พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18043/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในชั้นพิจารณาคดี และการแก้คำให้การหลังจากการตกลงกับผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยทนายความจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดทำคำให้การให้ และศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสองพร้อมบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ประกอบกับจำเลยทั้งสองแถลงว่าประสงค์ที่จะเจรจาเรื่องยอดหนี้ในส่วนแพ่งและขอผ่อนชำระเงินให้ผู้เสียหาย ขอให้นัดพร้อม ต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยทั้งสองตกลงกันโดยผู้เสียหายเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท จำเลยทั้งสองขอเวลาหาเงินมาชำระให้ผู้เสียหายสักระยะหนึ่ง ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินให้ผู้เสียหายตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อกระบวนพิจารณากระทำในศาลโดยเปิดเผย จึงเป็นการให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจและมิได้สำคัญผิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้จำเลยทั้งสองจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อศาลแล้ว การขอแก้คำให้การจำเลยทั้งสองสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งสอง อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลถ้าเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 โดยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพและให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลเป็นการแก้คำให้การหลังจากที่ได้ให้การรับสารภาพและตกลงกับผู้เสียหายได้แล้ว โดยอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด ผู้ที่กระทำความผิดที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทราบคือ พ. กับพวก ซึ่งข้ออ้างของจำเลยทั้งสองแสดงว่าจำเลยทั้งสองรู้แต่แรกแล้วว่าผู้กระทำความผิดเป็นใคร ย่อมไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เห็นได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่สามารถหาเงินมาชำระให้ผู้เสียหายตามที่ตกลงกันไว้ได้เพื่อให้มีการสืบพยานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุสมควร ไม่ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ และคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี มิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยทั้งสองรับสารภาพในชั้นพิจารณา ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การและพิพากษาคดีไปตามคำให้การรับสารภาพจึงชอบแล้ว
ในคดีส่วนแพ่งเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จำนวน 2,060,000 บาท ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงเงินผู้เสียหายไปและผู้เสียหายยังไม่ได้รับเงินคืนจำนวน 2,060,000 บาท แม้ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้เสียหายแถลงติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในส่วนแพ่งเป็นเงิน 400,000 บาท ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองเจรจาตกลงกันเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายไม่ได้รับความเสียหายทางแพ่งตามฟ้อง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็แถลงต่อศาลว่าผู้เสียหายยังติดใจให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ขอท้ายฟ้อง ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานหลักฐานในคดีส่วนแพ่งอีก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยทั้งสองเรื่องทนายความแล้ว จำเลยทั้งสองแถลงว่าจะหาทนายความเอง ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม 2554 จำเลยทั้งสองแต่งตั้ง ต. เป็นทนายความ ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง แล้ว ส่วนในวันนัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ต. ขอถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นอนุญาตก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลขอเลื่อนคดีเพื่อให้จำเลยทั้งสองแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดี แต่จำเลยทั้งสองกลับเจรจาตกลงกับผู้เสียหายเพื่อขอชำระเงินแก่ผู้เสียหายและขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดใจที่จะให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในวันดังกล่าว ทั้งต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณา ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
ในคดีส่วนแพ่งเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จำนวน 2,060,000 บาท ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงเงินผู้เสียหายไปและผู้เสียหายยังไม่ได้รับเงินคืนจำนวน 2,060,000 บาท แม้ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้เสียหายแถลงติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในส่วนแพ่งเป็นเงิน 400,000 บาท ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองเจรจาตกลงกันเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายไม่ได้รับความเสียหายทางแพ่งตามฟ้อง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็แถลงต่อศาลว่าผู้เสียหายยังติดใจให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ขอท้ายฟ้อง ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานหลักฐานในคดีส่วนแพ่งอีก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยทั้งสองเรื่องทนายความแล้ว จำเลยทั้งสองแถลงว่าจะหาทนายความเอง ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม 2554 จำเลยทั้งสองแต่งตั้ง ต. เป็นทนายความ ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง แล้ว ส่วนในวันนัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ต. ขอถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นอนุญาตก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลขอเลื่อนคดีเพื่อให้จำเลยทั้งสองแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดี แต่จำเลยทั้งสองกลับเจรจาตกลงกับผู้เสียหายเพื่อขอชำระเงินแก่ผู้เสียหายและขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดใจที่จะให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในวันดังกล่าว ทั้งต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณา ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17705/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานซ่องโจรและฉ้อโกงจากการล็อกเลขรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีแบ่งหน้าที่กันทำโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. หลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการร่วมออกรางวัล ซึ่งจะตักตลับลูกบอลในภาชนะที่ตนอยู่ประจำหลักด้วยวิธีเสี่ยงทาย ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. มิได้เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่แท้จริง และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. ได้ทำเครื่องหมายที่ตลับลูกบอลด้วยสารเคมีตามวิธีการที่วางแผนซักซ้อมกันมา แล้วจะเลือกตักเอาลูกบอลที่มีเครื่องหมายดังกล่าวซึ่งเป็นลูกบอลหมายเลข 1 โดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามฟ้อง นอกจากนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่กันกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีเพื่อจะกระทำความผิดดังกล่าว ย่อมเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อตระเตรียมกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานซ่องโจรด้วย
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16889/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงจากการหลอกลวงพนักงานรับจำนำทองคำ โดยใช้ทรัพย์สินของผู้เสียหายอ้างเป็นของลูกค้า
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายซึ่งประกอบอาชีพค้าขายทองคำและเป็นผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ขายทองคำของผู้เสียหายให้แก่ลูกค้า และยังมีหน้าที่รับจำนำทองคำของลูกค้าด้วย จำเลยใช้กลอุบายนำสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายที่จำเลยมีหน้าที่ขายให้แก่ลูกค้าไปบอกแก่พนักงานเก็บเงินในร้านของผู้เสียหายว่าเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำแก่ทางร้าน เมื่อพนักงานเก็บเงินส่งมอบเงินซึ่งเป็นของผู้เสียหายที่จะต้องนำไปมอบให้แก่ลูกค้าที่นำทรัพย์มาจำนำให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้าง จำเลยก็รับเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตน การกระทำของจำเลยมิใช่เอาเงินของผู้เสียหายไปโดยพลการโดยทุจริต หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำ การที่จำเลยได้เงินของผู้เสียหายไปจึงเกิดจากการที่พนักงานเก็บเงินซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายหลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13876/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียน และเจตนาฉ้อโกง ทำให้ไม่มีความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์
พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 4 ได้บัญญัตินิยาม คำว่า "การฌาปนกิจสงเคราะห์" หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้ากันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ตกลงเข้ากันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรเพื่อแบ่งปันกัน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการฌาปนกิจสงเคราะห์คือการตกลงเข้ากันของบุคคลหลายคนที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวเสียก่อน จากนั้นกฎหมายจึงบัญญัติให้กิจการดังกล่าวต้องดำเนินการจดทะเบียนในรูปของฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนตามมาตรา 50 เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยเก็บค่าสมาชิกคนละ 2,000 บาท และเก็บเงินค่าช่วยเหลือจัดการศพจากสมาชิกศพละ 20 บาท โดยจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า "ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง" โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมหรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย กับบรรยายฟ้องในข้อ ข. สรุปว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงต่อประชาชนด้วยคำพูดว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันก่อตั้งฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งหรือก่อตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ดังกล่าวขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง และโดยการหลอกลวงนั้นจำเลยทั้งสองจึงได้ทรัพย์สินจากผู้เสียหายหลายรายที่หลงเชื่อ ชำระเงินเพื่อเป็นค่าสมาชิกและค่าจัดการศพ จากการบรรยายฟ้องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้ข้ออ้างดังกล่าวหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อให้ได้เงินที่ประชาชนจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองในรูปแบบที่เรียกว่าค่าสมัครสมาชิกและค่าจัดการศพเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมิได้มีเจตนาที่จะดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์อันเป็นองค์ประกอบความผิดข้อหาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยไม่ได้จดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมายตามคำขอให้ลงโทษของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11447/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยมิอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี แล้วฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 โดยให้ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง แต่ระหว่างฎีกาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและให้จำหน่ายคดีในความผิดฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และกำหนดโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก, 83 ดังนี้ หากจำเลยทั้งสองไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง โดยเห็นว่าศาลชั้นต้นต้องยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา จำเลยทั้งสองชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 แต่จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น กลับฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7439/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลักทรัพย์โดยการบันทึกน้ำหนักเกินจริง ไม่เป็นฉ้อโกง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ลงบันทึกรายการน้ำหนักชิ้นงานที่ตกแต่งเสร็จแล้วให้สูงกว่าน้ำหนักชิ้นงานที่แท้จริงโดยมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพื่อเอาผงเงินและเศษชิ้นงานของโจทก์ร่วมไป ถือว่าเป็นการร่วมกันวางแผนโดยมีเจตนาลักทรัพย์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดทางอาญาต่อผู้เสียหายเฉพาะราย การเข้าร่วมเป็นโจทก์ และการเรียกค่าเสียหาย
จำเลยพูดหลอกลวงโจทก์ร่วมที่ 1 เท่านั้น จำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วมที่ 2 หรือเจตนาให้ได้ทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ 2 การที่โจทก์ร่วมที่ 2 รับฟังเรื่องราวจากโจทก์ร่วมที่ 1 แล้วหลงเชื่อว่าเป็นความจริงและประสงค์ร่วมลงทุนกับโจทก์ร่วมที่ 1 ด้วย โดยโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วมที่ 1 เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยนั้น ไม่ได้เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยต่อโจทก์ร่วมที่ 2 โจทก์ร่วมที่ 2 จึงไม่เป็นผู้เสียหายในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างดำเนินคดีอาญา ส่งผลให้คดีความผิดต่อส่วนตัวระงับตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 341 ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้อง ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์ภาค 5 คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องอ้างว่า จำเลยได้บรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์แล้ว คณะกรรมการโจทก์มีมติให้ถอนฟ้องจำเลยและไม่ติดใจว่ากล่าวคดีนี้อีก จำเลยไม่คัดค้านและท้ายคำร้องลงลายมือชื่อจำเลยไว้ด้วย คำร้องขอถอนฟ้องโจทก์เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการรวมพิจารณาคดีอาญา และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 266 (3), 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3), 341 ประกอบมาตรา 83 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกง จ. โดยไม่ได้แก้โทษจำเลยที่ 1 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนกรณีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (3) คงจำคุกคนละ 1 ปี 3 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้โทษความผิดในบทที่มีโทษหนักที่สุดอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษแม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนสอบคำให้การ จ. ไว้ในฐานะพยานในคดีความผิดฐานปลอม ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ที่โจทก์ร่วม ร. และ ส. แจ้งความร้องทุกข์ไว้เท่านั้น แต่ จ. ไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนแนบท้ายฎีกา ถือว่าคำให้การของ จ. เป็นการร้องทุกข์ในคำให้การภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องว่า ในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายภายในอายุความโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต่อสู้คดี โจกท์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีการร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. นั้น ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงที่ว่า จ. ได้ร้องทุกข์ตามบันทึกคำให้การที่แนบท้ายฎีกานั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลสั่งรวมพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าด้วยกัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพไปก่อนที่จะพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีกสำนวนหนึ่งก็ตาม แต่ความผิดในคดีทั้งสองสำนวนนั้นเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับความผิดในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่เป็นอันยุติไปแล้วนั้นให้ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. เพราะ เหตุที่ไม่มีการร้องทุกข์ตามระเบียบโดยชอบ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนสอบคำให้การ จ. ไว้ในฐานะพยานในคดีความผิดฐานปลอม ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ที่โจทก์ร่วม ร. และ ส. แจ้งความร้องทุกข์ไว้เท่านั้น แต่ จ. ไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า จ. ให้การต่อพนักงานสอบสวนประสงค์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนแนบท้ายฎีกา ถือว่าคำให้การของ จ. เป็นการร้องทุกข์ในคำให้การภายในกำหนดอายุความตามกฎหมายแล้ว และโจทก์บรรยายฟ้องว่า ในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามกฎหมายภายในอายุความโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ต่อสู้คดี โจกท์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีการร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความอีก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. นั้น ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงที่ว่า จ. ได้ร้องทุกข์ตามบันทึกคำให้การที่แนบท้ายฎีกานั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลสั่งรวมพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าด้วยกัน แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพไปก่อนที่จะพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีกสำนวนหนึ่งก็ตาม แต่ความผิดในคดีทั้งสองสำนวนนั้นเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับความผิดในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่เป็นอันยุติไปแล้วนั้นให้ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. เพราะ เหตุที่ไม่มีการร้องทุกข์ตามระเบียบโดยชอบ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จ. ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์/ปลอมแปลง/ฉ้อโกงบัตรเครดิต: การส่งมอบบัตรเครดิตทางไปรษณีย์ไม่ถือเป็นการส่งมอบให้ผู้กระทำผิดโดยสำคัญผิด
การที่ผู้เสียหายที่ 2 ส่งมอบบัตรเครดิตไปให้ผู้เสียหายที่ 1 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ที่ผู้เสียหายที่ 1 ระบุไว้ในใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิต แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะย้ายออกไปจากบ้านเช่าหลังดังกล่าวแล้ว แต่ผู้เสียหายที่ 2 ก็มิได้มีเจตนาส่งมอบบัตรเครดิตให้แก่จำเลยกับพวกที่เข้ามาอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อจากผู้เสียหายที่ 1 กรณีจึงมิใช่เป็นการส่งมอบบัตรเครดิตให้แก่จำเลยกับพวกโดยสำคัญตัวผิดว่าจำเลยกับพวกคือผู้เสียหายที่ 1 เมื่อจำเลยกับพวกรับบัตรเครดิตไว้และยึดถือเป็นของตนเองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยทุจริตเป็นการแย่งการครอบครอง การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ความผิดฐานลักบัตรเครดิตเป็นความผิดสำเร็จในตัวโดยอาศัยเจตนาแยกต่างหากจากความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม และฐานฉ้อโกง การกระทำตามฟ้องจึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรมได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานฉ้อโกงกฎหมายมุ่งคุ้มครองผู้ถูกหลอกลวง ซึ่งในกรณีนี้คือเจ้าของร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่ผู้เสียหายที่ 2 ต้องจ่ายเงินให้แก่ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนจำเลยกับพวกนั้นเป็นไปตามสัญญาที่ผู้เสียหายที่ 2 มีกับร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นสถานที่รับบริการใช้บัตรเครดิต ความเสียหายที่ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับเป็นความเสียหายในทางแพ่ง ไม่ใช่ความเสียหายที่ได้รับจากการที่ถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงหรือปกปิดข้อเท็จจริง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยตรงต่อสถานที่รับบริการใช้บัตรเครดิต กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายที่ 2 แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าของร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ไม่ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยคืนเงินแทนผู้เสียหายที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานลักบัตรเครดิตเป็นความผิดสำเร็จในตัวโดยอาศัยเจตนาแยกต่างหากจากความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม และฐานฉ้อโกง การกระทำตามฟ้องจึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรมได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานฉ้อโกงกฎหมายมุ่งคุ้มครองผู้ถูกหลอกลวง ซึ่งในกรณีนี้คือเจ้าของร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่ผู้เสียหายที่ 2 ต้องจ่ายเงินให้แก่ร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนจำเลยกับพวกนั้นเป็นไปตามสัญญาที่ผู้เสียหายที่ 2 มีกับร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นสถานที่รับบริการใช้บัตรเครดิต ความเสียหายที่ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับเป็นความเสียหายในทางแพ่ง ไม่ใช่ความเสียหายที่ได้รับจากการที่ถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงหรือปกปิดข้อเท็จจริง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยตรงต่อสถานที่รับบริการใช้บัตรเครดิต กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายที่ 2 แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าของร้านขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ไม่ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยคืนเงินแทนผู้เสียหายที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225