พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงนายจ้างและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 (เดิม) กรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลจะต้องเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด แต่การที่จำเลยขายกิจการในแผนกคอนซูมเมอร์ เฮลแคร์ และโอนลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ไปทำงานกับบริษัทที่ซื้อกิจการนั้นมิใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลหรือมีผลเป็นการโอนหรือควบรวมนิติบุคคลกับบริษัทดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง แต่เป็นการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง ซึ่งการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างจะกระทำได้ต่อเมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอในการโอนสิทธิการเป็นนายจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เอกสารหมาย ล.3 และ ล.4 ที่มีข้อความระบุว่า หากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 จำเลยจะสันนิษฐานว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะรับข้อเสนอ และข้อเสนอถือว่าถูกเพิกถอนไป โดยจำเลยจะไม่มีตำแหน่งให้โจทก์อีกต่อไป นับแต่วันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงหากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอของจำเลยภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 การจ้างงานของโจทก์จะสิ้นสุดลงในวันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์นั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า แต่เมื่อไม่ได้กำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ให้ชัดเจนว่าจะเลิกจ้างโจทก์ในวันใด การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าจึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582
เอกสารหมาย ล.3 และ ล.4 ที่มีข้อความระบุว่า หากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 จำเลยจะสันนิษฐานว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะรับข้อเสนอ และข้อเสนอถือว่าถูกเพิกถอนไป โดยจำเลยจะไม่มีตำแหน่งให้โจทก์อีกต่อไป นับแต่วันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงหากโจทก์ไม่ตอบรับข้อเสนอของจำเลยภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 การจ้างงานของโจทก์จะสิ้นสุดลงในวันที่ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์นั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า แต่เมื่อไม่ได้กำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ให้ชัดเจนว่าจะเลิกจ้างโจทก์ในวันใด การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าจึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างและการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับการทำงาน: สิทธิเกษียณอายุเป็นไปตามข้อบังคับของนายจ้างใหม่เมื่อลูกจ้างยินยอม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 ใช้สำหรับกรณีมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างไม่ว่านายจ้างนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จึงมีผลให้นายจ้างใหม่ต้องรับสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างที่มีอยู่กับนายจ้างเดิมมาด้วยทุกประการ แต่หากเป็นการโอนสิทธิความเป็นนายจ้างให้แก่นายจ้างใหม่นั้นกรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 577 ซึ่งนายจ้างเดิมและนายจ้างใหม่จะทำได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย และเมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจในการโอนสิทธิดังกล่าวแล้วลูกจ้างนั้นจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างใหม่ด้วยเช่นกัน เมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดเกษียณอายุเมื่อครบ 65 ปีบริบูรณ์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนย้ายโจทก์ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และจำเลยที่ 2 โอนย้ายโจทก์ไปทำงานกับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดเกษียณอายุเมื่อครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งการโอนย้ายโจทก์จากการทำงานกับจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 แม้จะเป็นเหตุให้สิทธิในการเกษียณอายุของโจทก์ต้องลดลงก็ตาม แต่เมื่อการโอนย้ายดังกล่าวโจทก์ยินยอมพร้อมใจ โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างใหม่ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 กับนายจ้างใหม่ได้ การที่จำเลยที่ 3 เลิกจ้างโจทก์มิใช่การเลิกจ้างโดยกลั่นแกล้งแต่เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242-7254/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการควบรวมบริษัท ลูกจ้างย่อมโอนตามไปด้วย เหตุผลและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ต้องถูกออกจากงานหรือถูกลิดรอนสิทธิและผลประโยชน์ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการโอนกิจการหรือการควบรวมกิจการของนายจ้างตามกฎหมาย
ธนาคารจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการของธนาคารจำเลยที่ 1 กับนิติบุคคลอื่น ผลการควบรวมกิจการไม่ใช่เป็นการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 แต่ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพไป และเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1243 กับต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 และ ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคแรก ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในทันทีโดยอัตโนมัติ เว้นแต่ลูกจ้างผู้นั้นจะแสดงความประสงค์ชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวเนื่องจากสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 หมดสิ้นไป เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 2 ต้องแสดงเจตนาตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้าง เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ
ธนาคารจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการของธนาคารจำเลยที่ 1 กับนิติบุคคลอื่น ผลการควบรวมกิจการไม่ใช่เป็นการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 แต่ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพไป และเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1243 กับต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 และ ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคแรก ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในทันทีโดยอัตโนมัติ เว้นแต่ลูกจ้างผู้นั้นจะแสดงความประสงค์ชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวเนื่องจากสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 หมดสิ้นไป เป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 2 ต้องแสดงเจตนาตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้าง เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242-7254/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบรวมกิจการและการโอนสิทธิลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ลูกจ้างย่อมโอนไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่โดยอัตโนมัติ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 13 มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองลูกจ้างมิให้ต้องถูกออกจากงานหรือถูกลิดรอนสิทธิและผลประโยชน์ใดที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการโอนกิจการหรือการควบรวมกิจการของนายจ้างตามกฎหมาย การที่ธนาคารจำเลยที่ 1จดทะเบียนควบรวมกิจการกับธนาคาร ซ. แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารจำเลยที่ 2 ซึ่งการควบรวมกิจการดังกล่าวมิใช่การเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 เพียงแต่จำเลยที่ 1 ต้องสิ้นสภาพไปโดยผลของการควบรวมกิจการกับนิติบุคคลอื่นเท่านั้น และเป็นผลให้จำเลยที่ 2ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1243 และจำเลยที่ 2 ยังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 13 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 วรรคแรก ซึ่งผลของกฎหมายดังกล่าวลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2ในทันทีโดยอัตโนมัติแม้จะมิได้แสดงเจตจำนงออกมาอย่างชัดแจ้งว่า ประสงค์จะโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็ตาม เว้นแต่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 รายที่แสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในกรณีเช่นนี้จึงจะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวเนื่องจากสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ได้หมดสิ้นไปอันเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 118 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสิบสามได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 ว่า ไม่ประสงค์ที่จะโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าโจทก์ทั้งสิบสามได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 2 ต้องแสดงเจตจำนงตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ภายในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้างนั้น เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทกฎหมายข้างต้นซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852-919/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการและผลกระทบต่อสถานะลูกจ้าง: ยินยอมโอนย้าย = ไม่เป็นลูกจ้างเดิม
เดิมโจทก์ทั้งหมดเป็นลูกจ้างของจำเลย ต่อมาบริษัท พ. ผู้เช่าเข้ามาเช่าและดำเนินกิจการต่อจากจำเลย การที่จำเลยได้โอนกิจการของตนไปให้บริษัท พ. เช่าดำเนินการต่อ และบริษัท พ. ได้รับโจทก์ทั้งหมดไปทำงานให้แก่บริษัท พ. โดยโจทก์ทั้งหมดมิได้ใช้สิทธิปฏิเสธไม่ยินยอมโอนไปทำงานกับบริษัท พ. ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ให้สิทธิไว้ อีกทั้งเมื่อบริษัท พ. ค้างชำระค่าจ้าง โจทก์ทั้งหมดก็ฟ้องคดีเรียกค่าจ้างค้างชำระเอาแก่บริษัท พ. กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งหมดได้ยอมรับการเปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยไปเป็นบริษัท พ. และยินยอมโอนไปทำงานให้แก่บริษัท พ. แล้ว บริษัท พ. จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมด ตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" และ "ลูกจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515 โจทก์ทั้งหมดจึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิบำเหน็จ: สัญญาจ้างใหม่ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลย (สบพ.) พิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสองบัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ และเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใตบังคับของระเบียบดังกล่าวด้วยซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ด้วย โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างพ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างสถาบันการบินพลเรือน สิทธิในการได้รับบำเหน็จเป็นสัญญาจ้างใหม่ ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลยพิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสอง บัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม และโดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับ โจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ เมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้ กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงอ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและ ประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจาก สถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่า ที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้นหาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณ ด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิ โจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจและการนับอายุงานใหม่ สิทธิบำเหน็จตามกฎหมาย
พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือน จำเลยพิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.นี้ใช้บังคับไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสอง บัญญัติว่า การโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ.2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกันฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ และเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ด้วย
โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 มิได้
พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 มิได้
พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้รับประกันภัย ความตกลงระหว่างผู้รับประกันภัยมีผลเฉพาะคู่สัญญา
แม้บริษัทประกันภัยจำเลยที่ 4 จะมีข้อตกลงกับบริษัท ท.ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์อีกคันหนึ่งว่าหากมีเหตุเกิดขึ้นระหว่างรถยนต์ที่จำเลยที่ 4 และบริษัท ท.ผู้รับประกันภัยไว้จำเลยที่ 4 กับบริษัทท. ต่างจะรับผิดชอบซ่อมแซมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ที่ฝ่ายตนรับประกันภัยโดยไม่เรียกค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น หากกระทำถึงสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลละเมิดในส่วนของผู้เอาประกันไม่ดังนั้นการที่บริษัทท.ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยไป ก็หาทำให้จำเลยที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์พ้นความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการจ้างและอายุงานต่อเนื่องเมื่อมีการโอนลูกจ้างจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 กำหนดให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติจำเลยและในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ อาคาร และหนี้นั้น ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และจำเลยทำความตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้คณะรัฐมนตรีชี้ขาดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 577 วรรคแรกนายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย การโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง เมื่อโจทก์มาทำงานกับจำเลยก็เพราะผลของการโอนตามประกาศของคณะปฏิวัติมิใช่โจทก์มาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ ฐานะความเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมไม่สิ้นสุดลง และตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติระบุชัดว่า ให้โอนความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังจำเลยด้วย ดังนั้น เมื่อมิได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกัน