พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงผ่านระบบแชร์เน็ตเวิร์ค: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำความผิดฐานทำซ้ำ ไม่ใช่แค่เผยแพร่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของโจทก์ร่วมโดยการนำเอาเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมตามฟ้องมาทำซ้ำลงในหน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู) แล้วติดตั้งในระบบเอ็มพี 3 ใช้ระบบแชร์เน็ตเวิร์ค ซึ่งเมื่อใช้แผ่นซีดีที่มีเพลงเอ็มพี 3 ใส่เข้าไปในหน่ายประมวลผลกลางแล้วพ่วงกับหน่วยประมวลผลกลางอื่นสามารถเรียกเพลงออกมาฟังได้โดยมีสัญญาภาพออกมาทางจอมอนิเตอร์เรียกเก็บค่าบริการจากลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 และ 68 แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่งงานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุหรือสิ่งบันทึกเสียงซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุใหม่ในหน่วยประมวลผลกลางนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นมาใหม่หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในหน่วยประมวลผลกลางดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 28 (2) และไม่อาจถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผยแพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นมาใหม่โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรทางการด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายมาตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังสัญญาเลิกแล้ว: ค่าเสียหายใหม่ไม่อาจเพิ่มได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากสัญญาเช่าเครื่องบินระงับ มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เสนอข้อหาของตนไว้ในคำฟ้องเดิม จึงมิใช่การเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ไม่อาจแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (1) และ (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์เอกสารประชาสัมพันธ์: การคุ้มครองงานวรรณกรรมที่เกิดจากความรู้ ความสามารถ และการรวบรวมข้อมูล
เอกสารประชาสัมพันธ์เป็นการเชิญชวนให้ลูกค้าของโจทก์เข้าร่วมสัมมนาที่โจทก์จัดขึ้น องค์ประกอบสำคัญของเอกสารประชาสัมพันธ์การอบรมสัมมนาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจัดอบรมสัมมนาก็ต้องระบุชื่อผู้จัดการอบรม ชื่อหลักสูตร หัวข้อการอบรม ชื่อวิทยากร อัตราค่าอบรม วัน เวลา สถานที่อบรม เพื่อเป็นข้อมูลให้ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจว่าจะอบรมหรือไม่ ซึ่งล้วนเป็นรายละเอียดที่จำต้องระบุไว้ในเอกสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป ดังนั้น ชื่อหรือหัวข้อหลักสูตรการสัมมนาตามเอกสารประชาสัมพันธ์ของผู้จัดแต่ละสถาบันจึงอาจซ้ำกันได้ เมื่อพิจารณาเอกสารประชาสัมพันธ์ของโจทก์แล้ว ส่วนที่สำคัญที่เป็นสาระคือหัวข้อสัมมนาหรืออบรม ซึ่งแม้จะมีการรวบรวมข้อมูลจัดลำดับเกี่ยวกับทางบัญชีและกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ก็เป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนของชื่อหัวข้อซึ่งอาจจะซ้ำกับคนอื่นได้ เอกสารประชาสัมพันธ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงยังไม่ถึงกับเป็นการใช้ความรู้ความสามารถ สติปัญญาวิริยะอุตสาหะที่เพียงพอถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์งานนิพนธ์อันเป็นวรรณกรรมที่จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามที่ออกเอกสารประชาสัมพันธ์ในการจัดอบรม แม้จะมีลักษณะข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการสัมมนาของโจทก์อยู่บ้าง จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เอกสารประชาสัมพันธ์ของโจทก์ และเมื่อพิจารณาเอกสารประชาสัมพันธ์ของโจทก์เปรียบกับของจำเลยทั้งสามแล้ว จะเห็นได้ว่า แม้เอกสารประชาสัมพันธ์ของโจทก์และจำเลยต่างวางตำแหน่งรูปรอยประดิษฐ์ลูกโลกอยู่ที่มุมบนด้านซ้ายของเอกสารเหมือนกัน ลูกโลกกลมมีขนาดเท่ากัน ตรงบริเวณกลางลูกโลกต่างมีคำภาษาอังกฤษว่า "CONSULTANT" เหมือนกัน แต่รูปลูกโลกของโจทก์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนของจำเลยทั้งสามไม่มีกรอบสี่เหลี่ยม ของโจทก์จะมีคำภาษาอังกฤษคำว่า "BUSINESS" เหนือคำว่า "CONSULTANT" แต่ของจำเลยทั้งสามเป็นคำภาษาอังกฤษว่า "ADVANCE" เมื่อพิจารณาในส่วนที่เป็นภาพรวมแล้วยังมีความแตกต่างกันในนัยสำคัญมาก ไม่อาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเอกสารประชาสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสามเป็นเอกสารประชาสัมพันธ์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันนำเอา ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์รูปลูกโลกในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 272 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ออกหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าที่เท็จ นำไปสู่ความเสียหายของผู้ซื้อ
โจทก์สั่งซื้อครั่งเม็ดชั้นคุณภาพ ข. จากจำเลยที่ 1 โดยระบุในสัญญาซื้อขายว่าต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากจำเลยที่ 2 โจทก์ตรวจสอบพบว่า ครั่งเม็ดที่จำเลยที่ 2 รับรองนั้นไม่ได้มาตรฐาน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 แอบอ้างว่าเป็นผู้ตรวจสอบอย่างเป็นทางการของสมาคมผู้นำเข้าเชลแล็กแห่งสหรัฐอเมริกา และจำเลยที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพครั่งเม็ดและออกหนังสือรับรองคุณภาพให้แก่จำเลยที่ 1 ผิดไปจากความเป็นจริง โดยจำเลยที่ 2 ทราบถึงความสำคัญของหนังสือรับรองน้ำหนักและคุณภาพสินค้าดีว่ามีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและการตกลงรับซื้อสินค้าระหว่างประเทศนั้น โดยใช้หนังสือรับรองน้ำหนักและคุณภาพดังกล่าวประกอบการซื้อขายสินค้าและเพื่อพิจารณาว่าสินค้านั้นมีคุณภาพพอเพียงแก่การส่งไปประเทศใดหรือไม่ด้วย ประกอบกับเมื่อได้รับหนังสือรับรองน้ำหนักและคุณภาพจากจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็อาศัยหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อว่าสินค้าที่ขนส่งไปส่งมอบให้แก่โจทก์นั้นเป็นสินค้าครั่งเม็ดชั้นคุณภาพ ข. ตามข้อกำหนดของสมาคมผู้นำเข้าเชลแล็กแห่งสหรัฐอเมริกาตามที่ตกลงซื้อขายกัน และรับชำระเงินค่าสินค้าโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์และทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าสินค้า ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าใช้จ่ายด้านพิธีการศุลกากร และค่าขนส่งสินค้า และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวอันถือเป็นค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายฐานผิดสัญญาซื้อขาย
การจะให้บุคคลหลายคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างลูกหนี้ร่วมต้องเป็นไปโดยนิติกรรม หรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขาย ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการทำละเมิด จึงไม่มีการทำนิติกรรมไว้ว่าจะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายต่อโจทก์ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้ความรับผิดในลักษณะนี้เป็นไปอย่างลูกหนี้ร่วมกัน กรณีนี้หากโจทก์บังคับชำระหนี้จากจำเลยคนใดแล้วต้องนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยอีกคนด้วย
การจะให้บุคคลหลายคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนใดจำนวนหนึ่งอย่างลูกหนี้ร่วมต้องเป็นไปโดยนิติกรรม หรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขาย ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องจากการทำละเมิด จึงไม่มีการทำนิติกรรมไว้ว่าจะต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายต่อโจทก์ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้ความรับผิดในลักษณะนี้เป็นไปอย่างลูกหนี้ร่วมกัน กรณีนี้หากโจทก์บังคับชำระหนี้จากจำเลยคนใดแล้วต้องนำมาหักออกจากความรับผิดของจำเลยอีกคนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย และการไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
การที่จำเลยด่าแม่โจทก์ร่วมตอบโต้ไป ก่อนเข้าฟันโจทก์ร่วม เท่ากับว่าจำเลยได้ถลำเข้าไปทะเลาะวิวาทกับโจทก์ร่วมด้วยแล้ว เมื่อต่างคนต่างก็ทะเลาะด่าว่าซึ่งกันและกันเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. มาตรา 72 และไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดที่ได้กระทำนั้นได้
การจำเลยใช้มีดอีโต้ซึ่งเป็นมีดทำครัวขนาดใหญ่เลือกฟันอย่างแรงที่ศีรษะลำคอและกลางหลัง ซึ่งล้วนเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นแผลฉกรรจ์ หากรักษาไม่ทันอาจถึงแก่ความตายได้ จำเลยย่อมจะเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำของจำเลยอาจทำให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายถึงแก่ความตายได้ พฤติการณ์ชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมแล้ว แม้เมื่อโจทก์ร่วมล้มลงหมดสติไปจำเลยจะไม่ได้ฟันโจทก์ร่วมซ้ำอีกก็ตาม
การจำเลยใช้มีดอีโต้ซึ่งเป็นมีดทำครัวขนาดใหญ่เลือกฟันอย่างแรงที่ศีรษะลำคอและกลางหลัง ซึ่งล้วนเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นแผลฉกรรจ์ หากรักษาไม่ทันอาจถึงแก่ความตายได้ จำเลยย่อมจะเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำของจำเลยอาจทำให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายถึงแก่ความตายได้ พฤติการณ์ชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมแล้ว แม้เมื่อโจทก์ร่วมล้มลงหมดสติไปจำเลยจะไม่ได้ฟันโจทก์ร่วมซ้ำอีกก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9931/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่างานรับเหมา: กรณีทำเพื่อกิจการของลูกหนี้
คดีนี้โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้าง จำเลยรับจ้างก่อสร้างถนนและสะพานจากกรมทางหลวงแล้วจำเลยนำงานก่อสร้างสะพานไปว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอีกต่อหนึ่ง งานก่อสร้างสะพานเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างจากกรมทางหลวงอยู่ด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้างเรียกเอาค่างานที่ได้ทำให้แก่จำเลยเพื่อกิจการของจำเลย เข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9467/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือ ป. เป็นประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวกัน คู่ความเดียวกัน เมื่อคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีต้องตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6182/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า, สนับสนุนการฆ่า, พยานหลักฐานไม่เพียงพอ, การพิพากษา, การยกฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายไปที่บริเวณหน้าอกซ้าย เอวข้างซ้าย ศีรษะด้านซ้าย ใบหูซ้ายและแขนข้างซ้ายรวม 16 แผล โดยเฉพาะบาดแผลที่หน้าอกซ้ายทะลุช่องซี่โครงซ้ายตัดกระดูกทะลุโดนปอดซ้ายกลีบบนและเฉี่ยวเยื่อหุ้มหัวใจบาดแผลลึกถึง 16 เซนติเมตร บาดแผลที่สีข้างลึก 6 เซนติเมตร โดยกระเพาะอาหารซึ่งแพทย์ระบุถึงเหตุการตายว่าบาดแผลของมีคมทำลายปอดและกระเพาะอาหาร จากบาดแผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยแรงหลายครั้งจนบาดแผลลึกถึง 16 เซนติเมตร ทั้งเป็นบริเวณสำคัญของร่างกายอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญที่จำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจากบาดแผลที่จำเลยที่ 1 แทง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นพวกจำเลยที่ 1 กลับจากงานแต่งงานมาถึงที่เกิดเหตุและอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังต่อสู้กับผู้ตายด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันเลยว่า เห็นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ยุยงหรือสนับสนุนอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกให้จำเลยที่ 1 แทงผู้ตายให้ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด การที่ ส. พยานโจทก์อ้างว่าได้ยินเสียงวัยรุ่นทะเลาะกันห่างประมาณ 100 เมตร และได้ยินเสียงร้องตะโกนว่า "เอาให้ตาย" เมื่อไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเสียงตะโกนของจำเลยคนใด ก็อาจจะไม่ใช่เสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ แต่อาจจะเป็นเสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 1 เองก็อาจเป็นได้ พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 สนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นพวกจำเลยที่ 1 กลับจากงานแต่งงานมาถึงที่เกิดเหตุและอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังต่อสู้กับผู้ตายด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันเลยว่า เห็นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ยุยงหรือสนับสนุนอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกให้จำเลยที่ 1 แทงผู้ตายให้ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด การที่ ส. พยานโจทก์อ้างว่าได้ยินเสียงวัยรุ่นทะเลาะกันห่างประมาณ 100 เมตร และได้ยินเสียงร้องตะโกนว่า "เอาให้ตาย" เมื่อไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเสียงตะโกนของจำเลยคนใด ก็อาจจะไม่ใช่เสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ แต่อาจจะเป็นเสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 1 เองก็อาจเป็นได้ พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 สนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะงานแปลไม่มีลิขสิทธิ์ตั้งแต่แรก เจ้าของลิขสิทธิ์เดิมไม่ได้อนุญาต
โจทก์ร่วมที่ 2 เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านยอมรับว่า ได้นำข้อความในเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือเรื่อง "อโรคยา" และเรื่อง "ล้างพิษ" ทั้งได้นำความรู้จากหนังสือเรื่อง "น้ำมันปลา น้ำมันลดไขมัน" ของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้ง 3 เล่ม มาลงในหนังสือเรื่อง "เบื่อหมอ เบื่อยา หันหาธรรมชาติบำบัด วิถีสุขภาพแนวใหม่" เพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนทราบด้วย ในฐานะที่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงนำมาลงในหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงนำมาลงในหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 2 หนังสือทั้ง 4 เล่มของโจทก์ร่วมทั้งสองดังกล่าวมีเนื้อหาที่ได้แปลมาจากวรรณกรรมภาษาต่างประเทศของเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับควมคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 42 ประกอบ พ.ร.ฎ.เงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 5 ผู้แปลและโจทก์ร่วมทั้งสองผู้รับโอนงานแปลต่างไม่ได้ขออนุญาตในการแปลจากเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเลย จึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแต่อย่างใด การที่โจทก์อ้างว่าขณะแปลยังไม่มี พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ เพราะหนังสือทั้ง 4 เล่มดังกล่าวได้ตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนปี 2537 ทุกเล่มแล้ว ต่อมาหลัง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประกาศใช้บังคับ โจทก์ร่วมทั้งสองได้ติดต่อสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเพื่อจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ จึงยังไม่ได้รับอนุญาตหรือจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่สำนักพิมพ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ เท่ากับแสดงว่าโจทก์ร่วมทั้งสองทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้แปลหนังสือต่างประเทศที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นภาษาไทยยังไม่ได้รับอนุญาตหรือจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้เจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ โจทก์ร่วมทั้งสองผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิในงานแปลดังกล่าวดีกว่าผู้โอนและไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือทั้ง 4 เล่ม ดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา: ห้ามใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน, ค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินการทุกอย่างเพื่อยับยั้งและกำจัดการเลียนแบบการปลอมแปลง การละเมิดและการกระทำใดๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับการชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ รูปและรอยประดิษฐ์ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ทำนองเดียวกันที่เกี่ยวข้องหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการมอบอำนาจทั่วไป ซึ่งผู้รับมอบอำนาจสามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้ จึงไม่จำต้องระบุให้มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะเจาะจง
โจทก์ฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 รับจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลจำเลยที่ 1 โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายและยังมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียน จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 และเกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้เพี่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนี้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และ มาตรา 180 เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว และไม่ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอนุญาตหรือไม่ หากศาลเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้อยู่แล้วเนื่องจากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้รับจดทะเบียน ไม่ใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2491) ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2527) ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2536) ออกตามความใน ป.พ.พ. (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท) ระบุว่า การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอื่น มีการกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบแยกกันอย่างชัดเจนจึงเห็นได้ชัดว่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานทะเบียนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียน จึงเป็นการฟ้องผิดตัว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2
สัญญาการจัดจำหน่าย ข้อ 13 (2) ระบุว่า ผู้จำหน่ายมีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ชื่อ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการบริการของโจทก์เฉพาะกับสินค้าและบริการของโจทก์ตามที่ได้รับอนุมัติและจะต้องไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทของผู้จำหน่ายโดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้งล่วงหน้าจากโจทก์ก่อนดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญเพราะถึงอย่างไรก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จำนำชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
โจทก์ใช้คำว่า เบนซ์ และ BENZ เป็นชื่อทางการค้าและใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมกับกิจการค้าขายรถยนต์ของโจทก์มาเป็นเวลานานจนเป็ที่เรียกขานเป็นยี่ห้อสินค้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ชื่อและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิในการที่จะใช้ชื่อทางการค้าและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวในการประกอบกิจการค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1)
กลุ่มผู้บริหารจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าโดยซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ของโจทก์จากตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งปี 2539 เป็นเวลานนาน 4 ปี จึงนำชื่อคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมไปจดทะเบียนและดวงตรานิติบุคคล ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์จัดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยแล้วเกือบ 40 ปี ย่อมทราบดีว่า ชื่อเสียงเกียรติคุณของชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมของโจทก์เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค เป็นเสมือนหลักประกันคุณภาพของสินค้าและบริการ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาธารณชนเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากโจทก์หรือตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ก่อให้เกิดรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนอย่างสูงแก่ผู้ประกอบการพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการประเภทเดียวกับโจทก์ ใช้ชื่อ บริษัท เบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด และชื่อภาษาอังกฤษว่า BENZ CHANGWAT-TANA CO., LTD. อันเป็นการนำคำว่า เบนซ์ และ BENZ ไปเป็นคำนำหน้าชื่อในส่วนสำคัญ ตลอดจนใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นดวงตรานิติบุคคล ย่อมแสดงถึงเจตนาที่คาดหมายว่าสาธารณชนทั่วไปจะเข้าใจว่ากิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากเชื่อเสียงเกียรติคุณจากชื่อทางการค้าและรูประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 สั่งซื้อรถยนต์ยี้ห้อเบนซ์จากแหล่งอื่นมาจำหน่ายต่อให้ลูกค้าภายใต้ชื่อบริษัทที่มีชื่อทางการค้าของโจทก์ประกอบอยู่ในส่วนสาระสำคัญ โดยไม่ลงทุนในค่าสิทธิและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรฐานของโจทก์เฉกเช่นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์รายอื่น เข้าลักษณะเป็นการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทในเครือหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์ และทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิ ไม่สามารถควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมราคาสินค้าและบริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า เบนซ์,BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมโดยชอบ จำเลยที่ 1 นำไปใช้ในการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหายและห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้สิทธิของโจทก์ในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายนั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของผู้อื่นเท่านั้น มิได้รวมถึงการนำเครื่องหมายนั้นมาใช้เป็นชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลด้วย จำเลยที่ 1 นำคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลม มาใช้เป็นชื่อบริษัทและดวงตรานิติบุคคลไม่ได้นำมาใช้กับสินค้า การกระทำดังกล่าวจึงมิได้เป็นการใช้คำและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ จึงไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 44
คำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์นั้นได้ ซึ่งแม้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนแก้ไขชื่อและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 แต่การห้ามมิให้ใช้ดังกล่าวก็ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจประกอบกิจการค้าจำหน่ายรถยนต์และให้บริการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ภายใต้ชื่อ "บริษัทเบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด" และใช้ดวงตรานิติบุคคลที่เป็นรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้อีก อันเป็นการห้ามมิให้กระทำการละเมิดอันก่อความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว
จำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ให้ปรากฏเป็นป้ายชื่อโชว์รูม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่กิจการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำคำและรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องไปใช้กับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ได้ แต่ ป.อ. มาตรา 272 (1) วางโทษทางอาญาสำหรับผู้ใดที่เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปรอยประดิษฐ์อันเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้โดยส่อเจตนาให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทางการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิข้อบังคับห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะที่เป็นชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ หรือใช้ หรือเข้าเกี่ยวข้องไม่ว่าในทางใดกับชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ รวมทั้งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นใดที่เหมือน หรือคล้ายกับชื่อทางการค้าเครื่องหมายทางการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ไม่ว่ากับกิจการค้าสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งเป็นคำขอในอนาคตที่โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 รับจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลจำเลยที่ 1 โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายและยังมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ออกจากทะเบียน จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 และเกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้เพี่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นนี้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และ มาตรา 180 เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว และไม่ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอนุญาตหรือไม่ หากศาลเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้อยู่แล้วเนื่องจากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้รับจดทะเบียน ไม่ใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2491) ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2527) ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2536) ออกตามความใน ป.พ.พ. (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท) ระบุว่า การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดอื่น มีการกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบแยกกันอย่างชัดเจนจึงเห็นได้ชัดว่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานทะเบียนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียน จึงเป็นการฟ้องผิดตัว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2
สัญญาการจัดจำหน่าย ข้อ 13 (2) ระบุว่า ผู้จำหน่ายมีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ชื่อ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการบริการของโจทก์เฉพาะกับสินค้าและบริการของโจทก์ตามที่ได้รับอนุมัติและจะต้องไม่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทของผู้จำหน่ายโดยไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้งล่วงหน้าจากโจทก์ก่อนดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญเพราะถึงอย่างไรก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จำนำชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
โจทก์ใช้คำว่า เบนซ์ และ BENZ เป็นชื่อทางการค้าและใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมกับกิจการค้าขายรถยนต์ของโจทก์มาเป็นเวลานานจนเป็ที่เรียกขานเป็นยี่ห้อสินค้าที่มีชื่อเสียงทั่วไป ชื่อและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิในการที่จะใช้ชื่อทางการค้าและรูปประดิษฐ์ดังกล่าวในการประกอบกิจการค้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1)
กลุ่มผู้บริหารจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าโดยซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ของโจทก์จากตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าตั้งแต่ปี 2535 จนกระทั่งปี 2539 เป็นเวลานนาน 4 ปี จึงนำชื่อคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมไปจดทะเบียนและดวงตรานิติบุคคล ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์จัดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยแล้วเกือบ 40 ปี ย่อมทราบดีว่า ชื่อเสียงเกียรติคุณของชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมของโจทก์เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค เป็นเสมือนหลักประกันคุณภาพของสินค้าและบริการ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาธารณชนเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากโจทก์หรือตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ก่อให้เกิดรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนอย่างสูงแก่ผู้ประกอบการพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการประเภทเดียวกับโจทก์ ใช้ชื่อ บริษัท เบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด และชื่อภาษาอังกฤษว่า BENZ CHANGWAT-TANA CO., LTD. อันเป็นการนำคำว่า เบนซ์ และ BENZ ไปเป็นคำนำหน้าชื่อในส่วนสำคัญ ตลอดจนใช้รูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นดวงตรานิติบุคคล ย่อมแสดงถึงเจตนาที่คาดหมายว่าสาธารณชนทั่วไปจะเข้าใจว่ากิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงเป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากเชื่อเสียงเกียรติคุณจากชื่อทางการค้าและรูประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 สั่งซื้อรถยนต์ยี้ห้อเบนซ์จากแหล่งอื่นมาจำหน่ายต่อให้ลูกค้าภายใต้ชื่อบริษัทที่มีชื่อทางการค้าของโจทก์ประกอบอยู่ในส่วนสาระสำคัญ โดยไม่ลงทุนในค่าสิทธิและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรฐานของโจทก์เฉกเช่นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์รายอื่น เข้าลักษณะเป็นการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทในเครือหรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโจทก์ และทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิ ไม่สามารถควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมระดับคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังไม่อาจควบคุมราคาสินค้าและบริการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า เบนซ์,BENZ และรูปประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมโดยชอบ จำเลยที่ 1 นำไปใช้ในการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหายและห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้สิทธิของโจทก์ในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรไว้แล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมายนั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของผู้อื่นเท่านั้น มิได้รวมถึงการนำเครื่องหมายนั้นมาใช้เป็นชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลด้วย จำเลยที่ 1 นำคำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลม มาใช้เป็นชื่อบริษัทและดวงตรานิติบุคคลไม่ได้นำมาใช้กับสินค้า การกระทำดังกล่าวจึงมิได้เป็นการใช้คำและรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ จึงไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 44
คำว่า เบนซ์, BENZ และรูปรอยประดิษฐ์ดาวสามแฉกในวงกลมเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อและรูปรอยประดิษฐ์นั้นได้ ซึ่งแม้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะมิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนแก้ไขชื่อและดวงตรานิติบุคคลของจำเลยที่ 1 แต่การห้ามมิให้ใช้ดังกล่าวก็ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจประกอบกิจการค้าจำหน่ายรถยนต์และให้บริการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ภายใต้ชื่อ "บริษัทเบนซ์แจ้งวัฒนะ จำกัด" และใช้ดวงตรานิติบุคคลที่เป็นรูปรอยประดิษฐ์ของโจทก์ได้อีก อันเป็นการห้ามมิให้กระทำการละเมิดอันก่อความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว
จำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ให้ปรากฏเป็นป้ายชื่อโชว์รูม ตลอดจนใช้ในการโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่กิจการค้าของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำคำและรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องไปใช้กับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ได้ แต่ ป.อ. มาตรา 272 (1) วางโทษทางอาญาสำหรับผู้ใดที่เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเมื่อจำเลยที่ 1 นำชื่อและรูปรอยประดิษฐ์อันเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้โดยส่อเจตนาให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทางการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิข้อบังคับห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะที่เป็นชื่อทางการค้าและรูปรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการ หรือใช้ หรือเข้าเกี่ยวข้องไม่ว่าในทางใดกับชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ รวมทั้งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการอื่นใดที่เหมือน หรือคล้ายกับชื่อทางการค้าเครื่องหมายทางการค้า และเครื่องหมายบริการของโจทก์ไม่ว่ากับกิจการค้าสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งเป็นคำขอในอนาคตที่โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง