คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1625

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการสิ้นสุดการสมรสด้วยการเสียชีวิต และขอบเขตของสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อ น.ถึงแก่ความตาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลย มีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625สินสมรสของ น.กับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่น.ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสแล้วว่ายอมนำทรัพย์มรดกของ น. ชำระให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, ผู้จัดการมรดก, การทำละเมิด, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ. ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน 3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 และ 224 โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีมรดกของผู้ปกครองเด็ก, อายุความมรดกมีผู้จัดการ, การแบ่งมรดกสินส่วนตัวและสินร่วม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ค. เป็นผู้ปกครองของเด็กชาย ท.คดีถึงที่สุดแล้วค. ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กชาย ท.จำเลยไม่อาจโต้แย้งในคดีนี้ว่าค. ไม่มีอำนาจเป็นผู้ปกครองเด็กชาย ท. ได้ ฟ้องระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของเจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่มีสิทธิได้รับมรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คนและเป็นผู้ใด หากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่าจำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งตามฟ้องไม่ถูกต้องจำเลยต้องให้การต่อสู้ไว้ และเมื่ออ่านฟ้องประกอบใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาด ที่ถูกต้องเป็นตามใบมรณบัตรแนบท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ทรัพย์ที่เจ้ามรดกกับ ส. เป็นเจ้าของร่วมกัน ต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกตกได้แก่เด็กชาย ท. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับส่วนของเจ้ามรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งสี่คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อรวมแล้วเด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับจำนวน 5 ใน 8 ส่วน กรณีทรัพย์มรดกมีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทไม่จำต้องฟ้องเรียกทรัพย์มรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสินสมรสระหว่างทายาทและคู่สมรสก่อนกึ่งหนึ่ง
จำเลยยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นกำหนด เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยให้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยไม่ครบถ้วนตาม ประเด็นพิพาทของคู่ความอันเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควร วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ส.และห. อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส ห.ผู้เป็นภริยามีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 ส่วน ทายาทโดยธรรมของ ส.มี6คนคือห. และผู้สืบสันดานจึงต้องแบ่งทรัพย์สินออกเป็นมรดกของ ส. จำนวน 2 ใน 3 ส่วนแล้วแบ่งทรัพย์มรดกของ ส. ออกเป็น 6 ส่วนเท่า ๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงเป็นโมฆะ ผู้มีสิทธิในที่ดินสามารถเรียกคืนได้
เดิม จ. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จ. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ครึ่งหนึ่งและตกเป็นของ ส. สามี จ. ครึ่งหนึ่ง ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาลได้โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างจำเลยกับ ส. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งมีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532, 1533, 1625, 1626และ 1635.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและโมฆะ ผู้มีสิทธิในที่ดินสามารถเรียกคืนได้
เดิม จ. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จ. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ครึ่งหนึ่งและตกเป็นของ ส.สามีจ.ครึ่งหนึ่งส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาลได้โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างจำเลยกับ ส. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งมีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532,1533,1625,1626และ 1635.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเรียกเงินตามเช็ค: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องในฐานะทายาทและเจ้าของสิทธิร่วม
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลาย ร่วมกับนายจิตติสามี และร่วมกับสามีเป็นผู้ทรงเช็ค 2 ฉบับตามฟ้อง เมื่อสามีตายโจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของสามีต่อศาล ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินในฐานะที่โจทก์มีส่วนแบ่งในทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับสามีเนื่องจากการตายของสามีประการหนึ่ง และในฐานะคู่สมรสซึ่งโจทก์เป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดกส่วนของสามีอีกประการหนึ่ง เมื่อหนี้เงินตามเช็คเป็นทรัพย์สินที่โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในฐานะภริยาและเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทดังนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คตามฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะทายาทหรือผู้จัดการมรดกของนายจิตติสามีโจทก์ก็เท่ากับโต้เถียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง จึงถือได้ว่าประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ตามที่จำเลยอุทธรณ์ได้ว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมต้องวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ทรงเช็ค: การรับมรดกและสิทธิในทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายร่วมกับนายจิตติ สามี และร่วมกับสามีเป็นผู้ทรงเช็ค 2 ฉบับตามฟ้อง เมื่อสามีตายโจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของสามีต่อศาล ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินในฐานะที่โจทก์มีส่วนแบ่งในทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับสามี เนื่องจากการตายของสามีประการหนึ่ง และในฐานะคู่สมรสซึ่งโจทก์เป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดกส่วนของสามีอีกประการหนึ่ง เมื่อหนี้เงินตามเข็คเป็นทรัพย์สินที่โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในฐานะภริยาและเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทดังนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คตามฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะทายาทหรือผู้จัดการมรดกของนางจิตติสามีโจทก์ก็เท่ากันโต้เถียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง จึงถือได้ว่าประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ตามที่จำเลยอุทธรณ์ได้ว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมต้องวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมที่ดิน: สิทธิครอบครองร่วมกันและผลกระทบต่อการโอน
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และน.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อน.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไปๆ มาๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดิน ถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่นๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่
of 4