พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและบ้าน แม้ไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือขออนุญาตจัดสรร ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกง หากมีเจตนาดำเนินการจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกับ จ. และ ว. เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจัดสรรที่ดินพร้อมสร้างอาคารพาณิชย์และทาวน์เฮาส์ขายให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า โครงการหมู่บ้านศรีเมืองทองฯ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญจะบ่งชี้ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 และประชาชน การที่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 เข้าจองซื้อที่ดินและบ้านของโครงการดังกล่าว ก็ได้รับการชักชวนจาก จ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยทั้งสองและเป็นการชักชวนกันของโจทก์ร่วมทั้งแปด หาใช่เป็นเพราะเชื่อถือว่าโครงการดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้งจำเลยทั้งสองก็ได้ดำเนินการก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ไปแล้วบางส่วน และยังดำเนินการแบ่งแยกที่ดินจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมของโครงการ และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อบางส่วนแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 ได้ครบตามสัญญาทุกรายก็เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.การเล่นแชร์ และความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ จำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทั้ง 5 วง มี 35 คน ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เพราะองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง หรือมีจำนวนสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน ส่วนบัญชีรายชื่อผู้เสียหายจำนวน 28 คน นั้น เป็นรายชื่อของสมาชิกวงแชร์ที่ถูกจำเลยฉ้อโกงในการเล่นแชร์ทั้ง 5 วง มิใช่จำนวนสมาชิกวงแชร์ทั้ง 5 วง รวมกัน ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง 5 วง นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) (2) แล้ว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้ง 28 คน ด้วยการหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิกผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลางโดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิดด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง 5 วง นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) (2) แล้ว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้ง 28 คน ด้วยการหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิกผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลางโดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิดด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากรายละเอียดชัดเจนขึ้นและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัทอีเกีย เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ตำแหน่งพนักงานฝ่ายจัดซื้อได้หลอกลวงโจทก์หลายครั้งว่า ถ้าโจทก์ต้องการขายสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าว โจทก์ต้องชำระค่าตอบแทน แก่ผู้บริหารของบริษัทนี้ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่โจทก์ขายได้ในแต่ละงวด มิฉะนั้นบริษัทดังกล่าวจะไม่ตกลงซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นข้อความเท็จทำให้โจทก์หลงเชื่อ โจทก์จึงได้จ่ายเงินโดยนำเงินเข้าบัญชีของธนาคารตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์หลายครั้ง แม้คำฟ้องไม่มีข้อความว่า โดยทุจริต แต่จากคำบรรยายฟ้องมีความหมายบ่งบอกอยู่ในตัวว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคำฟ้อง ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวโดยเติมคำว่า โดยทุจริต ลงไป เป็นเพียงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งโจทก์ได้แสดงเหตุอันควรในคำร้องแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ยังมีข้อบกพร่อง และเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ย่อมไม่ทำให้จำเลย เสียเปรียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงเป็นคำสั่งโดยชอบ หาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวโดยเติมคำว่า โดยทุจริต ลงไป เป็นเพียงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งโจทก์ได้แสดงเหตุอันควรในคำร้องแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ยังมีข้อบกพร่อง และเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ย่อมไม่ทำให้จำเลย เสียเปรียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงเป็นคำสั่งโดยชอบ หาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง-ใช้เอกสารปลอม: จำเลยรู้เห็นการใช้โฉนดที่ดินปลอมเพื่อกู้เงิน ทำให้โจทก์เสียหาย
โจทก์ร่วมตกลงจะให้จำเลยกู้เงินตามที่ ภ. แนะนำมา แต่จำเลยไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน โจทก์ร่วมจึงให้ชายที่อ้างเป็น ถ. ทำสัญญากู้เงินแทนและยึดโฉนดที่ดินของ ถ. ไว้เป็นประกัน หากจำเลยไม่มีหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันการชำระหนี้แล้วโจทก์ร่วมคงจะไม่ให้จำเลยกู้เงินแน่ การที่จำเลยร่วมกับชายที่อ้างเป็น ถ. นำโฉนดที่ดินของปลอมมาหลอกลวงโจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยและชายคนดังกล่าวไป หลังจากนั้นโจทก์ร่วมติดต่อให้จำเลยชำระดอกเบี้ยและโจทก์ร่วมให้จำเลยไปพบที่ทำงานกับแจ้งให้ทราบว่า ถ. นำโฉนดที่ดินปลอมมาวางเป็นหลักประกัน ประมาณต้นเดือนเมษายน 2540 จำเลยทำสัญญากู้เงินจำนวน 500,000 บาท ไว้ให้แก่โจทก์ร่วม ตามสัญญากู้เงินกับสั่งจ่ายเช็คธนาคาร ส. จำกัด (มหาชน) จำนวน 500,000 บาท ประมาณปลายเดือนเมษายน 2540 จำเลยนำเช็คธนาคาร ก. จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม จำนวนเงิน 50,000 บาท มาชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและใบคืนเช็ค แม้โจทก์ร่วมจะเบิกความตอบทนายจำเลยขออนุญาตศาลถามว่า โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่ชายที่อ้างเป็น ถ. ไปแต่จำเลยเป็นผู้นับเงินซึ่งเจือสมกับที่จำเลยนำสืบว่าที่อ้างเป็น ถ. เป็นผู้ตรวจนับเงิน จำเลยตรวจนับ 1 ปึก จำนวน 100,000 บาท จึงมิได้เป็นพิรุธว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความไม่อยู่แก่ร่องแก่รอยแต่อย่างใด การที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกู้เงินและเข้าร่วมลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินเป็นการผิดวิสัยของการเป็นนายหน้าหาเงินกู้ นอกจากนี้จำเลยยังทำสัญญากู้เงินและสั่งจ่ายเช็คตามจำนวนกู้เงินไปให้แก่โจทก์ร่วมรวมทั้งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยไว้อีก แสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับพวกแบ่งหน้าที่กันทำโดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปวางเป็นหลักประกันเงินกู้ อันเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากโจทก์ร่วม พยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่า จำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมและฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงเพื่อเงิน ไม่ใช่จัดหางาน: ศาลยกฟ้องฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีการรับสารภาพ
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกฐานความผิดทั้งสองไว้คนละข้อ แต่ถ้าอ่านคำฟ้องโจทก์ตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าจำเลยกระทำผิดในคราวเดียวกันโดยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดไปทำงานที่ประเทศออสเตรเลียได้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่า ข. ยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความเท็จว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดไปทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถหางานและส่งผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดไปทำงานที่ประเทศออสเตรเลียได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ด คงมีเจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้เงินจากผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานสำคัญกว่า หากไม่มี ถือเป็นการหลอกลวง ไม่ใช่ความผิดฐานจัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ การที่คำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยบอกกล่าวและให้ถ้อยคำรับรองแก่ผู้เสียหายทั้งสองว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งคนหางานจะต้องเสียค่าบริการให้แก่จำเลยกับพวกอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่เคยได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางให้ดำเนินการดังกล่าวได้ อีกทั้งไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศตามที่กล่าวอ้างได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งสอง คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินเกินอัตราดอกเบี้ย: พฤติการณ์หลอกลวง-สร้างความเชื่อถือเพื่อขอกู้เงินจำนวนมาก
จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปลงทุนหรือให้บุคคลอื่นกู้ยืมในลักษณะที่จะให้ผลประโยชน์มากเพียงพอที่จะนำมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายได้ หากแต่การจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายในครั้งแรก ๆ เป็นเพียงอุบายทุจริตตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายให้หลงเชื่อและส่งมอบเงินให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และการที่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายโดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน และร้อยละ 20 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ จึงเป็นความผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ (ใบถอนเงินและสมุดคู่ฝาก) เป็นความผิดต่างกรรมกันได้ หากกระทำต่อผู้เสียหายต่างราย
จำเลยได้ปลอมใบถอนเงินเพื่อถอนเงินจากธนาคาร ก. ของผู้เสียหาย และใช้ใบถอนเงินดังกล่าวถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ จ. และ ส. ลูกค้าของธนาคาร ก. อันเป็นความผิดสำเร็จไปแล้ว ต่อมาจำเลยจึงได้กระทำการปลอมสมุดคู่ฝากที่ธนาคาร ก. ออกให้แก่ จ. และ ส. อันเป็นการกระทำเพื่อปกปิดความผิดฐานปลอมและใช้ใบถอนเงินปลอมของจำเลย ความผิดฐานปลอมและใช้สมุดคู่ฝากปลอมจึงเป็นการกระทำต่อ จ. และ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้เสียหายคนละรายกับความผิดฐานปลอมและใช้ใบถอนเงินปลอม ดังนั้น ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้ใบถอนเงินปลอมกับความผิดฐานปลอมและใช้สมุดคู่ฝากปลอมจึงเป็นความผิดต่างกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมายและการพิสูจน์ความเกี่ยวข้องของจำเลย ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานการกระทำร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82,91 ตรี ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 ยกฟ้องข้อหาอื่น จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทั้งหมด โดยโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและความผิดดังกล่าวมีองค์ประกอบแตกต่างกับความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ไม่เกี่ยวข้องกัน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี มิได้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 อันจะทำให้ศาลลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหก ทั้งกรณีไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรีได้ เป็นการเกินคำขอไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ดังนั้น เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายทั้งสองได้ขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็ไม่จำต้องสั่งอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรม: รับของโจรกับฉ้อโกงโดยใช้เอกสารปลอมเป็นคนละกรรมกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแยกเป็น 3 ข้อ คือ ก,ขและค การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมาแต่ละข้อเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง สำหรับความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามฟ้องข้อ กและข นั้น จำเลยทั้งสองรับสารภาพฐานรับของโจรความผิดฐานรับของโจรสำเร็จเมื่อจำเลยทั้งสองรับเอาบัตรเครดิตของธนาคาร ย. ซึ่งออกให้แก่ ด. ไว้ โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าบัตรเครดิตดังกล่าวได้มาจากการลักทรัพย์ โจทก์ฟ้องในข้อ ค.ว่าหลังจากกระทำความผิดตามฟ้องข้อกและขแล้วจำเลยทั้งสองได้นำบัตรเครดิตของธนาคาร ย. ซึ่งออกให้แก่ ด. ไปซื้อสินค้าที่ร้าน ซ. โดยร่วมกันหลอกลวงพนักงานขายว่าจำเลยที่ 1 ชื่อ ด. จำเลยทั้งสองได้ชำระราคาสินค้าด้วยบัตรเครดิตดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อของ ด. ลงในเอกสารสิทธิบันทึกการขายในช่องลายมือชื่อผู้ถือบัตรแล้วจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบันทึกการขายดังกล่าวแก่พนักงานขายของร้าน ซ. การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องข้อ ค. เป็นคนละวาระกันกับการกระทำความผิดฐานรับของโจรทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานรับของโจรเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดในฟ้องข้อ ค เป็นสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อจากร้าน ซ. คือ โทรทัศน์สีและเครื่องเล่นวีดีโอเทปฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรม หาใช่กรรมเดียวไม่