พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: การรับรู้ความผิดของผู้เสียหายเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยชักชวนโจทก์ร่วมให้ลงทุนทำธุรกิจกับจำเลย โดยอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ของโรงแรมเพื่อจัดแสดงสินค้าหัตถกรรมไทยให้ชาวต่างประเทศมาซื้อและนำไปทำกล่องปากกาย่านลิเภาส่งให้บริษัท ก. พร้อมกับนำหลักฐานการติดต่อโรงแรมและบริษัท ก. มาให้ดู โจทก์ร่วมจึงโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยรวม 13 ครั้ง จากนั้นโจทก์ร่วมก็ไม่เห็นว่าจำเลยจะดำเนินการใดๆ และคอยติดตามทวงถามจำเลยว่าดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจไปมากน้อยเพียงใด จำเลยบ่ายเบี่ยงว่ากำลังติดต่ออยู่และยังดำเนินการไม่เสร็จ โจทก์ร่วมจึงทวงเงินคืน แต่แทนที่จำเลยจะคืนเงินกลับสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ร่วมสองฉบับ ซึ่งนับแต่วันที่ 28 เมษายน 2543 อันเป็นวันที่โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยครั้งแรกถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมนั้นก็เป็นระยะเวลาหลายเดือน โจทก์ร่วมย่อมน่าจะรู้แต่นั้นแล้วว่าจำเลยหลอกลวงเอาเงินไปโดยมิได้ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจตามที่ชักชวนไว้ ครั้นโจทก์ร่วมนำเช็คทั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมทวงถาม แต่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่มาสนับสนุนให้โจทก์ร่วมรู้แน่ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าถูกจำเลยหลอกลวงแล้ว การที่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายนั้นไม่เป็นผลลบล้างการรับรู้ของโจทก์ร่วมที่ถูกจำเลยหลอกลวง แต่วันที่โจทก์ร่วมไปทวงถามเงินคืนจากจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด จึงต้องถือเอาวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมเป็นวันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์ร่วมแล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จึงเกินกว่า 3 เดือน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องยาเสพติดและทรัพย์สิน: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อฉ้อโกง: ศาลแก้ไขบทมาตราที่อ้างผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดของจำเลยฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก, 341 การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงและการใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นกรรมเดียว ศาลลดโทษจากคำพิพากษาเดิม
โจกท์ร่วมและบิดามารดากับ อ. พี่สาวโจทก์ร่วมได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร้านทองร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วนไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033 ดังนั้น โจทก์ร่วมซึ่งเป็นหุ้นส่วนในกิจการร้านทอง ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนคดีนี้ได้ โดยไม่จำต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมมีอำนาจดำเนินคดีแทนร้านทอง
จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าจะรับทองรูปพรรณจากร้านทองของโจทก์ร่วมไปจำหน่ายแก่ลูกค้าซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยขอใบบันทึกรายการขายของร้านทองของโจทก์ร่วมไปให้ลูกค้าชำระเงินค่าทองรูปพรรณให้แก่โจทก์ร่วมด้วยบัตรเครดิต โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายที่รูดกับเครื่องรูดบัตรของทางร้านซึ่งปรากฏชื่อร้านและหมายเลขสมาชิกของร้านทองแล้วให้จำเลยไป เมื่อจำเลยขายทองรูปพรรณให้แก่ลูกค้าได้แล้ว จำเลยจะได้จัดให้ลูกค้านำบัตรเครดิตของลูกค้ามารูดกับเครื่องรูดบัตรอีกเพื่อให้ปรากฏหมายเลขบัตรของลูกค้า วันหมดอายุบัตร และขออนุมัติวงเงินจากธนาคาร กรอกรายละเอียดวันที่ จำนวนเงินที่ลูกค้าชำระ และให้ลูกค้าลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายแล้วจำเลยจะได้ส่งใบบันทึกรายการขายนั้นให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจกท์ร่วมนำไปขอรับเงินจากธนาคารต่อไป แต่เมื่อหลอกลวงได้ทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายจากโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยกลับใช้บัตรเครดิตปลอมมารูดกับเครื่องรูดบัตรเพื่อลงใบบันทึกรายการขาย แล้วส่งใบบันทึกรายการขายปลอมดังกล่าวมาให้โจทก์ร่วมเพื่อขอรับเอาทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายไปจากโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยรับไปคิดเป็นเงิน 889,400 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง และจำเลยยังได้ร่วมกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายปลอมเป็นเอกสารประกอบการฉ้อโกงโดยส่งไปให้โจทก์ร่วม เพื่อให้โจทก์ร่วมนำส่งใบบันทึกรายการขายปลอมนั้นไปขอรับเงินจากธนาคาร ก. และธนาคาร ท. แต่ละวันแยกต่างหากจากกันตามที่ปรากฏในใบบันทึกรายการขาย การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดฐานใช้มบบันทึกรายการขายซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 24 กระทง ตามฟ้อง
การที่จำเลยกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายทั้ง 24 กรรมนั้น จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วม บันทึกรายการขายปลอมที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้โดยจัดส่งไปให้โจทก์ร่วมก็เพื่อเป็นอุบายหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยกับพวกนั่นเอง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่จำเลยกับพวกกระทำต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 24 กระทง
จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าจะรับทองรูปพรรณจากร้านทองของโจทก์ร่วมไปจำหน่ายแก่ลูกค้าซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยขอใบบันทึกรายการขายของร้านทองของโจทก์ร่วมไปให้ลูกค้าชำระเงินค่าทองรูปพรรณให้แก่โจทก์ร่วมด้วยบัตรเครดิต โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายที่รูดกับเครื่องรูดบัตรของทางร้านซึ่งปรากฏชื่อร้านและหมายเลขสมาชิกของร้านทองแล้วให้จำเลยไป เมื่อจำเลยขายทองรูปพรรณให้แก่ลูกค้าได้แล้ว จำเลยจะได้จัดให้ลูกค้านำบัตรเครดิตของลูกค้ามารูดกับเครื่องรูดบัตรอีกเพื่อให้ปรากฏหมายเลขบัตรของลูกค้า วันหมดอายุบัตร และขออนุมัติวงเงินจากธนาคาร กรอกรายละเอียดวันที่ จำนวนเงินที่ลูกค้าชำระ และให้ลูกค้าลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายแล้วจำเลยจะได้ส่งใบบันทึกรายการขายนั้นให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจกท์ร่วมนำไปขอรับเงินจากธนาคารต่อไป แต่เมื่อหลอกลวงได้ทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายจากโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยกลับใช้บัตรเครดิตปลอมมารูดกับเครื่องรูดบัตรเพื่อลงใบบันทึกรายการขาย แล้วส่งใบบันทึกรายการขายปลอมดังกล่าวมาให้โจทก์ร่วมเพื่อขอรับเอาทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายไปจากโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยรับไปคิดเป็นเงิน 889,400 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง และจำเลยยังได้ร่วมกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายปลอมเป็นเอกสารประกอบการฉ้อโกงโดยส่งไปให้โจทก์ร่วม เพื่อให้โจทก์ร่วมนำส่งใบบันทึกรายการขายปลอมนั้นไปขอรับเงินจากธนาคาร ก. และธนาคาร ท. แต่ละวันแยกต่างหากจากกันตามที่ปรากฏในใบบันทึกรายการขาย การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดฐานใช้มบบันทึกรายการขายซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 24 กระทง ตามฟ้อง
การที่จำเลยกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายทั้ง 24 กรรมนั้น จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วม บันทึกรายการขายปลอมที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้โดยจัดส่งไปให้โจทก์ร่วมก็เพื่อเป็นอุบายหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยกับพวกนั่นเอง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่จำเลยกับพวกกระทำต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 24 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดตามคำฟ้อง โจทก์มิได้ขอลงโทษตามกฎหมายเฉพาะ ศาลพิพากษาเกินคำขอไม่ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" อันเป็นการกำหนดกรอบอำนาจการพิพากษาหรือการมีคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลไว้ 2 ประการ คือ ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอประการหนึ่ง กับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องอีกประการหนึ่ง ซึ่งศาลอยู่ในบังคับที่จะพิพากษาหรือสั่งเกินประการหนึ่งประการใดมิได้และทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องระบุในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 ตรี แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งบัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด และความผิดดังกล่าวมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดอำนาจศาลในการลงโทษเกินคำขอในฟ้องอาญา แม้โจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 ตรี แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด และความผิดดังกล่าวมีโทษสูงกว่าโทษความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงเจตนาหลอกลวงตั้งแต่ต้น
ฟ้องของโจทก์ที่กล่าวว่า "เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 จำเลยหลอกลวง ส. ผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงอันควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหายว่า จำเลยประสงค์จะขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 119511 ให้ผู้เสียหายโดยมีเงื่อนไขว่า "จำเลยจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่ นำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด" ย่อมมีความหมายว่า จำเลยไม่มีเจตนาขายที่ดินให้แก่ผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 อันเป็นวันที่หลอกลวงผู้เสียหายแล้ว โดยก่อนหน้านั้นจำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินหาย แล้วออกโฉนดใหม่และนำไปจำนองแก่ผู้มีชื่อ ฟ้องโจทก์จึงบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบถ้วนองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง อันเป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงด้วยพิธีกรรมและคำทำนายโดยปราศจากความสามารถ, การพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างต้นเดือนธันวาคม 2541 ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 เวลากลางวัน วันเดือนปีใดไม่ปรากฏชัด จำเลยโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โดยจำเลยทำอุบายทำพิธีกรรมนำโอ่งทำน้ำมนต์มาตั้งพร้อมจัดทำธูปเทียน สายสิญจน์ และหนังสือคัมภีร์อัลกุรอ่านมาวางไว้ ทำพิธีสวดมนต์ภาษาอิสลามทำน้ำมนต์แล้วนำมาพรมบนศีรษะให้แก่ผู้เสียหายทั้งแปดและพูดหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดว่าจะต้องใช้เงินไปซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์และจะทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวย ความจริงจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดเกิดความร่ำรวยได้ ด้วยการหลอกลวงแสดงข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวต่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นประชาชน เป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินไปจากผู้เสียหายทั้งแปดตามจำนวนเงินที่ผู้เสียหายแต่ละรายได้เสียให้แก่จำเลยไปตามที่โจทก์ได้บรรยายไว้ในฟ้องแล้ว และจำเลยได้นำเงินที่ได้รับจากผู้เสียหายทั้งแปดไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว เห็นว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งแล้วถึงวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิด การกระทำที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดโดยทุจริตและโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งแปดซึ่งเป็นประชาชนผู้ถูกหลอกลวง ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละคน จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายคนใดเมื่อวันเดือนปีใดและหลอกลวงผู้เสียหายแต่ละคนกี่ครั้ง หรือได้เงินจากผู้เสียหายแต่ละรายครั้งละเท่าใด เงินที่ได้จากการหลอกลวงนำไปใช้เป็นค่าซื้อแพะกี่ตัว เป็นเงินเท่าใด เงินที่มิได้นำไปซื้อแพะมีเท่าใดหากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด จำเลยจะต้องคืนเงินที่รับจากผู้เสียหายแต่ละรายเท่าใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องแล้ว
จำเลยได้พูดบอกผู้เสียหายแต่ละคนว่าจำเลยสามารถทำพิธีสะเดาะเคราะห์รดน้ำมนต์ให้ผู้เสียหายทั้งแปดเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งมีปัญหาเรื่องเงินหรือหนี้สินสามารถปลดหนี้สินและขายที่ดินหรือตึกได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยปวดที่ขาและปวดเมื่อยที่เข่าจำเลยก็สามารถทำให้หายปวดหายเมื่อยได้ ทั้งที่ความจริงจำเลยไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 หลงเชื่อจึงได้มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำเงินไปซื้อแพะมาทำพิธีบวงสรวง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้เสียหาย เมื่อการหลอกลวงดังกล่าวได้กระทำต่อผู้เสียหายทั้งแปด นายสมศักดิ์รวมทั้งบุคคลอื่นตามแต่วาระและโอกาสโดยไม่จำกัดประเภทบุคคล และหลอกลวงตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่บ้านของนาง ม. บ้านของผู้เสียหายที่ 1 บ้านของผู้เสียหายที่ 6 การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงประชาชน
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่พูดหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดว่าจะต้องใช้เงินไปซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์และจะทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวย ซึ่งความจริงจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวยได้ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ความว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ว่าจะต้องใช้เงินซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยซึ่งจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยได้ ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลจึงมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้พูดบอกผู้เสียหายแต่ละคนว่าจำเลยสามารถทำพิธีสะเดาะเคราะห์รดน้ำมนต์ให้ผู้เสียหายทั้งแปดเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งมีปัญหาเรื่องเงินหรือหนี้สินสามารถปลดหนี้สินและขายที่ดินหรือตึกได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยปวดที่ขาและปวดเมื่อยที่เข่าจำเลยก็สามารถทำให้หายปวดหายเมื่อยได้ ทั้งที่ความจริงจำเลยไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 หลงเชื่อจึงได้มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำเงินไปซื้อแพะมาทำพิธีบวงสรวง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้เสียหาย เมื่อการหลอกลวงดังกล่าวได้กระทำต่อผู้เสียหายทั้งแปด นายสมศักดิ์รวมทั้งบุคคลอื่นตามแต่วาระและโอกาสโดยไม่จำกัดประเภทบุคคล และหลอกลวงตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่บ้านของนาง ม. บ้านของผู้เสียหายที่ 1 บ้านของผู้เสียหายที่ 6 การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงประชาชน
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่พูดหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดว่าจะต้องใช้เงินไปซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์และจะทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวย ซึ่งความจริงจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวยได้ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ความว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ว่าจะต้องใช้เงินซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยซึ่งจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยได้ ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลจึงมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินจากการฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางาน สิทธิระงับเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และให้จำเลยคืนเงิน 220,000 บาท แก่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี แล้ว ยังเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 อีกบทหนึ่งด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายได้ ซึ่งศาลล่างทั้งสองก็พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ขอมาได้ แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวด้วยก็ตาม
ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก โดยคงขอให้บังคับได้เฉพาะส่วนของผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น
ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก โดยคงขอให้บังคับได้เฉพาะส่วนของผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินจากการฉ้อโกง: ผลกระทบของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อคำขอทางแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายความผิดฐานฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามได้ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 341 ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามตามที่โจทก์ขอมาได้
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225