พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงต้องมีเจตนาทุจริตและผู้เสียหายต้องไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิดเอง การฟ้องต้องมีอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 นั้น ผู้กระทำต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด โดยร่วมคบคิดกันหรือแสดงออกซึ่งความตกลงจะทำความผิดร่วมกัน เช่น ประชุมหรือหารือวางแผนที่จะกระทำความผิด และตามมาตรา 212บัญญัติให้เอาความผิดแก่ผู้จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่ซ่องโจร ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงองค์ประกอบของความผิดฐานเป็นซ่องโจรให้เห็นเด่นชัดว่าจะต้องมีการคบคิดประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกระทำความผิด ซึ่งมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่า มีการคบคิดกันจะกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง vs ลักทรัพย์: การกระทำทุจริตหลอกลวงให้เชื่อว่าจะซื้อของ แต่ไม่มีเจตนาจ่ายเงิน ถือเป็นฉ้อโกง
จำเลยทั้งสามกับ ย. ทำทีขอซื้อผ้าจากโจทก์ร่วม โดยหลอกให้โจทก์ร่วมขนผ้าขึ้นรถแล้วบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือให้ตามไปเก็บจาก ย. เมื่อบุตรสาวของโจทก์ร่วมร้องไห้ภริยาของโจทก์ร่วมเข้าไปดูแลบุตรสาวภายในร้าน จำเลยทั้งสามกับ ย. ก็พากันนำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านทันที จำเลยทั้งสามกับย. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจะซื้อผ้ามาแต่ต้นด้วยการวางแผนการเป็นขั้นตอนและไม่มีเจตนาจะใช้ราคาผ้าเลย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 มิใช่ลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษฐานฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามมาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226-5227/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี ไม่จำเป็นต้องอาศัยความผิดฐานอื่น และศาลมีอำนาจสั่งคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำผิดและโทษไว้เป็นการเฉพาะ มิได้อาศัยฐานความผิดฐานใดฐานหนึ่งในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แต่อย่างใด แม้จำเลยมิได้กระทำผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง , 82 ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี ได้
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้สั่งในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายได้
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้สั่งในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 และข้อหาจัดหางานให้คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และยกฟ้องความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดทั้งสองฐานจึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดสองฐานนี้อีกไม่ได้ และเมื่อฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4349/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์นายจ้างโดยใช้เอกสารเท็จ: การกระทำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ฉ้อโกง
การที่ธนาคารโจทก์ร่วมยอมให้มีการโอนเงินไปตามเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยกระทำ มิได้ขึ้นอยู่กับข้อความในเอกสารเป็นความจริงหรือความเท็จ แต่เป็นเพราะเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้กระทำได้มีรายการครบถ้วนและมีลายมือชื่อกับรหัสประจำตัวของจำเลย การอนุมัติให้มีการโอนเงินออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการที่จำเลยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความในเอกสารอันเป็นเท็จ การที่จำเลยทำเอกสารใบถอนเงิน โดยมีข้อความอันเป็นเท็จแล้วเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อให้มีการอนุมัติโอนเงินตามเอกสารนั้น จึงเป็นเพียงวิธีการที่จะทำให้จำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมโดยทุจริต มิใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ฉ้อโกง, และการกำหนดโทษสำหรับความผิดหลายกระทง
จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าร้านค้า โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบกิจการอยู่ในร้านค้านั้น ต่อมาจำเลยที่ 3 เป็นผู้นำใบบันทึกการขายปลอมรวม 4 ฉบับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใบบันทึกการขายปลอมจำนวน 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมได้โอนเงินให้แล้ว ส่อแสดงให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องกันในกิจการร้านค้าที่จำเลยที่ 1 ทำการค้าขายอยู่นั้นด้วย ในการนำใบบันทึกการขายและใบสรุปยอดการขายบัตรเครดิตไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คงมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 หมุนเวียนกันไปโดยไม่มีบุคคลอื่น นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาในคดีร่วมกันปลอมและใช้บัตรเครดิตและใบบันทึกการขายอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกง โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหาดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการปลอมและใช้บันทึกการขายปลอม และมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมใบบันทึกการขายรวม 25 ฉบับ ของผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมต่างรายกัน โดยสภาพของการกระทำจำเลยทั้งสามต้องทำใบบันทึกการขายดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยทั้งสามปลอมใบบันทึกการขายฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้วกระทงหนึ่ง การปลอมใบบันทึกการขายของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหลายกรรมเป็น 25 กระทง
ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอกสารสิทธิปลอมไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามเนื้อความของเอกสารสิทธิปลอมแต่ละฉบับนั้น การนำเอกสารสิทธิหลายฉบับไปใช้ก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนเอกสารสิทธิที่นำไปใช้ได้ แม้จะนำเอกสารสิทธิปลอมหลายฉบับนั้นไปใช้ในคราวเดียวกันก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำในใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 เมษายน 2537 และระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2537 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2537 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนานำใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ร่วม ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามเนื้อความของใบบันทึกการขายปลอมแต่ละฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมรวม 25 กระทง
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมใบบันทึกการขายรวม 25 ฉบับ ของผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมต่างรายกัน โดยสภาพของการกระทำจำเลยทั้งสามต้องทำใบบันทึกการขายดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยทั้งสามปลอมใบบันทึกการขายฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้วกระทงหนึ่ง การปลอมใบบันทึกการขายของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหลายกรรมเป็น 25 กระทง
ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอกสารสิทธิปลอมไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามเนื้อความของเอกสารสิทธิปลอมแต่ละฉบับนั้น การนำเอกสารสิทธิหลายฉบับไปใช้ก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนเอกสารสิทธิที่นำไปใช้ได้ แม้จะนำเอกสารสิทธิปลอมหลายฉบับนั้นไปใช้ในคราวเดียวกันก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำในใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 เมษายน 2537 และระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2537 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2537 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนานำใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ร่วม ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามเนื้อความของใบบันทึกการขายปลอมแต่ละฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมรวม 25 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน: การแยกพิจารณาความผิดอันยอมความได้และไม่ยอมความได้
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 นั้น ไม่ทำให้การกระทำความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วยเพราะความผิดตามมาตรา 91 ตรี มิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการที่ไปหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศซึ่งเป็นเท็จจนเป็นเหตุให้ได้เงินและทรัพย์สินจากคนหางาน จึงเป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ เป็นคนละกรรมกัน แม้ศาลยกฟ้องฉ้อโกง ก็ไม่ทำให้ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ หลุดไปด้วย
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งยังได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศอันเป็นเท็จ จนเป็นเหตุให้ได้เงินหรือทรัพย์สินจากคนหางานนั้น เป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตตั้งแต่แรกเป็นสำคัญ: ลักทรัพย์ vs ฉ้อโกง และการพิจารณาลดโทษจากค่าชดใช้
จำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกมีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่เบื้องต้น ส่วนการหลอกลวงว่าจะรับซื้อที่ดินจำนวนมากก็ดี หรือการหลอกลวงว่าจะพาไปซื้อรถยนต์ราคาถูกก็ดี ล้วนเป็นการสร้างกลอุบายเพื่อให้บรรลุผลเอาเงินสดของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงโดยการนำใบบันทึกรายการขายปลอมไปขอรับเงินจากธนาคาร
ร้านค้าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเครดิตของธนาคาร ผู้เสียหายรับมอบเครื่องรูดบัตรไปใช้ที่ร้านจำเลยที่ 1 ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อมีลูกค้าถือบัตรเครดิตมาซื้อสินค้า จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรและของตัวลูกค้าผู้ถือบัตรนั้น ถ้าผู้ถือบัตรเป็นชาวต่างชาติก็ต้องตรวจสอบหนังสือเดินทางด้วย เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จึงนำบัตรเครดิตเข้าเครื่องรูดบัตร ทำใบบันทึกรายการขายออกมาให้ลูกค้าลงลายมือชื่อรับรองซึ่งต้องเหมือนกับลายมือชื่อตัวอย่างที่ปรากฏบนบัตรเครดิตด้วยและลูกค้านั้นต้องเป็นเจ้าของบัตรที่นำมาใช้เองจะมอบให้คนอื่นนำมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกรายการขาย 26 ใบ ทะยอยส่งไปขอรับเงินจากผู้เสียหายย่อมเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 2 ได้พบลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาใช้และตรวจสอบความถูกต้องในเบื้องต้นแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างถึงความไม่รู้ว่าเป็นบัตรเครดิตปลอมและโยนความรับผิดไปให้ผู้เสียหายไม่ได้เพราะเป็นคนละขั้นตอนกันทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสพบปะลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเหมือนจำเลยที่ 2 การที่ลูกค้านำบัตรเครดิตปลอมมาใช้นั้นหากมีปะปนหลงเข้ามานาน ๆ ครั้ง ก็คงไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการทุจริต แต่การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกการขายไปขอรับเงินโดยปะปนไปกับบันทึกรายการขายอื่น ๆ จำนวนมากถึง 26 ฉบับภายในเวลาเพียง 20 กว่าวัน และทำให้ได้รับเงินไปเป็นจำนวนมากนั้นนับว่าเป็นพิรุธ และบัตรเครดิตแต่ละใบผู้ถือบัตรล้วนเป็นชาวต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่เคยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 จะได้เคยพบกับผู้ถือบัตรและมีการตรวจสอบบัตรยอมให้ซื้อสินค้าไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ประกอบกับใบบันทึกรายการขายทั้ง 26 ฉบับ มีลักษณะผิดปกติเป็นพิรุธ โดยตัวอักษรในใบบันทึกการขายทับกัน และมีรอยต่อเป็นรอยเส้นแบ่งครึ่งระหว่างข้อความส่วนบนที่เป็นชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรกับข้อความส่วนล่างที่เป็นชื่อร้านค้าคล้ายกับมีการรูดบัตร 2 ครั้ง ยิ่งทำให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าใบบันทึกการขายทั้ง 26 ฉบับ เป็นเอกสารสิทธิปลอม แต่ก็ยังนำไปใช้แสดงขอรับเงินจากผู้เสียหายโดยทุจริต จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงทั้งสองฐาน