คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 577

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างข้ามบริษัทในเครือ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เดิมโจทก์ทำงานกับบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท ช. จำเลยต่อมาจำเลยรับโอนโจทก์มาทำงานกับจำเลยโดยโจทก์ยินยอมโจทก์ย่อมขาดจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. และ เป็นลูกจ้างของจำเลยโดยเด็ดขาดนับแต่บัดนั้นการที่จำเลยจะโอน โจทก์กลับไปยังบริษัท อ. อีกจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เพราะบริษัท อ. เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างระหว่างบริษัทในเครือ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากบริษัทเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
เดิมโจทก์ทำงานกับบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท ช. จำเลยต่อมาจำเลยรับโอนโจทก์มาทำงานกับจำเลยโดยโจทก์ยินยอม โจทก์ย่อมขาดจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. และเป็นลูกจ้างของจำเลยโดยเด็ดขาดนับแต่บัดนั้น การที่จำเลยจะโอน โจทก์กลับไปยังบริษัท อ. อีกจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เพราะบริษัท อ. เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223-235/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาจ้างจากนายจ้างเดิมสู่นายจ้างใหม่ และหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าโรงภาพยนตร์จากจำเลยร่วมโดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ตกลงรับช่วงจ้างคนงานจากจำเลยร่วมให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไป ลูกจ้างของจำเลยร่วมจึงเปลี่ยนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 สัญญาจ้างระหว่างจำเลยร่วมกับลูกจ้างจึงเป็นอันระงับ อันเป็นกรณีนายจ้างเดิมโอนสิทธิของตนให้แก่นายจ้างใหม่ โดยความยินยอมของลูกจ้าง เพราะลูกจ้างได้ทำงานให้แก่จำเลยที่1 จนถึงวันเลิกจ้างเป็นเวลาสองเดือนเศษดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า และแม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้เลิกสัญญากับจำเลยร่วม ก็ไม่มีผลทำให้หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกจ้างต้องเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการจ้างไม่ใช่การเลิกจ้าง: สิทธิค่าชดเชยเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
การที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเข้าเป็นลูกจ้างของบริษัท ส. นั้น โจทก์ได้ทำงานรับจ้างต่อไป ตามเดิม ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ จากนายจ้างคนใหม่เช่นที่เคยได้รับอยู่เดิมและได้นับระยะเวลาการทำงานระหว่างเป็นลูกจ้างของจำเลยกับเป็นลูกจ้างของบริษัท ส.ติดต่อกัน ดังนี้ เห็นได้ว่ามิได้มีการเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีการจ้างต่อไปตามเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยเป็นบริษัทส. เท่านั้น จึงเป็นเรื่องโอนการจ้างหาใช่เลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยจากจำเลย
แม้การโอนการจ้างนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. ก็ถือได้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยโดยปริยายเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบผูกพันต่อโจทก์ในเรื่องการว่าจ้างทำงานในโรงงานแห่งนี้ หากจำเลยดำเนินการตามสัญญาเช่าไม่ได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องรับโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนการจ้างไม่ใช่เลิกจ้าง: สิทธิค่าชดเชยเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
การที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเข้าเป็นลูกจ้างของบริษัท ส. นั้น โจทก์ได้ทำงานรับจ้างต่อไป ตามเดิม ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ จากนายจ้างคนใหม่เช่นที่เคยได้รับอยู่เดิมและได้นับระยะเวลาการทำงานระหว่างเป็นลูกจ้างของจำเลยกับเป็นลูกจ้างของบริษัท ส.ติดต่อกัน ดังนี้ เห็นได้ว่ามิได้มีการเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีการจ้างต่อไปตามเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยเป็นบริษัทส. เท่านั้น จึงเป็นเรื่องโอนการจ้างหาใช่เลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยจากจำเลย
แม้การโอนการจ้างนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. ก็ถือได้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยโดยปริยายเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบผูกพันต่อโจทก์ในเรื่องการว่าจ้างทำงานในโรงงานแห่งนี้ หากจำเลยดำเนินการตามสัญญาเช่าไม่ได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องรับโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไป
of 15