คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 276

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 237 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการประเวณีและการละเมิด: เมื่อการกระทำเป็นไปโดยสมัครใจ ผู้กระทำไม่ถือว่าละเมิด
ในการพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์สมัครใจยินยอมให้จำเลยร่วมประเวณีมิใช่ถูกจำเลยข่มขืนใจ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นเรื่องสมัครใจจำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสมคบฉุดคร่าข่มขืน ไม่ถึงเจตนาปล้นทรัพย์ แม้พรรคพวกจะกระทำ
จำเลยสมคบร่วมกับพวกไปดักฉุดคร่าผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา มิได้มุ่งประสงค์ต่อทรัพย์แต่พรรคพวกของจำเลยได้ล้วงกระเป๋าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไปด้วย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที จะฟังว่าจำเลยสมคบรู้เห็นกับพวกในการลักทรัพย์ผู้เสียหายนั้นด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีผิดฐานฉุดคร่าและข่มขืนกระทำชำเราเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสมคบคิด: การแยกแยะความผิดฐานฉุดคร่าข่มขืนกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้มีเหตุการณ์ชิงทรัพย์เกิดขึ้น
จำเลยสมคบร่วมกับพวกไปดักฉุดคร่าผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา มิได้มุ่งประสงค์ต่อทรัพย์แต่พรรคพวกของจำเลยได้ล้วงกระเป๋าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไปด้วย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที จะฟังว่าจำเลยสมคบรู้เห็นกับพวกในการลักทรัพย์ผู้เสียหายนั้นด้วยไม่ได้จำเลยคงมีผิดฐานฉุดคร่าและข่มขืนกระทำชำเราเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสมคบข่มขืนกระทำชำเรา ไม่ถือเป็นการสมคบปล้นทรัพย์ แม้จะมีเหตุการณ์ลักทรัพย์เกิดขึ้น
จำเลยสมคบร่วมกับพวกไปดักฉุดคร่าผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา มิได้มุ่งประสงค์ต่อทรัพย์.แต่พรรคพวกของจำเลยได้ล้วงกระเป๋าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไปด้วย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที. จะฟังว่าจำเลยสมคบรู้เห็นกับพวกในการลักทรัพย์ผู้เสียหายนั้นด้วยไม่ได้. จำเลยคงมีผิดฐานฉุดคร่าและข่มขืนกระทำชำเราเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวเด็กในระหว่างพิจารณาคดีและการหักวันกักขังเมื่อศาลเปลี่ยนโทษเป็นสถานฝึกอบรม
เด็กที่ถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีตามหมายของศาลซึ่งให้สถานพินิจควบคุมไว้นั้น มาตรา 16 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็ก พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 6 ให้อำนาจสถานพินิจฯ ส่งตัวไปกักไว้ที่เรือนจำได้ โดยถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ เมื่อเด็กถูกพิพากษาลงโทษศาลจะคิดหักวันที่ถูกกักอยู่ในเรือนจำให้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ก็ได้
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า "ลงโทษ" อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรมอันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวเด็กในระหว่างพิจารณาคดีและการหักวันควบคุมตัวเมื่อศาลเปลี่ยนโทษเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
เด็กที่ถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีตามหมายของศาลซึ่งให้สถานพินิจควบคุมไว้นั้น มาตรา 16(4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กพ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 6 ให้อำนาจสถานพินิจฯ ส่งตัวไปกักไว้ที่เรือนจำได้ โดยถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ เมื่อเด็กถูกพิพากษาลงโทษศาลจะคิดหักวันที่ถูกกักอยู่ในเรือนจำให้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ก็ได้
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า 'ลงโทษ' อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วยเพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรม อันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมข่มขืน: หญิงสามารถเป็นตัวการร่วมได้ แม้ไม่ได้ลงมือกระทำเอง
ความผิดในเรื่องข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำผิดได้ โดยผู้ร่วมกระทำผิดมิต้องเป็นผู้ลงมือกระชำเราด้วยทุกคน เพียงแต่คนใดคนหนึ่งกระทำชำเราผู้ที่ร่วมกระทำผิดทุกคนก็มีความผิดฐานเป็นตัวการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ก็หาได้บัญญัติให้ลงโทษแต่เฉพาะชายเท่านั้น ในบทกฎหมายมาตรานี้บัญญัติแต่เพียงว่า "ผู้ใดกระทำผิด ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหญิง เมื่อฟังได้ว่าได้สมคบกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันกระทำผิดศาลก็ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมข่มขืน: หญิงมีส่วนร่วมได้แม้ไม่ได้ลงมือกระทำชำเรา
ความผิดในเรื่องข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำผิดได้โดยผู้ร่วมกระทำผิดมิต้องเป็นผู้ลงมือกระทำชำเราด้วยทุกคนเพียงแต่คนใดคนหนึ่งกระทำชำเราผู้ที่ร่วมกระทำผิดทุกคน ก็มีความผิดฐานเป็นตัวการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ก็หาได้บัญญัติให้ลงโทษแต่เฉพาะชายเท่านั้นในบทกฎหมายมาตรานี้บัญญัติแต่เพียงว่า 'ผู้ใดกระทำผิด ฯลฯ' เท่านั้น ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหญิงเมื่อฟังได้ว่าได้สมคบกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันกระทำผิดศาลก็ลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์: การฟ้องในฐานะตนเองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลต่อการรับคำฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี จำเลยฎีกา และในฎีกานั้นจำเลยได้อ้างอิงหลักฐานและเหตุผลเพื่อแสดงว่าโจทก์ฟ้องในนามของตนเอง มิใช่ฟ้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีอาญา: โจทก์ฟ้องในฐานะใด - ผู้เสียหายโดยตรงหรือผู้แทนโดยชอบธรรม
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี จำเลยฎีกา และในฎีกานั้นจำเลยได้อ้างอิงหลักฐานและเหตุผลเพื่อแสดงว่าโจทก์ฟ้องในนามของตนเอง มิใช่ฟ้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218
of 24