พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาเกินจริงของโรงพยาบาลละเมิดสิทธิและผิด พ.ร.บ.สถานพยาบาล, ป.พ.พ.
ข้อมูลเปรียบเทียบศักยภาพของจำเลยในใบแผ่นพับโฆษณา จำเลยแสดงผลการเปรียบเทียบให้เห็นว่าโรงพยาบาลของจำเลยดีกว่า น่าใช้บริการมากกว่า เพราะมีผู้ประกันตนที่รับได้จำนวนมากที่สุด สะดวกสบายกว่า มีจำนวนเครือข่ายหลายแห่งกว่ามีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยมากกว่าเพราะมีผู้เข้าร่วมโครงการประกันสังคมเป็นจำนวนมากกว่าใคร โรงพยาบาลของจำเลยใหญ่กว่าเพราะมีเตียงจำนวนมากกว่ามีความมั่นคงกว่าเพราะมีประกันอุบัติเหตุให้ด้วย การโฆษณาแผ่นพับของจำเลยดังกล่าวเป็นการจูงใจให้บุคคลมาใช้บริการของจำเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ โฆษณา หรือประกาศหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้งหรือกิจการของสถานพยาบาลหรือคุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพสถานพยาบาลเพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลของตน โดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล" ดังนั้น การที่จำเลยระบุในแผ่นพับในช่องผู้ประกันตนที่รับได้ว่า โจทก์รับได้ 25,000 คน ช่องระยะเวลาเข้าร่วมโครงการประกันสังคมว่า โจทก์เพิ่งเริ่มเข้า ช่องขนาดโรงพยาบาลว่า โจทก์มี 150 เตียง ช่องประสบการณ์การบริหารงานโรงพยาบาลด้านโครงการประกันสังคมว่าโจทก์ไม่มีประสบการณ์เลย ซึ่งความเป็นจริงทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า โจทก์มีจำนวนผู้ประกันตนที่รับได้ 50,000 คน โจทก์มีเตียง 400 เตียง และโจทก์เข้าร่วมโครงการประกันสังคมตั้งแต่ปี 2535 โจทก์จึงมีประสบการณ์ตั้งแต่ปีที่เข้าร่วมโครงการเป็นต้นมา จึงเป็นการที่จำเลยเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาไม่ตรงกับความจริงโดยมีเจตนาให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โรงพยาบาลจำเลยมีศักยภาพดีกว่าโรงพยาบาลโจทก์เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่ามีประสบการณ์มากกว่า จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริงเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 38 และเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ คำว่า สิทธิ หมายความถึงประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ และจำเลยหรือบุคคลอื่นต้องเคารพหรือได้รับการรับรองคุ้มครองตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่สิทธิเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 423
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งอายัดชั่วคราวหลังคดีประธานถึงที่สุดและการบังคับคดีสำเร็จ
คดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินอันเป็นคดีประธานศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุดไปแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้อายัดเงินที่ผู้คัดค้านถึงกำหนดชำระแก่จำเลยไว้ชั่วคราว จึงยังมีผลต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เท่านั้น เมื่อโจทก์ขอออกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ของผู้คัดค้านออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้โจทก์แล้ว โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งการบังคับคดีดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาว่าผู้คัดค้านมีหนี้หรือเงินอันใดที่ต้องชำระให้แก่จำเลยตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่ ถึงแม้จะพิจารณาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยอดหนี้ไม่ถูกต้อง ศาลให้คิดคำนวณใหม่ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่
ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะนำเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด แต่ปรากฎข้อเท็จจริงทางนำสืบของโจทก์ว่าการขายทอดตลาดครั้งที่สองไม่ได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์ทั้งที่ครั้งแรกได้มีการประกาศทางหนังสือพิมพ์ และผู้ทำการขายทอดตลาดก็เป็นพนักงานของโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสนอซื้อเพียงรายเดียวในราคาหุ้นละ 100 บาท เท่ากับราคาที่ระบุไว้ในใบหุ้นเท่านั้น พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์แสดงให้เห็นว่า การขายทอดตลาดไม่ได้เป็นไปโดยเปิดเผยแก่ประชาชนทั่วไปและไม่ได้ขายในราคาที่พอสมควร การบังคับจำนำของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คำนวณมาในฟ้องไม่ถูกต้อง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญา ก็สมควรที่จะให้มีการคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กระทบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ยอดหนี้ที่คำนวณในฟ้องไม่ถูกต้อง
เมื่อการบังคับจำนำหุ้นของบริษัท ซ. โดยการขายทอดตลาดซึ่งไม่ได้เป็นไปโดยเปิดเผยแก่ประชาชนทั่วไปและไม่ได้ขายในราคาที่พอสมควร การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่มีผลถึงหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นหนี้ประธานที่จำเลยมีความรับผิดต่อโจทก์อยู่ตั้งแต่ก่อนจะมีการขายทอดตลาดแล้ว
แม้โจทก์จะมีสิทธิขอบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำต้องบังคับจำนำเอากับหุ้นก่อนก็ตาม แต่โจทก์ตั้งรูปบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบังคับจำนำและคิดคำนวณยอดหนี้โดยหักเงินที่ได้จากการบังคับจำนำมาชำระหนี้ ศาลจึงต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการบังคับจำนำ เมื่อวินิจฉัยว่าการบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณในฟ้องไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญา แต่เมื่อยอดหนี้ที่ค้างชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยยังไม่ถูกต้อง สมควรที่จะให้มีการคิดคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้องและไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่
อุทธรณ์ในปัญหาเพียงว่าจะระบุในคำพิพากษาให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือไม่ ไม่มีข้อพิพาทโต้เถียงเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดโดยตรง ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
แม้โจทก์จะมีสิทธิขอบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำต้องบังคับจำนำเอากับหุ้นก่อนก็ตาม แต่โจทก์ตั้งรูปบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบังคับจำนำและคิดคำนวณยอดหนี้โดยหักเงินที่ได้จากการบังคับจำนำมาชำระหนี้ ศาลจึงต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการบังคับจำนำ เมื่อวินิจฉัยว่าการบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณในฟ้องไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญา แต่เมื่อยอดหนี้ที่ค้างชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยยังไม่ถูกต้อง สมควรที่จะให้มีการคิดคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้องและไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่
อุทธรณ์ในปัญหาเพียงว่าจะระบุในคำพิพากษาให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือไม่ ไม่มีข้อพิพาทโต้เถียงเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดโดยตรง ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลต้องยกฟ้องและเปิดโอกาสให้คิดคำนวณหนี้ใหม่
โจทก์มีสิทธิขอบังคับตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำต้องบังคับจำนำเอากับหุ้นก่อน แต่โจทก์ต้องตั้งรูปบรรยายฟ้องและคิดคำนวณยอดหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียวโดยไม่กล่าวถึงการบังคับจำนำเอากับหุ้นที่จำเลยจำนำไว้ ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิบังคับจำนำและคิดคำนวณยอดหนี้โดยหักเงินที่ได้จากการบังคับจำนำมาชำระหนี้ และศาลต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการบังคับจำนำ เมื่อศาลวินิจฉัยว่าการบังคับจำนำไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมทำให้ยอดหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้องไม่ถูกต้อง จึงไม่ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง ศาลจึงให้มีการคิดคำนวณใหม่โดยพิพากษายกฟ้องและไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10506/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องขัดทรัพย์: ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์แทนห้างหุ้นส่วน
บุคคลที่อาจยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้ จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างใดๆ ในทรัพย์ที่ถูกยึด อันถือได้ว่าเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์นั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่า อพาร์ตเมนต์ที่ถูกยึดไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่เป็นทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. หากเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์ก็คือห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เจ้าของทรัพย์สินซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากตัวผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ทรัพย์ที่ถูกยึดจึงหาได้เป็นสิทธิของผู้ร้องด้วยไม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิ และถึงแม้ห้างดังกล่าวเหลือผู้ร้องเพียงคนเดียว เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายไป ก็เป็นผลให้เลิกห้างและชำระบัญชีโดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ดำเนินการของห้างหุ้นส่วนตามแต่จำเป็นเพื่อการชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 เมื่อผู้ร้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนธรรมดาจึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์คดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10143/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการชิงทรัพย์ - การทำร้ายร่างกาย - รอการลงโทษ
ผู้เสียหายกับจำเลยรู้จักกันมาก่อน ไปเที่ยวดื่มสุราด้วยกัน พยานโจทก์ที่ไปในที่เกิดเหตุกับจำเลยและผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะที่กำลังรอรถโดยสารประจำทางอยู่นั้น จำเลยกับผู้เสียหายกอดกันในฐานะคนรัก หลังเกิดเหตุเมื่อสิบตำรวจเอก ป. ตามไปพบจำเลยอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงประมาณ 100 เมตร พบจำเลยถอดเสื้อเอาเสื้อพาดบ่าไว้ โดยจำเลยมีอาการมึนเมาและร้อยตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ขณะจับตัวจำเลย จำเลยมีอาการมึนเมา จากพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่าจำเลยรู้จักคุ้นเคยกับผู้เสียหายและจำเลยกระทำในขณะมึนเมา การที่จำเลยเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปนั้นไม่ได้ประสงค์จะเอาไปในลักษณะเป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยมิได้เจตนาที่จะเอาทรัพย์ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9344/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าซ่อมรถ: สัญญาการค้ากับบริษัทประกันภัย อายุความ 5 ปีตาม พ.ร.บ. มาตรา 193/33(5)
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้า มีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยหรือรถยนต์คู่กรณีที่ถูกรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยทำละเมิด ซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ กรณีต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างของโจทก์เกิดขึ้นในช่วงปี 2541 และโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนด 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8856/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกา: ห้ามมิให้ผู้แพ้คดีอ้างสิทธิในทรัพย์สินที่ศาลตัดสินแล้ว
คดีเดิมจำเลยที่ 1 เคยฟ้องขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้โดยยังไม่กรอกข้อความ ต่อมาจำเลยทั้งกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตนเอง โดยผู้ร้องไม่ยินยอมศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 มิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจและฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์เป็นของผู้ร้องอีกและจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีเดิม ดังนั้นคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิมย่อมผูกพันผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความกันมาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องอีกหาได้ไม่ ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ สัญญาประกันชีวิต: แม้ทำพร้อมกัน แต่เป็นสัญญาแยกต่างหาก หากมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ต่างกัน
เมื่อสัญญาประกันชีวิตที่ฟ้องในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นสัญญาคนละฉบับซึ่งมีข้อกำหนดและเงื่อนไขแยกจากกันได้เช่นนี้ กรณีจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์คดีนี้มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ