พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบทำให้ผู้เสียหายไม่มีสิทธิฟ้องร้องฐานฉ้อโกง
จำเลยทั้งสองกับพวกและผู้เสียหายได้ทำพิธีปลุกเสกเหรียญรัชกาลที่ 5 เพื่อให้ได้เลขท้าย 2 ตัว ของรางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เมื่อได้เลข 96 มาแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกและผู้เสียหายตกลงกันว่าจะไปซื้อหวยใต้ดิน ผู้เสียหายได้มอบเงินจำนวน 50,000 บาท ให้จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อหวยใต้ดิน หลังจากมอบเงินให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 กับพวกก็หลบหนีไป พฤติการณ์ของผู้เสียหายดังกล่าวข้างต้นเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมีโทษทางอาญา ผู้เสียหายคดีนี้จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกระทงความผิดฐานฉ้อโกง: พิจารณาเจตนาและลักษณะการกระทำเป็นสำคัญ
การกระทำความผิดฐานหลอกลวงหรือฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสิบและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนซึ่งอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้ แต่ที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมสำหรับความผิดฐานนี้ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากจำนวนของผู้เสียหายหรือประชาชนที่ถูกหลอกลวงแต่ละคนเพียงอย่างเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายทั้งสิบเป็นคนละวันเวลาและในสถานที่ต่างกัน จะถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด 10 กระทง หาได้ไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 กลุ่มหนึ่ง จากนั้นได้แบ่งแยกหน้าที่กันทำในลักษณะเดียวกันโดยจำเลยที่ 1 หลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 2 ที่ 5 และนาง ม. กลุ่มหนึ่ง และจำเลยที่ 2 หลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 3 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 นาย ล. นางสาว ช. และนาย ช. อีกกลุ่มหนึ่ง เห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการหลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนต่างกลุ่มต่างเวลาและสถานที่กันโดยเจตนาให้เกิดผลต่อผู้เสียหายและประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรม รวม 3 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง: การชักชวนฝากเข้ารับราชการตำรวจโดยเรียกเงินค่าวิ่งเต้น และการร่วมกันวางแผนหลอกลวง
จำเลยอ้างว่ารู้จักกับ บ. ซึ่งสามารถติดต่อฝาก ส. บุตรโจทก์ร่วมเข้ารับราชการตำรวจได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 100,000 บาท โจทก์ร่วมหลงเชื่อและมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้ บ. แล้ว บ. พา ส. ไปพบพันตำรวจโท พ. และมอบเงินที่รับจากโจทก์ร่วมให้พันตำรวจโท พ. โดยไม่ปรากฏว่าพันตำรวจโท พ. มีหน้าที่ในการคัดเลือกหรือบรรจุแต่งตั้งให้บุคคลเข้ารับราชการตำรวจแต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่พันตำรวจโท พ. จึงมิใช่เป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ถือมิได้ว่าโจทก์ร่วมใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6645-6646/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: พิจารณาจากเจตนาหลอกลวง ไม่จำกัดจำนวนผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องก็ยังดำเนินคดีได้
การแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อย แต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญโดยจะพิจารณาจากวิธีการในการหลอกลวง จำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงมาประกอบด้วยเท่านั้น คดีนี้แม้ผู้เสียหายตามฟ้องจะมีเพียง 11 คน แต่ตามบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งมีผู้เสียหายที่ตกลงกับจำเลยทั้งสองถึง 35 คน แสดงว่าจำเลยทั้งสองมิได้ติดต่อชักชวนเฉพาะผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดในคดีนี้เท่านั้น ทั้งพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองไปพบผู้เสียหายแต่ละคนที่บ้านแล้วแจ้งเงื่อนไขการไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียซึ่งจะได้รับเงินเดือนตั้งแต่ 8,000 บาท ถึง 11,000 บาท โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมคนละ 17,000 บาท แต่ต้องจ่ายเงิน 5,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อน เหมือนกันทุกคน ลักษณะการชักชวนเป็นการชักชวนทั่วไป มิได้มุ่งเจาะจงชักชวนคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษโดยเฉพาะหากผู้ใดปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ก็สามารถสมัครไปทำงานได้ ขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าจะจ่ายเงินให้ตามเงื่อนไขที่แจ้งไปหรือไม่เป็นสำคัญ การหลอกลวงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ แม้จะมิได้มีการป่าวประกาศหรือแจ้งให้ผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนไปชักชวนต่อ แต่ลักษณะการชักชวนอย่างเดียวกันโดยผู้ถูกชักชวนย่อมบอกต่อกันไปได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 แล้ว
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ก็ยังไม่ระงับไป
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ก็ยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักชวนลงทุนและสัญญาโอนหุ้นที่ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยชักชวนโจทก์เข้าร่วมลงทุนในบริษัทของจำเลย โดยให้โจทก์ซื้อหุ้นในบริษัทของจำเลย 3,000 หุ้น เป็นเงิน 300,000 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยรับไปแล้วโดยจำเลยสัญญาว่า เมื่อชำระแล้วจะโอนหุ้นในบริษัทของจำเลยให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยมาขอเงินจากโจทก์อีก 58,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในบริษัทและจะชำระเงินคืนเป็นหุ้นให้ โจทก์จึงจ่ายเงินให้จำเลยไป ซึ่งรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 358,000 บาท การที่จำเลยชักชวนโจทก์ให้ซื้อหุ้นในบริษัทของจำเลย เป็นเพียงคำรับรองที่จำเลยจะปฏิบัติในอนาคตขณะให้คำรับรองดังกล่าวยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะปฏิบัติตามคำรับรอง จึงไม่ใช่ความเท็จ นอกจากนั้นตามบัญชีผู้ถือหุ้น ก็ปรากฏว่าจำเลยมีหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวจำนวนถึง 9,940 หุ้น แสดงว่ามีหุ้นอยู่จริง มิได้หลอกลวงโจทก์ การที่จำเลยไม่โอนหุ้นให้แก่โจทก์จึงเป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12582/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรเครดิตปลอม ฉ้อโกง และการริบของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขโทษและข้อกำหนดการริบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมบัตรเครดิตวีซ่าและนำบัตรเครดิตที่ปลอมนั้นไปใช้หลอกลวงร้านค้า ห. ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้มีชื่อถือบัตรเครดิตดังกล่าว และได้ไปซึ่งกระเป๋าของกลาง 2 ใบ โดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่และมิได้ขอให้ศาลสั่งริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาในฟ้อง ศาลย่อมริบไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ส่วนกระเป๋าของกลาง เจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจึงริบไม่ได้เช่นกันตาม ป.อ. มาตรา 33 วรรคท้าย
แม้พนักงานอัยการโจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกรายการขายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายที่ธนาคาร ท. ได้รับนั้น เป็นเพียงความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญาจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 269/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 265 และ 268 มาบังคับแก่จำเลย
แม้พนักงานอัยการโจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินแก่ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกรายการขายที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตปลอมของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายที่ธนาคาร ท. ได้รับนั้น เป็นเพียงความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญาจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะไม่มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 269/7 แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 265 และ 268 มาบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12582/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงและการใช้เอกสารปลอม ธนาคารผู้เสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ผู้เสียหายทางอาญา
ธนาคาร ท. ผู้จ่ายเงินตามใบบันทึกการขายซึ่งเกิดจากบัตรเครดิตของธนาคาร ซ. ที่จำเลยปลอมขึ้นและนำไปใช้ซื้อสินค้าให้แก่ร้าน ห. เป็นเพียงได้รับความเสียหายทางแพ่ง ไม่ใช่ถูกจำเลยกระทำทางอาญา จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งจำเลยคืนเงินที่ธนาคาร ท. จ่ายให้แก่ร้าน ห. ให้แก่ธนาคาร ท. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้มีการเรียกเงินจากผู้หางาน ศาลยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหารงานก่อน จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่เคยได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศและไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัดหางานแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากจะไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" แล้ว ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงด้วยการแสดงหลักฐานเท็จเพื่อไถ่ทรัพย์ ศาลตัดสินผิดฐานฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์
การที่ผู้เสียหายนำสร้อยคอไปจำนำ เจ้าของร้านทองผู้รับจำนำได้ออกหลักฐานให้ผู้เสียหายว่า เป็นการ "ขายฝาก" โดยมีกำหนดไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายใน 1 เดือน กรรมสิทธิ์และการครอบครองสร้อยคอที่รับจำนำไว้จึงตกอยู่แก่เจ้าของร้านทองผู้รับจำนำจนกว่าผู้เสียหายจะไถ่คืน ดังนั้น การที่จำเลยนำหลักฐานที่เจ้าของร้านทองออกให้แก่ผู้เสียหายไปขอไถ่สร้อยคอของผู้เสียหายจากผู้รับจำนำโดยไม่แสดงออกให้แจ้งชัดว่าตั๋วไถ่ไม่ใช่ของตน เป็นเหตุให้ผู้รับจำนำหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่แท้จริง จึงได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์และการครอบครองสร้อยคอของผู้เสียหายให้จำเลยไป เป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกง ก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สืบสันดานผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องแทนหากผู้เสียหายไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตาย
ว. บิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา 5 (2) โจทก์ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานจึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ว. ฟ้องจำเลยได้ เมื่อ ว. เพียงแต่ร้องทุกข์โดยยังไม่ได้ฟ้องคดี ย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่าง ว. ผู้ตายต่อไปได้ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว