คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1630

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสืบสาย: สิทธิทายาทโดยชอบธรรม การครอบครองร่วม และอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ ที่พิพาทตกได้แก่ ย.บุตรของ อ. ย.วายชนม์ มรดกส่วนของ ย.ตกได้แก่ ค.ยายของโจทก์ ค.วายชนม์ ตกได้แก่ ช. และตกได้แก่โจทก์ เมื่อ ช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ ซึ่งมีการรับมรดกของ อ.เป็นทอด ๆ กันมาตามบัญชีเครือญาตท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ ย.จะวายชนม์ก่อน อ.ก็ตาม เมื่อ ย.บุตร อ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดก อ.แทนที่ ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของ ค.โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ.เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่น ๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่น ๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทแล้ว คงเหลือผู้มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเว้นจากการยินยอมแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ. พฤติการณ์ที่ บ. ได้อุปการะเลี้ยงดู กับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ถือได้ว่า บ. ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเสียจากการยินยอมแบ่งทรัพย์
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ.พฤติการณ์ที่ บ.ได้อุปการะเลี้ยงดูกับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ ถือได้ว่า บ.ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยธรรมและผู้เสียหายในคดีปลอมแปลงพินัยกรรม การพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดก โจทก์ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในเมื่อยังมีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนตนยังมีชีวิตอยู่ตาม มาตรา 1630และทั้งนี้ต้องต่อเมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดกและโจทก์ที่ 1,2 เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่ 4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหายแต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1,2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1,2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1,2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1,2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม: ทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่ได้ประโยชน์จากการปลอม
โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดก โจทก์ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629. แต่โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในเมื่อยังมีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนตนยังมีชีวิตอยู่ตาม มาตรา 1630. และทั้งนี้ต้องต่อเมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์.
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก. และโจทก์ที่ 1,2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้. การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว. ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย. แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1,2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วย.เพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม. โจทก์ที่ 1,2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว. และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1,2ด้วยแล้ว.จำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น. โจทก์ที่ 1,2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมแปลงพินัยกรรม: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้มีสิทธิรับมรดก
โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดก โจทก์ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในเมื่อยังมีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนตนยังมีชีวิตอยู่ตาม มาตรา 1630 และทั้งนี้ต้องต่อเมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก และโจทก์ที่ 1, 2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1, 2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วยเพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม โจทก์ที่ 1, 2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1, 2 ด้วยแล้วจำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น โจทก์ที่ 1, 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกทายาทโดยธรรม: บิดาผู้มีสิทธิเท่ากับบุตร และอายุความครอบครองมรดก
ทรัพย์พิพาทเป็นมรดก โจทก์เป็นบิดาเจ้ามรดกจึงได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร จำเลยเป็นผู้สืบสันดาน โจทก์จำเลยจึงมีส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กัน
จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: บิดาผู้มีสิทธิเท่าทายาทชั้นบุตร และอายุความครอบครองทรัพย์มรดก
ทรัพย์พิพาทเป็นมรดก โจทก์เป็นบิดาเจ้ามรดกจึงได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร จำเลยเป็นผู้สืบสันดาน โจทก์จำเลยจึงมีส่วนแบ่งมรดกเท่าๆกัน
จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 1 ปีนับแต่วันเจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666-667/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ของทายาทที่ถูกตัดสิทธิ และความรับผิดทางละเมิดจากการตัดต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่น
เมื่อเจ้ามรดกตาย ที่ดินของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่บุตรของเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629ตัวพี่สาวของเจ้ามรดกย่อมถูกตัดออกจากทายาทตามมาตรา 1630
การที่พี่สาวของเจ้ามรดกก็ดี มารดาของเจ้ามรดกก็ดียอมรับสภาพหนี้ของเจ้ามรดกก็ย่อมไม่มีผลผูกพันบุตรของเจ้ามรดกเพราะไม่ได้เป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555,1556 อันสามารถทำนิติกรรมให้ผูกพันทรัพย์สินของผู้เยาว์
จำเลยเข้าไปตัดฟันต้นมะม่วงในที่ดินของผู้อื่นในขณะที่จำเลยยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและต้นมะม่วงนั้นการกระทำของจำเลยย่อมเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกตกแก่ทายาทชั้นบุตร น้องชายไม่มีสิทธิอ้างอายุความตัดฟ้องได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก จำเลยเป็นแต่เพียงน้องของเจ้ามรดกและไม่ปรากฎว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใดทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร จำเลยเป็นน้องเป็นทายาทอยู่ในอันดับถัดไปจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ.ม. 1630 ฉนั้นจำเลยจึงยกอายุความมรดก ป.พ.พ.ม. 1754 ขึ้นมาตัดฟ้องโจทก์ไม่ได้
of 5