พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากไม่มีอำนาจ ศาลต้องยกคำพิพากษาเดิม และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งศาล มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมด้วยขัดต่อมาตรา 1726 จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวจึงไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้ง
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกองมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ตายในฐานะเป็นเจ้าของร่วมซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกผู้ตายไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นก็ควรต้องฟังพยานโจทก์ให้ได้ความก่อนว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามที่โจทก์ฟ้องเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมกับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันมาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกองมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ตายในฐานะเป็นเจ้าของร่วมซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกผู้ตายไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นก็ควรต้องฟังพยานโจทก์ให้ได้ความก่อนว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามที่โจทก์ฟ้องเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมกับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันมาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า, พาอาวุธปืน, และการลดโทษจากคำรับสารภาพในคดีอาญา
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแต่ไม่ถูกผู้ใด เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 หลบหนีจำเลยทั้งสามติดตามไปไล่ยิงผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 จนถึงหน้าโรงแรม อันเป็นการส่อให้เห็นเจตนามุ่งมั่นที่จะฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ให้ได้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจากที่เกิดเหตุจุดแรกไปยังที่เกิดเหตุจุดที่สอง เมื่อกระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้รับบาดเจ็บสาหัสไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 กระทงหนึ่ง หลังจากนั้นจำเลยทั้งสามยังย้อนกลับไปยิงพวกของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โรงแรมอีกจนกระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 4 ได้รับบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 4 โดยพลาดอีกกระทงหนึ่ง รวมเป็นความผิด 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศเตือนผู้ประกอบการทำสัญญาเช่ากับผู้มีสิทธิเท่านั้น ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิผู้ประมูลได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินเดิมในเขตนิคมอุตสาหกรรมมีระยะเวลาเช่าถึงเดือนธันวาคม 2544 และได้รับการคัดเลือกในการประมูลให้เป็นผู้เช่าต่อไป แต่โจทก์ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าใหม่กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อสัญญาเช่าเดิมหมดสัญญาลงโจทก์ยังไม่มีสิทธิใดๆ ที่จะเข้าไปบริหารจัดการทำประโยชน์ในที่ดินได้ และยังไม่มีสิทธิเก็บค่าเช่าล็อกจากผู้ประกอบการค้ารายย่อย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมได้ประกาศเตือนให้ผู้ประกอบการค้ารายย่อยทราบว่า การทำนิติกรรมสัญญาใดๆ เพื่อประกอบการค้าต้องกระทำกับผู้ได้รับสิทธิเป็นผู้บริหารและจัดการทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น หากไปทำสัญญากับผู้ไม่ได้รับสิทธิการเช่าและเกิดความเสียหายสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมจะไม่รับผิดชอบเป็นการป้องกันและเตือนผู้ประกอบการค้ารายย่อยเท่านั้น และไม่มีข้อความที่ระบุหรืออ้างถึงตัวโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้เสียชื่อเสียงหรือเสียหาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8419/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์: ผู้ครอบครองเดิมมีสิทธิดีกว่าผู้ซื้อบ้านจากการขายทอดตลาด
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน ผู้ใดย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใช้ยันต่อรัฐได้และยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนจึงยังเป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน แต่ผู้ที่ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเพราะเป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ย่อมมีสิทธิดีกว่า การที่จำเลยซื้อเฉพาะบ้านของโจทก์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วไม่ยอมรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกจากที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินพิพาทได้
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันโจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยและจำเลยไม่ได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ จำเลยจึงยกความอายุความ 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเพราะเป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ย่อมมีสิทธิดีกว่า การที่จำเลยซื้อเฉพาะบ้านของโจทก์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วไม่ยอมรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกจากที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินพิพาทได้
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันโจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยและจำเลยไม่ได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ จำเลยจึงยกความอายุความ 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: โจทก์ฟ้องชดใช้ราคารถยนต์ซ้ำ หลังศาลตัดสินให้ส่งมอบรถยนต์จากสัญญาเช่าแล้ว
ประเด็นข้อพิพาทสำคัญในคดีก่อน เป็นการพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษาเนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อคดีก่อนและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นในคดีก่อน และคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคาทรัพย์ในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยกันถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วหาได้ไม่ กรณีจึงเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 กรณีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อทั้งสองคดีคู่ความเป็นคนเดียวกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5989/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจปกครอง หากมีการอุปการะเลี้ยงดูต่อเนื่อง
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 หมายความว่า ผู้กระทำความผิดได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาหรือต่อผู้ปกครองหรือต่อผู้ดูแลของผู้เยาว์ คดีนี้บิดาของผู้เสียหายมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาผู้เสียหายจึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดาและมารดาของผู้เสียหายได้เลิกร้างกันมานานถึง 17 ปี โดยผู้เสียหายอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามาตลอด บิดาของผู้เสียหายจึงเป็นผู้ปกครองผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากผู้ปกครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาพัฒนาที่ดิน โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายและพัฒนาที่ดินกับจำเลย โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์แก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาและต่อมาจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทั้งให้นำเงินที่เหลือไปชำระ แสดงว่าจำเลยได้ยืนยันต่อโจทก์ว่าจำเลยได้พัฒนาที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด ส่วนที่หนังสือของจำเลยระบุว่าก่อนถึงวันนัดให้โจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยก่อนวันที่กำหนดในหนังสือเพื่อเป็นการยืนยันว่าจะไปรับโอนกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดขึ้นเองฝ่ายเดียว โดยไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวระบุในสัญญา อย่างไรก็ตามการที่โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยว่าจำเลยยังพัฒนาที่ดินไม่เรียบร้อย แต่โจทก์ก็พร้อมที่จะไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามวันเวลาที่จำเลยกำหนดนัด เพียงพอที่จะถือได้ว่าโจทก์มีหนังสือตอบรับยืนยันไปยังจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ไปตามกำหนดนัดจึงถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกเลิกสัญญาจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน การที่โจทก์ได้เบิกความยืนยันในชั้นพิจารณาว่าได้มอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์ว่าได้ยอมรับการกระทำของทนายความที่กระทำแทนโจทก์ในกรณีดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 การบอกเลิกสัญญาจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและการบอกเลิกสัญญาของโจทก์มีผลสมบูรณ์แล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะมีหนังสือนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกครั้งหนึ่งและโจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินตามกำหนดนัดดังกล่าว ก็เป็นเพียงการให้โอกาสแก่จำเลยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาข้อพิพาทกันอีกต่อไป แต่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยก็ยังผิดนัดอีก พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะเลิกสัญญากับจำเลยอีกต่อไป
เมื่อเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับให้แก่โจทก์และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่รับไว้ด้วยซึ่งการคิดดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด แต่เป็นเรื่องที่จำเลยประพฤติผิดสัญญา และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยที่โจทก์จะคิดจากจำเลยในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไว้ก็ตาม แต่โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามมาตรา 391 วรรคสอง
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกเลิกสัญญาจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน การที่โจทก์ได้เบิกความยืนยันในชั้นพิจารณาว่าได้มอบหมายให้ทนายโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์ว่าได้ยอมรับการกระทำของทนายความที่กระทำแทนโจทก์ในกรณีดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 การบอกเลิกสัญญาจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและการบอกเลิกสัญญาของโจทก์มีผลสมบูรณ์แล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะมีหนังสือนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกครั้งหนึ่งและโจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินตามกำหนดนัดดังกล่าว ก็เป็นเพียงการให้โอกาสแก่จำเลยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาข้อพิพาทกันอีกต่อไป แต่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยก็ยังผิดนัดอีก พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะเลิกสัญญากับจำเลยอีกต่อไป
เมื่อเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับให้แก่โจทก์และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่รับไว้ด้วยซึ่งการคิดดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด แต่เป็นเรื่องที่จำเลยประพฤติผิดสัญญา และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยที่โจทก์จะคิดจากจำเลยในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไว้ก็ตาม แต่โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามมาตรา 391 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5181/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งปวงของผู้ค้ำและลูกหนี้ร่วม การบังคับตามหนังสือประกันทำได้แม้ลูกหนี้คนหนึ่งพ้นความรับผิด
จำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ โดยจำเลยทั้งสองนำหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ก. ที่ออกให้เพื่อค้ำประกันเฉพาะจำเลยที่ 1 มาวางเป็นหลักประกันพร้อมทำหนังสือประกันต่อศาลชั้นต้น กรณีดังกล่าวถือว่านอกจากจำเลยที่ 1 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองตามหนังสือประกันที่ทำต่อศาล เมื่อปรากฏว่าต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ก็เพียงแต่เป็นผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับสิ้นไป แต่ความรับผิดตามหนังสือประกันหาได้ระงับไปด้วยไม่ เพราะไม่มีข้อความใดระบุว่าหนังสือประกันดังกล่าวให้มีผลบังคับเฉพาะในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นการทำหนังสือประกันเพื่อได้รับการทุเลาการบังคับเฉพาะจำเลยคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดร่วมกันในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้แทนจำเลยทั้งสองหรือจำเลยคนใดคนหนึ่งหากไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองนำมาวางเป็นหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างของข้อเท็จจริงในคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ทำให้ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1,178 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ตามทางพิจารณาได้ความว่า ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้เฉพาะ ช. จำเลยในอีกคดีหนึ่งพร้อมของกลาง จึงแจ้งข้อหาแก่ ช. ว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ช. ให้การรับสารภาพ โดยอ้างว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจากจำเลย และนำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้บ้านจำเลยเพื่อทำการตรวจค้นแต่ไม่พบจำเลย จึงออกหมายจับไว้และต่อมาจึงจับจำเลยได้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง ช. มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงผู้เดียวโดยลำพัง จำเลยไม่ได้เป็นตัวการร่วมกับ ช. กระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.อ. มาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันอย่างมากในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคสอง