พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทโดยธรรมและการเกิดหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย รวมถึงการตีความ 'ผู้มีส่วนได้เสีย' ในมรดก
ผู้คัดค้านเพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของผู้คัดค้าน ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8 เดือนว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งกรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1558 วรรคแรก สิทธิดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมาไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ มาตรา 1629, 1630
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังเช่นในคดีนี้ไม่
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังเช่นในคดีนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทายาทเพื่อรับมรดก: จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ทางสายเลือด
ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์ซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกเป็นผู้จัดการมรดกเจ้ามรดกเคยมีภรรยาแต่ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วและไม่มีบุตรฉะนั้นหากจำเลยเป็นบุตรเจ้ามรดกจำเลยย่อมมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวการรับมรดกของจำเลยก็ชอบด้วยกฎหมายส่วนโจทก์ซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดกอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1630จึงไม่เป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกฉะนั้นจึงต้องสืบพยานโจทก์จำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยเป็นบุตรเจ้ามรดกหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: ทายาทโดยชอบธรรมและลำดับการรับมรดก
ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์ซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกเป็นผู้จัดการมรดก เจ้ามรดกเคยมีภรรยาแต่ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วและไม่มีบุตรฉะนั้นหากจำเลยเป็นบุตรเจ้ามรดก จำเลยย่อมมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว การรับมรดกของจำเลยก็ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนโจทก์ซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดกอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 จึงไม่เป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ฉะนั้นจึงต้องสืบพยานโจทก์จำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยเป็นบุตรเจ้ามรดกหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรนอกกฎหมายรับรองแล้ว และสิทธิผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 หาจำต้องไปฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามมาตรา 1713
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายมรดก: ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินเกินอำนาจทำให้ทายาทเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ญ. ซึ่งเป็นพี่ของโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของ ญ.เมื่อญ. ตาย ที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจำนวนหนึ่งในสามทันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ญ. โอนที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 200,000 บาทเศษตีใช้หนี้จำนวน 70,000 บาท ที่ ญ. เป็นหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ ทำให้ทายาทเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ญ. ซึ่งเป็นพี่ของโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของ ญ. เมื่อ ญ. ตาย ที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจำนวนหนึ่งในสามทันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ญ. โอนที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 200,000 บาทเศษ ตีใช้หนี้จำนวน 70,000 บาท ที่ ญ. เป็นหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกิน ขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้เพราะเป็น กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม vs น้องร่วมบิดามารดา: ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ร้อง เป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตามมาตรา1629. ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมและสิทธิในมรดก สัญญาประนีประนอมยอมความก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นโมฆะ
เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรม จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1627 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรม มรดกจึงตกได้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกหามีสิทธิได้รับมรดกไม่
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่ 2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 ไม่มีผลใช้บังคับ
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่ 2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 ไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดกก่อนพี่น้องร่วมบิดามารดา สัญญาแบ่งมรดกก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นโมฆะ
เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมจำเลยที่ 2 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586,1627 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมมรดกจึงตกได้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกหามีสิทธิได้รับมรดกไม่
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619ไม่มีผลใช้บังคับ
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619ไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกสืบสาย: สิทธิทายาทโดยชอบธรรม การครอบครองร่วม และอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ ที่พิพาทตกได้แก่ ย.บุตรของ อ. ย.วายชนม์ มรดกส่วนของ ย.ตกได้แก่ ค.ยายของโจทก์ ค.วายชนม์ ตกได้แก่ ช. และตกได้แก่โจทก์ เมื่อ ช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ ซึ่งมีการรับมรดกของ อ.เป็นทอด ๆ กันมาตามบัญชีเครือญาตท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่