงโทษในความผิดฐานจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบไว้ว่า "ให้ลงโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไปจนถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไปจนถึง 5,000 บาท ด้วยอีกโสดหนึ่ง" ซึ่งคำว่า "อีกโสดหนึ่ง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้คำจำกัดความไว้ว่า หมายถึง กระทงความส่วนหนึ่งโดยมิใช่บทบังคับให้ศาลต้องลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ จึงเท่ากับกฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับด้วย แต่ถ้าศาลเห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดีก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกโดยไม่จำต้องลงโทษปรับด้วยก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 สำหรับเงินสินบนนำจับนั้น ในกรณีที่มีคำขอให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 15 ศาลจะพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับได้ก็ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยด้วย เพราะจำนวนเงินค่าปรับจะต้องนำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณว่าจะต้องจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำคุกแต่อย่างเดียวโดยไม่ลงโทษปรับ จึงไม่อาจจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงโทษจำคุกแต่อย่างเดียวโดยไม่ลงโทษปรับและไม่สั่งให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ. มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษา
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนด ให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษ ที่ศาลจะต้องระบุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 20 ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21554/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่ถือเป็นข้อผิดพลาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 186(7)
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีบรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่บทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21427/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องปรับบทมาตราดังกล่าว
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทมาตราที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามมาตรา 92 การคำนวณโทษ และการลงโทษจำคุกหรือปรับ
การเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นการเพิ่มโทษหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังเมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคสอง มาคำนวณประกอบกับระวางโทษตามมาตรา 336 ทวิ เพื่อกำหนดโทษสำหรับความผิดในคดีนี้ แล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92
ความผิดที่จำเลยกระทำกฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกเพียงสถานเดียวก็ได้แต่ลงโทษปรับเพียงสถานเดียวไม่ได้ ตามป.อ. มาตรา 20
ความผิดที่จำเลยกระทำกฎหมายกำหนดให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกเพียงสถานเดียวก็ได้แต่ลงโทษปรับเพียงสถานเดียวไม่ได้ ตามป.อ. มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6465/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการริบของกลางตามกฎหมาย
ความผิดฐานมี 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 15 วรรคสอง (2) ที่แก้ไขใหม่ แตกต่างจากกฎหมายเดิมในมาตรา 15 วรรคสอง เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ สำหรับความผิดฐานจำหน่าย 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน บทความผิดสำหรับความผิดทั้งสองฐานจึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้เป็นการมิชอบ คดีนี้ 3,4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไปมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม ความผิดทั้งสองฐานต้องด้วยบทกำหนดโทษในมาตรา 66 วรรคสอง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกรณีโทษจำคุกเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายเดิมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ส่วนโทษปรับตามกฎหมายเดิมมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอสำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกและปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยเช่นกัน เพราะในขณะจำเลยกระทำ ความผิดแม้มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะมีโทษจำคุกและปรับด้วย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า เมื่อไม่ลงโทษปรับย่อมไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิม อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 บัญญัติว่า "?ให้ริบเสียทั้งสิ้น" และ ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น?" บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้โจทก์มิได้ขอให้ริบคีตามีนของกลาง แต่เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องแล้วว่า เจ้าพนักงานได้ยึดคีตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งริบคีตามีนของกลางได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษแก่จำเลยไว้นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 ระยะเวลารอการลงโทษคือนับแต่วันที่พิพากษาเป็นต้นไป แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีดังกล่าว การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีที่รอการลงโทษมาบวกเข้ากับโทษคดีนี้ไม่ได้
ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอสำหรับความผิดที่มีโทษจำคุกและปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยเช่นกัน เพราะในขณะจำเลยกระทำ ความผิดแม้มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะมีโทษจำคุกและปรับด้วย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า เมื่อไม่ลงโทษปรับย่อมไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิม อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
คีตามีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 บัญญัติว่า "?ให้ริบเสียทั้งสิ้น" และ ป.อ. มาตรา 32 บัญญัติว่า "ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น?" บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบวัตถุออกฤทธิ์ เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้โจทก์มิได้ขอให้ริบคีตามีนของกลาง แต่เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องแล้วว่า เจ้าพนักงานได้ยึดคีตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งริบคีตามีนของกลางได้
คดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษแก่จำเลยไว้นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 ระยะเวลารอการลงโทษคือนับแต่วันที่พิพากษาเป็นต้นไป แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีดังกล่าว การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีที่รอการลงโทษมาบวกเข้ากับโทษคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศกระทบเศรษฐกิจ ลดโทษปรับเหมาะสมกับผู้ประกอบการรายย่อย
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ จะไม่ใช่อาชญากรรมที่ร้ายแรงและมิได้เป็นภัยต่อสังคม แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเจ้าของลิขสิทธิ์ อันไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ไม่มีเหตุอันสมควรงดโทษปรับ
จำเลยกระทำความผิดโดยเปิดเป็นร้านแผงลอย แผ่นวีดีโอและดีวีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดที่ยึดได้มีจำนวน 916 แผ่น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ค้ารายใหญ่ จึงมีเหตุอันสมควรที่จะลดโทษปรับให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยกระทำความผิดโดยเปิดเป็นร้านแผงลอย แผ่นวีดีโอและดีวีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดที่ยึดได้มีจำนวน 916 แผ่น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ค้ารายใหญ่ จึงมีเหตุอันสมควรที่จะลดโทษปรับให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่ชัดเจนในการบรรยายฟ้องทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยตามกรรมหลายกรรมต่างกันได้
ในคดีที่ฟ้องโจทก์มีหลายข้อหา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะข้อหาความผิดตามฟ้องซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น และการที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมา ต้องถือว่าเป็นการรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตามฟ้องที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเช่นเดียวกัน
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดของจำเลยทั้งสี่ในข้อ (ก) และข้อ (ข) แต่ละข้อหาแยกเป็นข้อย่อยมาให้ชัดเจน เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน แม้ในตอนต้นโจทก์จะบรรยายฟ้องรวมกันมาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันโจทก์ก็บรรยายอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 90 มาด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้อง ข้อ (ก) ในแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) เป็นความผิดหลายกรรมหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 59 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ประกอบมาตรา 17
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดของจำเลยทั้งสี่ในข้อ (ก) และข้อ (ข) แต่ละข้อหาแยกเป็นข้อย่อยมาให้ชัดเจน เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน แม้ในตอนต้นโจทก์จะบรรยายฟ้องรวมกันมาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันโจทก์ก็บรรยายอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 90 มาด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้อง ข้อ (ก) ในแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) เป็นความผิดหลายกรรมหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 59 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 20 ประกอบมาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษจำคุกและรอการลงโทษ ไม่ถือว่าไม่ลงโทษตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยแล้วแม้จะให้รอการลงโทษจำคุกไว้ก็ตามจำเลยก็อาจถูกศาลลงโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ได้เมื่อจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติหรือเมื่อไปกระทำความผิดอาญาที่มิได้กระทำโดยประมาทหรือที่มิใช่ความผิดลหุโทษภายในกำหนดเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา57และ58ฉะนั้นการที่ศาลกำหนดโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้จึงถือว่าศาลได้ลงโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา20แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5901/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจลงโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: ศาลลงโทษจำคุกอย่างเดียวได้
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 67 ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย จึงชอบด้วย ป.อ.มาตรา 17 มาตรา 20 และมาตรา 56