คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจวบ พัชนีรัตนกรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต้องมีผลถึงการแพ้ชนะคดี จึงเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177 นั้น ข้อความเท็จที่ได้เบิกความต่อศาลในการพิจารณาคดีจะต้องเป็นข้อสำคัญในคดีจึงจะเป็นความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งหมายถึงต้องเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างแท้จริงถึงขนาดมีผลทำให้แพ้ชนะคดีกันได้โดยอาศัยคำเบิกความอันเป็นเท็จนั้น แต่ตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งโจทก์ถูก ท. ฟ้องเรียกเงินคืน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ท. ผู้เป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวชนะคดีโดยอาศัยพยานเอกสารในคดีเป็นสำคัญ ส่วนคำเบิกความของพยานบุคคลนั้น เพียงแต่นำมารับฟังประกอบพยานเอกสารเท่านั้น และวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าโดยมิได้นำคำเบิกความของจำเลยนี้มาเป็นข้อวินิจฉัยให้มีผลเป็นการแพ้ชนะกัน ข้อความที่จำเลยเบิกความดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12584/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ที่ไม่ตรงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาเงินของผู้เสียหายหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์สืบสม แต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12559/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา พ.ร.บ.พรรคการเมือง: ฟ้องไม่ทันขาดอายุความ แม้มีการกระทำต่อเนื่อง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค ส. ในวันที่ 6 กันยายน 2544 จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการสาขาพรรค ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 42 วรรคหนึ่ง คือ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2544 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2544 เมื่อจำเลยไม่ยื่นภายในกำหนด จำเลยจึงกระทำผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ซึ่งตามมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนด ให้ระวางโทษปรับสถานเดียว เมื่อจำเลยกระทำความผิดในวันที่ 7 ตุลาคม 2544 โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 30 ตุลาคม 2545 เกินกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดซึ่งขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (5) และความผิดดังกล่าวเป็นความผิดกรรมเดียวบทเดียว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 84 ได้อีก ทั้งไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่อง แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนเลยก็จะปรับจำเลยเป็นรายวันอีกไม่ได้ เพราะความผิดของจำเลยได้สิ้นสุดโดยขาดอายุความไปแล้ว และเมื่อโจทก์ไม่ได้ตัวจำเลยมาฟ้องภายใน 1 ปี จึงขาดอายุความฟ้องจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12456-12457/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามสิทธิของทายาทแต่ละคน แม้บางส่วนได้แบ่งไปแล้ว ส่วนที่เหลือต้องแบ่งตามส่วน
ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมี 7 คน การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทต้องแบ่งกันตามที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ การที่ทายาทอื่นมิได้เรียกร้องมาด้วยนั้นจะถือว่าทายาทอื่นนั้นสละมรดกหาได้ไม่ และจะแบ่งโดยเอาส่วนแบ่งทายาทอื่นไปให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมไม่ได้ โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมคงได้ส่วนแบ่งแต่เฉพาะส่วนของตนคนละ 1 ใน 7 ส่วนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในความผิดแจ้งความเท็จ โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยที่ 3 แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนจำเลยที่ 4 ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประสงค์ให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ข้อความเท็จนั้นจะครบองค์ประกอบเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่กระทบกระเทือนถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
การที่จำเลยที่ 3 นำหนักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปเป็นหลักฐานยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายจากโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำที่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ยังไม่ได้จ่ายค่าเสียหายให้จำเลยที่ 3 เพราะโจทก์ทราบมาก่อนฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 3 แจ้งความเท็จ ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 3 ในส่วนหลังเกิดขึ้นหลังจากการกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจได้จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้ว เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ ดังนั้น จะนำเอาการกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายส่วนนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายสำหรับความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 และฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้ฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบกับมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9042-9043/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้ตั๋วเงิน (เช็ค) ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 266 และ 268
แม้เช็คเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) และโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเอกสารสิทธิ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ได้ เช็คถือเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 898 การที่จำเลยนำเช็คธนาคาร ก. ของโจทก์ร่วมมาแก้ไขและเติมข้อความในช่องสั่งจ่ายบ้าง ช่องจำนวนเงินบ้างหรือปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมในช่องสั่งจ่าย แล้วนำเช็คไปขอเบิกเงินจากธนาคาร ก. ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นเช็คที่แท้จริงของโจทก์ร่วม จึงจ่ายเงินให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการแก้ไขเติมข้อความและลงลายมือชื่อปลอมในตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงที่โจทก์ร่วมทำขึ้น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมและธนาคาร ก. การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมตั๋วเงิน จำเลยหาจำต้องปลอมเช็คขึ้นทั้งฉบับ จึงจะเป็นความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินและนำไปใช้เอง จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 (4) ตามมาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย คือลงโทษในบทมาตราที่เบากว่า ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด
เมื่อศาลฎีกาได้ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยแล้ว แม้จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงรวมทั้งดุลพินิจในการกำหนดโทษได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8844/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง และการพิสูจน์สิทธิครอบครองโดยการยกให้จากมารดา
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพราะมารดายกให้และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จึงไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่ดินเป็นของผู้อื่น เมื่อจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองเองจึงไม่เป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่วันเวลาที่ถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง หรือไม่ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ซึ่งเป็นการมิชอบ ทั้งปัญหานี้มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยแต่ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว ระงับด้วยความตายของผู้ร้องและผู้คัดค้าน
สิทธิในการร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและการคัดค้านการขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ยื่นคำร้องและของผู้ยื่นคำคัดค้าน หากผู้ยื่นคำร้องหรือคำคัดค้านไว้แล้ว ต่อมาถึงแก่ความตาย สิทธินั้นไม่ตกไปยังทายาท เมื่อปรากฎว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องและผู้คัดค้านถึงแก่กรรมทั้งคู่ สิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องและสิทธิของผู้คัดค้านในการยื่นคำคัดค้านจึงเป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้ร้องและผู้คัดค้าน ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
of 11