คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1625

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวม-สิทธิครอบครอง: การขายทรัพย์สินส่วนรวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมอื่น
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และ น.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อ น.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ๆ ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไป ๆ มา ๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดินถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่น ๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้ โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินเดิมของสามีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาและผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หา ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วยมาตรา 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม หรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ความยินยอม และพิพากษาให้แบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายและจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วยแต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1625(1)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องมีเจตนาเดียวกัน การให้ทรัพย์สินบุตรโดยมิใช่จากมรดก และสิทธิในการเรียกร้องมรดก
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทด้วยกันนั้น. ทายาทจะต้องมีเจตนาร่วมกันเพื่อแบ่งมรดก. บิดายกที่ดินให้บุตร 200ตารางวา. ที่ดินนี้ไม่ใช่ของนางถนอมมารดาที่ถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว. จำเลยซึ่งเป็นบิดามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย.การยกให้ระบุชัดว่าให้เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุตร. ในฐานะจำเลยเป็นบิดาต้องสงเคราะห์บุตรของตนดังนี้. ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งมรดกของนางถนอมภรรยาของจำเลยให้แก่บุตร.
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง. จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา. การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย. บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวาเป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย. ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องมีเจตนาร่วมกัน การให้ทรัพย์สินเป็นของขวัญสงเคราะห์บุตร ไม่ใช่การแบ่งมรดก
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทด้วยกันนั้น ทายาทจะต้องมีเจตนาร่วมกันเพื่อแบ่งมรดก บิดายกที่ดินให้บุตร 200 ตารางวา ที่ดินนี้ไม่ใช่ของนางถนอมมารดาที่ถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว จำเลยซึ่งเป็นบิดามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย การยกให้ระบุชัดว่าให้เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุตร ในฐานะจำเลยเป็นบิดาต้องสงเคราะห์บุตรของตนดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งมรดกของนางถนอมภรรยาของจำเลยให้แก่บุตร
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวา เป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องมีเจตนาแบ่งร่วมกัน การให้ทรัพย์สินบุตรโดยมิใช่จากมรดก ไม่ถือเป็นการแบ่งมรดก
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทด้วยกันนั้น ทายาทจะต้องมีเจตนาร่วมกันเพื่อแบ่งมรดก บิดายกที่ดินให้บุตร 200 ตารางวา ที่ดินนี้ไม่ใช่ของนางถนอมมารดาที่ถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว จำเลยซึ่งเป็นบิดามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย การยกให้ระบุชัดว่าให้เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุตร ในฐานะจำเลยเป็นบิดาต้องสงเคราะห์บุตรของตนดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งมรดกของนางถนอมภรรยาของจำเลยให้แก่บุตร
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวาเป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน: การแบ่งสินเดิมและสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า. และมาตรา 1513(1)(2) ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน. ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช.จึงเป็นของช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่. ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้. เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477.
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง. ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์. จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา. ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์.ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4 และ 5.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำพินัยกรรมเกี่ยวกับสินเดิมของคู่สมรส: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสินเดิมเป็นของสามีแต่ผู้เดียว จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า และมาตรา 1513(1)(2) ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช. จึงเป็นของ ช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่ ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้ เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1, 4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1, 4 และ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำพินัยกรรมของคู่สมรส: สินเดิม vs. สินสมรส และสิทธิของคู่สมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า และมาตรา 1513(1)(2)ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช.จึงเป็นของช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่ ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้ เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์ จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์ ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4และ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความขาดเมื่อทายาทปล่อยให้บิดาครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะเจ้าของหลังบรรลุนิติภาวะ
มารดาถึงแก่กรรม บรรดาบุตรรวมทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่ในปกครองของบิดา บิดาได้ครอบครองทรัพย์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวตลอดมาโดยบุตรทุกคนไม่ได้เกี่ยวข้องทรัพย์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจจัดการของบิดาแต่ผู้เดียว แสดงว่าบิดาถือตนเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา บิดาได้แบ่งสินเดิมของมารดาให้แก่บุตรทุกคนเท่า ๆ กัน แต่สินสมรสไม่แบ่งบิดาได้ยุบร้านค้าเดิมมาเปิดร้านค้าใหม่กู้เงินบุคคลภายนอกมาลงทุนโดยไม่มีบุตรคนใดเกี่ยวข้อง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าบิดามิได้ครอบครองทรัพย์สินแทนบุตรแต่ประการใด กลับมีพฤติการณ์แสดงว่าบุตรปล่อยให้บิดาครอบครองอย่างเจ้าของ และเมือโจทก์และโจทก์ร่วมบรรลุนิติภาวะแล้ว อำนาจการปกครองโจทก์และโจทก์ร่วมของบิดาก็สิ้นสุดลงอำนาจการครอบครองทรัพย์ของโจทก์และโจทก์ร่วมก็สิ้นไปด้วย โจทก์กับโจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของมารดาอันเป็นส่วนแบ่งของตนจากบิดาได้ แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้บังคับ จนล่วงเลยมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 114/2482)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องมรดก: การครอบครองทรัพย์สินโดยบิดาหลังบุตรบรรลุนิติภาวะและการขาดอายุความ
มารดาถึงแก่กรรม บรรดาบุตรรวมทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่ในปกครองของบิดา บิดาได้ครอบครองทรัพย์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวตลอดมา โดยบุตรทุกคนไม่ได้เกี่ยวข้องทรัพย์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจจัดการของบิดาแต่ผู้เดียว แสดงว่าบิดาถือตนเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา บิดาได้แบ่งสินเดิมของมารดาให้ แก่บุตรทุกคนเท่า ๆ กัน แต่สินสมรสไม่แบ่ง บิดาได้ยุบร้านค้าเดิมมาเปิดร้านค้าใหม่กู้เงินบุคคลภายนอกมาลงทุนโดยไม่มีบุตรคนใดเกี่ยวข้องพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าบิดามิได้ครอบครองทรัพย์สินแทนบุตรแต่ประการใดกลับมีพฤติการณ์แสดงว่าบุตรปล่อยให้บิดาครอบครองอย่างเจ้าของและเมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมบรรลุนิติภาวะแล้ว อำนาจการปกครองโจทก์และโจทก์ร่วมของบิดาก็สิ้นสุดลงอำนาจการครอบครองทรัพย์ของโจทก์และโจทก์ร่วมก็สิ้นไปด้วย โจทก์กับโจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของมารดาอันเป็นส่วนแบ่งของตนจากบิดาได้ แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้บังคับ จนล่วงเลยมาเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 114/2482)
of 4