พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14870/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การตีราคาหลักประกันต้องเหมาะสม เพื่อความเป็นธรรมต่อลูกหนี้ และเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้อง
ในการฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) บังคับให้โจทก์ต้องตีราคาหลักประกันมาในฟ้อง ซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท เนื่องจากเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่หลักประกันนั้นได้ก่อนเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งเมื่อนำราคาหลักประกันมาหักชำระหนี้แล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใด หนี้ส่วนที่เหลือย่อมเป็นหนี้ธรรมดาเฉกเช่นเดียวกันกับเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ฉะนั้น การตีราคาหลักประกันจึงต้องถูกต้องเหมาะสมด้วย หากตีราคาหลักประกันต่ำเกินสมควรเพียงเพื่อจะให้จำนวนหนี้อยู่ในหลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาตรวจสอบการตีราคาหลักประกันของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10692/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การสะดุดหยุด และเริ่มนับใหม่เมื่อการครอบครองทรัพย์สินสิ้นสุด
คดีจัดการมรดกกับคดีมรดกเป็นคดีคนละประเภทกัน กฎหมายบัญญัติแยกไว้คนละส่วนและให้อยู่ในบังคับการฟ้องร้องคนละมาตรา อายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกมีอายุความห้าปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ส่วนคดีมรดกมีอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 จำเลยที่ 2 และที่ 3มิใช่ผู้จัดการมรดกแต่เป็นทายาทและถูกโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ย่อมเป็นคดีมรดก อันมีอายุความตามมาตรา 1754 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเข้ามาด้วย ก็หาอาจทำให้สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของโจทก์จากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทกลับเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไปได้ไม่
ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ" มาตรา 193/14 บัญญัติว่า "อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ (1)... กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง..." และมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ" วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น" โจทก์เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 1754 และอยู่ในบังคับตามมาตรา 193/9 มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 ดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่า ณ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 ศาลตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ณ. เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงทำให้อายุความมรดกสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แม้ต่อมา ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนโอนมรดกพิพาทให้แก่ตนเองกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ณ. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 โดยไม่ได้โอนแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง แต่ก็ได้ความจากคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ว่าโจทก์ยังครอบครองทรัพย์มรดกโดยอาศัยในบ้าน ว. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกพิพาทอยู่ จึงเป็นกรณีที่ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยอันแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับว่าโจทก์ยังครอบครองมรดกอยู่อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14
แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงว่า ส. ไถ่ถอนจำนองโดย ส. มีหนังสือแจ้งธนาคารผู้รับจำนองว่า ไม่ให้ธนาคารมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินให้แก่โจทก์ และโอนที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3พฤติการณ์ดังกล่าวของ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาไม่ยึดถือมรดกแทนโจทก์ต่อไปนับแต่วันที่ธนาคารได้แจ้งแก่โจทก์อย่างช้าไม่เกินวันที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ดังนั้น การครอบครองทรัพย์มรดกของโจทก์อันเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมสิ้นสุดลงไม่ถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่แบ่งต่อไปนับแต่วันนั้น อายุความจึงเริ่มนับใหม่ในวันดังกล่าวตามมาตรา 193/15 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ" มาตรา 193/14 บัญญัติว่า "อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ (1)... กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง..." และมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ" วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น" โจทก์เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 1754 และอยู่ในบังคับตามมาตรา 193/9 มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 ดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงได้ความว่า ณ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 ศาลตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ณ. เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงทำให้อายุความมรดกสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แม้ต่อมา ส. ในฐานะผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนโอนมรดกพิพาทให้แก่ตนเองกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ณ. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 โดยไม่ได้โอนแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง แต่ก็ได้ความจากคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ว่าโจทก์ยังครอบครองทรัพย์มรดกโดยอาศัยในบ้าน ว. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกพิพาทอยู่ จึงเป็นกรณีที่ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยอันแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับว่าโจทก์ยังครอบครองมรดกอยู่อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14
แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงว่า ส. ไถ่ถอนจำนองโดย ส. มีหนังสือแจ้งธนาคารผู้รับจำนองว่า ไม่ให้ธนาคารมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินให้แก่โจทก์ และโอนที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3พฤติการณ์ดังกล่าวของ ส. จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการแสดงเจตนาไม่ยึดถือมรดกแทนโจทก์ต่อไปนับแต่วันที่ธนาคารได้แจ้งแก่โจทก์อย่างช้าไม่เกินวันที่ไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ดังนั้น การครอบครองทรัพย์มรดกของโจทก์อันเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมสิ้นสุดลงไม่ถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังไม่แบ่งต่อไปนับแต่วันนั้น อายุความจึงเริ่มนับใหม่ในวันดังกล่าวตามมาตรา 193/15 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินหนึ่งปี ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10200/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้และการใช้เอกสารสำเนาที่มีตราประทับรับรองในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว กฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่ใช้บังคับในปัจจุบันคือ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เนื่องจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องและมีเหตุตามกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องกล่าวอ้างในคำร้องว่าได้ทำสัญญารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายลูกหนี้มาจากธนาคาร ก. เจ้าหนี้เดิม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องไม่มีสัญญาที่ทำระหว่างผู้ร้องกับเจ้าหนี้เดิมมาสนับสนุน มีเพียงคำเบิกความของพยานผู้ร้องปาก ว. กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง สำเนาบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับจำนอง และสำเนาคำขอโอนซึ่งหากเป็นเอกสารที่ทำการจดทะเบียนตามกฎหมาย เป็นเอกสารมหาชนที่สามารถตรวจสอบได้ถึงความมีอยู่จริง ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนนำเสนอเป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ผู้ร้องกลับใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารอ้างเป็นพยานหลักฐานโดยไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ที่ผู้ร้องอ้างว่าการใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารแทนการลงลายมือชื่อของผู้อำนวยการฝ่ายงานคดี มิใช่เป็นเรื่องที่ใครหรือผู้ใดจะมาใช้ตรายางประทับก็ได้ การประทับตราดังกล่าวต้องกระทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้ร้องจึงสามารถกระทำได้ และได้กระทำมาเป็นปกติในคดีอื่นด้วยเช่นกันนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน พยานหลักฐานของผู้ร้องไม่พอฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้อง
ผู้ร้องกล่าวอ้างในคำร้องว่าได้ทำสัญญารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายลูกหนี้มาจากธนาคาร ก. เจ้าหนี้เดิม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องไม่มีสัญญาที่ทำระหว่างผู้ร้องกับเจ้าหนี้เดิมมาสนับสนุน มีเพียงคำเบิกความของพยานผู้ร้องปาก ว. กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง สำเนาบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับจำนอง และสำเนาคำขอโอนซึ่งหากเป็นเอกสารที่ทำการจดทะเบียนตามกฎหมาย เป็นเอกสารมหาชนที่สามารถตรวจสอบได้ถึงความมีอยู่จริง ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนนำเสนอเป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ผู้ร้องกลับใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารอ้างเป็นพยานหลักฐานโดยไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ที่ผู้ร้องอ้างว่าการใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารแทนการลงลายมือชื่อของผู้อำนวยการฝ่ายงานคดี มิใช่เป็นเรื่องที่ใครหรือผู้ใดจะมาใช้ตรายางประทับก็ได้ การประทับตราดังกล่าวต้องกระทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้ร้องจึงสามารถกระทำได้ และได้กระทำมาเป็นปกติในคดีอื่นด้วยเช่นกันนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน พยานหลักฐานของผู้ร้องไม่พอฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9894/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดที่ไม่ถูกต้องและผลกระทบต่อการยกเลิกการล้มละลาย
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยมิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด จึงให้รับพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวตามมาตรา 26 วรรคสี่
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท รวม 3 ครั้ง โดยหมายนัดฉบับแรกและฉบับที่สามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุที่อยู่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ มีเพียงหมายนัดฉบับที่สองที่ระบุตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์ แต่ก็มีบุคคลอื่นรับหมายไว้แทน ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายเงินเพื่อประกอบรายงานศาลขอให้มีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 133 และขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์วางไว้ต่อศาลส่วนที่เหลือไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้ ซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินครั้งที่ 1 ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แสดงว่าในวันดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่น่าจะมีกรณีต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยอีก แต่มิได้รายงานศาลขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 วรรคสอง โดยรายงานศาลว่าโจทก์ได้รับหมายแจ้งให้วางเงินค่าใช้จ่ายทั้งสามครั้งโดยชอบแล้วไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ขอให้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอวางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับยอมรับไว้ ต่อมาได้หมายนัดแจ้งให้โจทก์รับคืนไปเป็นเงินเพียง 9,500 บาท แต่ก็ส่งไปยังสถานที่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์น่าเชื่อว่าโจทก์มิได้ขัดขืนหรือละเลยไม่ให้ประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยตามมาตรา 135 (1) จึงเป็นการไม่ชอบ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท รวม 3 ครั้ง โดยหมายนัดฉบับแรกและฉบับที่สามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุที่อยู่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ มีเพียงหมายนัดฉบับที่สองที่ระบุตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์ แต่ก็มีบุคคลอื่นรับหมายไว้แทน ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายเงินเพื่อประกอบรายงานศาลขอให้มีคำสั่งปิดคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 133 และขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์วางไว้ต่อศาลส่วนที่เหลือไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยได้ ซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินครั้งที่ 1 ในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 แสดงว่าในวันดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่น่าจะมีกรณีต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยอีก แต่มิได้รายงานศาลขอขยายระยะเวลาแบ่งทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 วรรคสอง โดยรายงานศาลว่าโจทก์ได้รับหมายแจ้งให้วางเงินค่าใช้จ่ายทั้งสามครั้งโดยชอบแล้วไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ขอให้มีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2552 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอวางเงินค่าใช้จ่าย 10,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับยอมรับไว้ ต่อมาได้หมายนัดแจ้งให้โจทก์รับคืนไปเป็นเงินเพียง 9,500 บาท แต่ก็ส่งไปยังสถานที่อันมิใช่ภูมิลำเนาของโจทก์ พฤติการณ์ของโจทก์น่าเชื่อว่าโจทก์มิได้ขัดขืนหรือละเลยไม่ให้ประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยตามมาตรา 135 (1) จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสองฉบับ เพื่อค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. เจ้าหนี้เดิม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 และ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่จำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 เพราะจำเลยที่ 3 เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2520 การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) หรือแทนบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) จึงเป็นการทำนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ซึ่งตามมาตรา 1574 (10) แห่ง ป.พ.พ. ได้บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากศาลให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันได้ การทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12704/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เยาว์เป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ แม้มีผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ผู้ใหญ่เป็นผู้จัดการมรดก
เด็กหญิง ช. เป็นผู้เยาว์ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ต. แม้เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมก็เป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้เยาว์ไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ เด็กหญิง ช. โดย ต. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ ศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เคยพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เพราะเหตุโจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในฟ้อง ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 (7) ก็ตาม แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้และขอให้ศาลชั้นต้นนำสำนวนคดีเดิมซึ่งโจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานมาผูกโยงเข้ากับสำนวนคดีนี้ พยานเอกสารทั้งหมดจึงถือว่าเป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างในคดีนี้ ระหว่างสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นได้ให้จำเลยตรวจสอบพยานเอกสาร จำเลยมิได้โต้แย้งความถูกต้องแต่อย่างใด เมื่อในสำนวนคดีมีเอกสารเกี่ยวกับการที่เจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนอาวุธปืนจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยว่าจำเลยเคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ ซึ่งได้รับแจ้งว่า ไม่พบรายการตามที่ขอตรวจสอบ แสดงว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ทั้งพนักงานสอบสวนเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ว่า บิดาของจำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลาง จึงมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลาง นอกจากนี้ตามบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยปรากฏว่าจำเลยรับว่าไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนจริง โดยพนักงานสอบสวนเบิกความรับรองเอกสาร เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบแล้วว่า จำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และพาติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19883/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการแบ่งทรัพย์สินและการจำนองอันเกิดจากการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย การโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันลูกหนี้ได้กระทำกับผู้ได้ลาภงอก แต่เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลายได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่กรณีเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นพิเศษในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้เพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินและนำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย อายุความที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยไม่ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลเป็นเวลาแรกเริ่มต้นนับอายุความ การยื่นคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องการกระทำภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 240 ประการสำคัญในขณะทำนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นจะต้องมีผู้เป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งต้องเสียเปรียบจากการกระทำของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้วหากขณะทำนิติกรรมนั้นมีเจ้าหนี้หลายราย เจ้าหนี้ทุกรายย่อมเป็นเจ้าหนี้ซึ่งต้องเสียเปรียบด้วยกันหมดทุกคน การนับอายุความในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลแทนเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องแต่ละราย จึงต้องเริ่มนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องรายนั้น ๆ ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นเกณฑ์ ดังนั้น คำร้องที่ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 จึงต้องบรรยายด้วยว่า นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งที่รู้ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ มิฉะนั้นต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้โจทก์รายเดียวต้องเสียเปรียบเท่านั้น
ผู้ร้องทำการสอบสวนเจ้าหนี้รายที่ 40 ที่ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลาง กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้รายที่ 40 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลภายในอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2543 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 จึงยังอยู่ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน
นิติกรรมที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้แก่ บันทึกท้ายทะเบียนหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2540 อันเป็นการยกทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามข้อตกลงข้างต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 และการที่จำเลยที่ 2 นำเงินของตนไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้แก่เด็กชาย ช. และเด็กหญิง บ. บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 แล้วต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จำเลยที่ 2 ปิดบัญชีเดิมและนำเงินของตนเพิ่มเติมสมทบเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ที่ธนาคารเดิมให้แก่บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการทำให้โดยเสน่หา จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และผู้คัดค้านที่ 1 กับบุตรทั้งสองซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงตกแก่จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 แต่ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่านิติกรรมการตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อผู้คัดค้านที่ 1 รวมทั้งนิติกรรมการให้ซึ่งจำเลยที่ 2 กระทำต่อบุตรทั้งสอง เป็นการกระทำในช่วงเวลาที่ตนอาจรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่ 40 จำเลยที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่รู้ได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้รายที่ 40 ต้องเสียเปรียบ เมื่อเป็นการทำให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่ผู้ร้องจะขอเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นิติกรรมที่ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่ดินอันเป็นการกระทำที่สืบเนื่องจากบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สินจึงต้องถูกเพิกถอนด้วย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นอาจเป็นสินสมรสที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กรณีต้องไปว่ากล่าวกันเมื่อมีการขายทรัพย์สินในชั้นบังคับคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 19 วรรคสาม และมาตรา 123
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองที่ดินจากผู้คัดค้านที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่ในขณะที่รับจำนองนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 2 จึงถือว่ารับจำนองโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
ผู้ร้องทำการสอบสวนเจ้าหนี้รายที่ 40 ที่ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลาง กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้รายที่ 40 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลภายในอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2543 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 จึงยังอยู่ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน
นิติกรรมที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้แก่ บันทึกท้ายทะเบียนหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2540 อันเป็นการยกทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามข้อตกลงข้างต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 และการที่จำเลยที่ 2 นำเงินของตนไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้แก่เด็กชาย ช. และเด็กหญิง บ. บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 แล้วต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จำเลยที่ 2 ปิดบัญชีเดิมและนำเงินของตนเพิ่มเติมสมทบเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ที่ธนาคารเดิมให้แก่บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการทำให้โดยเสน่หา จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และผู้คัดค้านที่ 1 กับบุตรทั้งสองซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงตกแก่จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 แต่ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่านิติกรรมการตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อผู้คัดค้านที่ 1 รวมทั้งนิติกรรมการให้ซึ่งจำเลยที่ 2 กระทำต่อบุตรทั้งสอง เป็นการกระทำในช่วงเวลาที่ตนอาจรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่ 40 จำเลยที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่รู้ได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้รายที่ 40 ต้องเสียเปรียบ เมื่อเป็นการทำให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่ผู้ร้องจะขอเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นิติกรรมที่ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่ดินอันเป็นการกระทำที่สืบเนื่องจากบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สินจึงต้องถูกเพิกถอนด้วย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นอาจเป็นสินสมรสที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กรณีต้องไปว่ากล่าวกันเมื่อมีการขายทรัพย์สินในชั้นบังคับคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 19 วรรคสาม และมาตรา 123
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองที่ดินจากผู้คัดค้านที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่ในขณะที่รับจำนองนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 2 จึงถือว่ารับจำนองโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ อำนาจศาลอุทธรณ์ และการฟ้องคดีอาญาแม้มีการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้จำเลยจะยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม ก็หาทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปไม่
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่แบ่งตามประเภทคดีคงมีแต่เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งมีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นในเขตอำนาจทุกประเภททั้งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงและศาลจังหวัดที่อุทธรณ์มาได้ เมื่อคดีนี้อยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่แบ่งตามประเภทคดีคงมีแต่เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งมีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นในเขตอำนาจทุกประเภททั้งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงและศาลจังหวัดที่อุทธรณ์มาได้ เมื่อคดีนี้อยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13605/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อยาเสพติดเพื่อเสพร่วมกัน ไม่ถือเป็น 'จำหน่าย' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
การที่จำเลยนำเงินจาก ว. แล้วไปซื้อเมทแอมเฟตามีนมาให้ ว. เป็นกรณีที่จำเลยช่วยซื้อเมทแอมเฟตามีนให้ ว. เพื่อนำมาเสพด้วยกันเหมือนเช่นเคย หาใช่เป็นการขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน หรือให้ ตามบทนิยามศัพท์ คำว่า "จำหน่าย" ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ไม่