พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะช่วยไถ่รถยนต์ที่ถูกลัก แต่ไม่เป็นความจริง การกระทำเข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
การกระทำของจำเลยที่กล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจำนวน 3,500 บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน50,000 บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง แม้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและให้จำเลยนำไปบ้านของผู้มีชื่อที่อ้างว่าเป็นที่ซ่อนรถยนต์กระบะก็ไม่พบ ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปอันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจรแต่พยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและได้รับไปแล้ว จำนวน3,500 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6456/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงต้องมีเจตนาหลอกลวงโดยแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดความจริง จำเลยไม่มีหน้าที่แจ้งประวัติรถ
++ เรื่อง ฉ้อโกง (ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) ++
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำต้องมีเจตนามาตั้งแต่ต้น ตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 มีวัตุประสงค์ในการรับจ้างซ่อมแซมรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่เพียงจัดการซ่อมแซมรถยนต์ที่โจทก์นำไปซ่อมกับจำเลยที่ 3ให้ใช้การได้ดีและปลอดภัยเท่านั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่ารถยนต์คันที่โจทก์นำไปซ่อมเจ้าของเดิมไม่ยอมซ่อมเพราะราคาสูง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 คือการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการกระทำดังกล่าวผู้กระทำต้องมีเจตนามาตั้งแต่ต้น ตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 มีวัตุประสงค์ในการรับจ้างซ่อมแซมรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่เพียงจัดการซ่อมแซมรถยนต์ที่โจทก์นำไปซ่อมกับจำเลยที่ 3ให้ใช้การได้ดีและปลอดภัยเท่านั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่ารถยนต์คันที่โจทก์นำไปซ่อมเจ้าของเดิมไม่ยอมซ่อมเพราะราคาสูง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาหลอกลวงเอาทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลย มิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4,30 และมาตรา 82 แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดาและจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง,30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่อ้างการจัดหางานหลอกลวงผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน แต่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30 และมาตรา 82แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงซื้อขายที่ดิน: แม้มีสัญญาซื้อคืนแต่ไม่ลบล้างการหลอกลวง โจทก์ไม่ต้องรอความเสียหายจากการซื้อคืน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ร่วมซื้อที่ดินที่ติดลำคลองมิใช่ติดถนนสาธารณะในราคาที่สูงมาก ทั้งที่ราคาควรจะต่ำกว่าที่โจทก์ร่วมได้ชำระไป เพราะเป็นที่ดินไม่มีทางออก การสัญจรต้องข้ามคลองเท่านั้น เมื่อโจทก์ร่วมชำระค่าที่ดินไปเพราะถูกหลอกลวง ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันชำระราคาที่ดิน จึงร้องทุกข์ได้แต่บัดนั้นเป็นต้นไป ไม่ต้องรอให้ครบ 1 ปี เพื่อดูว่ามีการซื้อขายที่ดินคืน และโจทก์ร่วมขาดทุนจากการขายที่ดินคืนเสียก่อน ข้อที่จำเลยที่ 2 โอนบ้าน 1 หลังให้โจทก์ร่วมก็เป็นเพียงการบรรเทาผลร้ายบางส่วนจากการกระทำผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง มิใช่การประนีประนอมยอมความที่มีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาของโจทก์และโจทก์ร่วมระงับไป
ศาลล่างทั้งสองบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงไปแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 โดยได้หักกับราคาทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมได้รับการชดใช้มาบ้าง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาคดีอาญาตามมาตรา 44 วรรคสอง แม้เป็นคดีส่วนแพ่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะส่วนคดีอาญาก็ตาม ศาลก็บังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดได้
ศาลล่างทั้งสองบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงไปแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 โดยได้หักกับราคาทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมได้รับการชดใช้มาบ้าง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาคดีอาญาตามมาตรา 44 วรรคสอง แม้เป็นคดีส่วนแพ่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะส่วนคดีอาญาก็ตาม ศาลก็บังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบเพื่อฉ้อโกงโดยมีวางแผนร่วมกัน การกระทำต่อเนื่องแสดงเจตนา
พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมปรึกษาหารือกันมาก่อนเป็นลำดับโดยให้จำเลยทั้งสองทำทีเป็นเข้าไปขอเช่าที่ดินจากผู้เสียหายทั้งสอง เพื่อสร้างความสนิทสนมไว้เบื้องต้นก่อน ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะชักนำผู้เสียหายทั้งสองเดินไปสู่หลุมพรางอันจำเลยทั้งสองกับพวกรวม5 คน ได้ทำกับดักเอาไว้ หลังจากนั้นจึงได้ชักนำผู้เสียหายทั้งสองไปที่บ้านหลังหนึ่งและให้ดื่มน้ำซึ่งผสมสารมึนเมา แล้วนำพาผู้เสียหายทั้งสองไปถอนเงินที่ธนาคาร และขอยืมเงินไปเล่นการพนันกำถั่วจนกระทั่งแพ้การพนันหมดเงินจำนวนดังกล่าว โดยจำเลยทั้งสองกับพวกไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องการเช่าที่ดินดังกล่าวในตอนแรกอีกเลย ซึ่งวิธีการเช่นนี้หากไม่มีการนัดแนะและร่วมกันวางแผนหาหนทางกันมาก่อนผลก็ย่อมจะเกิดขึ้นเป็นลำดับสอดคล้องเช่นนั้นไม่ได้ กรรมจึงเป็นเครื่องชี้เจตนาอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สมคบกับพวกตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปี จึงถือว่าจำเลยทั้งสองสมคบกับพวกตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยการหลอกลวงให้ส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลยมีสิทธิอยู่ การยึดถือเพื่อชำระหนี้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์เป็นประกันตามสัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิจะยึดถือไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสียก่อน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ตามสภาพเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงเป็นทั้งทรัพย์และทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137,138 ฉะนั้น ถ้าหากจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้ เพราะความผิดฐานนี้ ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์แม้จะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ ใครหลอกลวงให้เขาส่งทรัพย์นั้นก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตตั้งแต่แรกและการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงที่เชื่อมโยงกับการรับเงิน
ความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่งจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังที่การกระทำความผิดในการได้ทรัพย์มานั้นสำเร็จไปแล้ว ม. กับพวกมีเจตนาทุจริตมาแต่แรกโดยหลอกลวงว่าจะซื้อที่ดินจากโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมาที่บ้าน ม. เพื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายและให้วางเงินมัดจำ ม. กลับชักชวนโจทก์ร่วมให้ร่วมกับ ม. เล่นการพนันกับพวกของ ม. โจทก์ร่วมเล่นการพนันเสียการติดต่อขอซื้อที่ดินและการเล่นการพนันจึงเป็นเพียงเหตุการณ์ที่ ม. กับพวกสร้างขึ้นเพื่อหลอกลวงเอาเงินของโจทก์ร่วมและโดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ ม. กับพวกได้ไปซึ่งเงินจากโจทก์ร่วมกับเงินที่โจทก์ร่วมให้ จ. โอนมาให้แก่จำเลยแสดงว่า จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของ ม. หาใช่เข้าไปเกี่ยวข้องภายหลัง ม. ได้เงินมาแล้วไม่ จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้เพราะจำเลยนำสืบปฏิเสธว่าไม่มีส่วนร่วมกระทำความผิดเกี่ยวกับเงินจำนวนที่จำเลยเป็นผู้เบิก ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงขายฝากที่ดิน: เจตนาทุจริตนำชี้ที่ดินผิดแปลงหลอกลวงผู้เสียหาย
จำเลยมีเจตนาทุจริตนำชี้ที่ดินแปลงของผู้อื่นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นที่ดินของจำเลยที่ประสงค์จะขายฝากแก่ผู้เสียหายทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและรับซื้อฝากที่ดินแปลงของจำเลยไว้จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการหลอกลวงเกี่ยวกับที่ดิน: จำเลยเจตนาชี้ที่ดินแปลงอื่นให้ผู้เสียหายหลงเชื่อก่อนทำสัญญาซื้อฝาก
จำเลยนำผู้เสียหายไปดูที่ดินของ บ. ซึ่งอยู่ติดกับถนน ร.พ.ช ผู้เสียหายจึงตกลงรับซื้อฝากเพราะหลงเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวงว่าที่ดินของ บ. คือที่ดินของจำเลยที่จะขายฝากแก่ผู้เสียหาย และหลังจากจำเลยขายฝากที่ดินให้แก่ผู้เสียหายแล้ว จำเลยก็ไม่ได้สนใจขวนขวายจะมาซื้อคืนจากผู้เสียหาย เพราะว่าที่ดินแปลงดังกล่าวกับที่ดินของ บ. ที่จำเลยนำชี้ให้ผู้เสียหายดูมีความแตกต่างกันมากโดยที่ดินของจำเลยมีสภาพเป็นป่า รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปถึง แต่ที่ดินของบ. เป็นที่นาทำประโยชน์ได้แล้วและอยู่ติดถนน ร.พ.ช แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนานำชี้ที่ดินแปลงของ บ. เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นที่ดินของจำเลยที่ประสงค์จะขายฝากแก่ผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและรับซื้อฝากที่ดินแปลงของจำเลยไว้จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกง