พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5122-5123/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน และการนับโทษกระทงความผิด
จำเลยออกเช็ค 5 ฉบับ โจทก์นำคดีมาแยกฟ้องเป็น 2 สำนวน สำนวนแรก 2 ฉบับ สำนวนที่สองอีก 3 ฉบับ โดยแต่ละสำนวนโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษจำเลยต่อ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษ มีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน: ศาลฎีกาตัดสินจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้สนับสนุน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 จำคุกจำเลยที่ 3 ตลอดชีวิต และปรับ 3,000,000 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 66 วรรคสาม ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 คงจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 33 ปี 4 เดือน และปรับ 700,000 บาท เป็นการพิพากษาแก้ทั้งบทและโทษ จึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 3 ร่วมอยู่ด้วยกับจำเลยที่ 2 ในการรับเงินค่าเมทเอมเฟตามีนภายหลังจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันส่งมอบเมทแอมฟาตามีนบางส่วนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปลอมตัวไปล่อซื้อถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยทั้งสามแล้ว จำเลยที่ 3 จึงกระทำความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดไม่
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 3 ร่วมอยู่ด้วยกับจำเลยที่ 2 ในการรับเงินค่าเมทเอมเฟตามีนภายหลังจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันส่งมอบเมทแอมฟาตามีนบางส่วนให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปลอมตัวไปล่อซื้อถือได้ว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยทั้งสามแล้ว จำเลยที่ 3 จึงกระทำความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจนเรื่องอายุความ และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
แม้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและละเมิด แต่เห็นได้ชัดว่าเป็นการฟ้องว่าโจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตกแต่งและต่อเติมอาคารพิพาท แล้วจำเลยที่ 1 ทำงานบกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ อันต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยจ้างทำของ จำเลยทั้งสามทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจึงให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ทำงานที่ได้รับจ้างให้โจทก์เรียบร้อยและโจทก์มิได้เสียหายดังฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามให้การต่อมาโดยตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยทั้งสามต้องกล่าวในคำให้การส่วนนี้ให้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานให้แก่โจทก์เมื่อใด และโจทก์พบความชำรุดบกพร่องของงานที่จ้างวันใด แต่จำเลยทั้งสามกลับให้การในส่วนนี้เพียงว่า โจทก์อ้างว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ต่อเติมและตกแต่งอาคารพิพาท 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 และวันที่ 24 มีนาคม 2538 แล้วจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ เช่นนี้ เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด และอายุความเริ่มนับตั้งแต่วันใด ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความที่คู่ความจะต้องนำสืบ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยขณะฟ้องมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด แม้จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนภายหลังก็ต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยขณะฟ้องมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด แม้จำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนภายหลังก็ต้องรับผิดในหนี้ใด ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087 ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนตามมาตรา 1051 ประกอบมาตรา 1077 (2), 1080, 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11794/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลในการกระทำ
แม้จำเลยจะโกรธผู้ตายที่ไล่จำเลยออกจากบ้าน แต่จำเลยออกไปจากบ้านประมาณ 2 ถึง 3 วัน จำเลยจะกลับมาอยู่กับผู้ตายทุกครั้ง ก่อนเกิดเหตุผู้ตายไล่จำเลยออกจากบ้านและจำเลยกลับมาหาผู้ตาย เชื่อว่าเรื่องที่จำเลยถูกผู้ตายไล่ออกจากบ้านไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่จำเลยอาฆาตแค้นผู้ตายถึงขั้นตระเตรียมอาวุธไปฆ่าผู้ตาย ทั้งมีดของกลางเป็นเพียงเครื่องใช้ทางการเกษตรที่จำเลยมีไว้ใช้ในการถางหญ้าและตัดอ้อย การที่จำเลยนำมีดของกลางติดตัวมาด้วยจึงไม่อาจฟังว่าตระเตรียมมาเป็นอาวุธฆ่าผู้ตาย ส่วนที่จำเลยรอจังหวะให้ไฟฟ้าในบ้านปิดแล้วมุดลอดสังกะสีบ้านเข้าไปหาผู้ตาย ก็อาจเป็นเพราะบุตรผู้ตายใช้กุญแจคล้องประตูด้านในไว้ ทำให้จำเลยเข้าบ้านไม่ได้ประกอบกับจำเลยอาจไม่ต้องการให้คนในบ้านซึ่งนอนหลับอยู่ทราบว่าจำเลยแอบกลับมาหาผู้ตาย ผู้ตายจึงให้จำเลยลอดเข้าไปหาดังที่จำเลยแก้ฎีกาก็เป็นได้ นอกจากนี้ได้ความว่าจำเลยคุยกับผู้ตายระยะหนึ่ง เมื่อบุตรของผู้ตายตื่นขึ้นมาเปิดไฟฟ้าแล้วเห็นจำเลยอยู่กับผู้ตาย ก็มีเสียงผู้ตายร้องห้ามบุตรของผู้ตายและผู้ตายกอดด้านหน้าจำเลยไว้ เมื่อผู้ตายปล่อยมือ จำเลยและบุตรของผู้ตายจ้องหน้ากัน หลังจากนั้นบุตรของผู้ตายวิ่งออกจากบ้าน จำเลยจึงใช้มีดฟันผู้ตายแล้ววิ่งหนีไป แสดงว่าก่อนที่บุตรผู้ตายจะวิ่งออกไปตามญาติมาไล่จำเลย จำเลยยังไม่มีความคิดที่จะฆ่าผู้ตายดังที่เคยพูดอาฆาตไว้ เชื่อว่าเหตุที่บุตรของผู้ตายวิ่งออกไปตามญาติเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำเลยลงมือฆ่าผู้ตายโดยใช้มีดของกลางฟันผู้ตายทันทีหลายครั้งด้วยอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9377/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีอาญา: การอนุญาตให้ผู้สืบสันดานดำเนินคดีแทนผู้ตาย การห้ามฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้นาย ช. และนาย ธ. ผู้ร้องทั้งสองเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นบ้านโดยหมายค้นชอบด้วยกฎหมาย แม้หมายค้นระบุที่อยู่ไม่ตรงกัน และการแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนั้น
ปัญหาข้อกฎหมายว่า การค้นและการสอบสวนไม่ชอบ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังนี้ แม้หมายค้นจะระบุให้พันตำรวจโท ป. กับพวกมีอำนาจตรวจค้นบ้านเลขที่ 57/7 ข้างหมู่บ้าน ป.ผาสุก ส่วนบ้านจำเลยเป็นเลขที่ 67 ก็ตาม แต่บ้านจำเลยอยู่ข้างหมู่บ้าน ป.ผาสุก และพันตำรวจโท ป. ได้แนบหลักฐานภาพถ่ายจำเลยขณะอยู่ในบ้านประกอบคำขอเพื่อแสดงว่าประสงค์จะขอหมายค้นบ้านจำเลย การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาออกหมายค้นตามขอ จึงเป็นการให้อำนาจพันตำรวจโท ป. ค้นบ้านจำเลยนั่นเอง การตรวจค้นบ้านจำเลยตามหมายค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย สิ่งของที่ได้จากการค้นย่อมนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานคดีนี้ได้
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 37 ให้ยกเลิกความเดิมตามมาตรา 134 และให้ใช้ข้อความใหม่ตามที่จำเลยอ้างแทน แต่มาตรา 2 กำหนดให้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลัง จึงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยถูกจับส่งตัวให้พนักงานสอบสวนในวันที่ 15 ธันวาคม 2545 พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิและแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น โดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อน ก็หาทำให้การสอบสวนคดีนี้ไม่ชอบแต่อย่างใดไม่
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 37 ให้ยกเลิกความเดิมตามมาตรา 134 และให้ใช้ข้อความใหม่ตามที่จำเลยอ้างแทน แต่มาตรา 2 กำหนดให้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลัง จึงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยถูกจับส่งตัวให้พนักงานสอบสวนในวันที่ 15 ธันวาคม 2545 พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิและแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น โดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อน ก็หาทำให้การสอบสวนคดีนี้ไม่ชอบแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับลายมือชื่อจริง สัญญาจำนองไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ จำเลยไม่เคยมอบอำนาจให้ ว. ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์ในปัญหานี้จึงตกแก่โจทก์ แต่คำเบิกความของพยานโจทก์มีพิรุธหลายประการ เพราะโจทก์ไม่มีสัญญากู้หรือหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงต่อศาล นอกจากนี้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานอ้าง ว. หรือผู้ลงชื่อเป็นพยาน 2 คน ในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นพยานรู้เห็นโดยตรงเป็นพยานสนับสนุนให้ได้ความตามข้ออ้างของตน ทั้งเมื่อศาลตรวจดูลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ลงไว้ในสารบบที่ดิน เห็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม เพราะคุณสมบัติของการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ว. นำที่ดินตามฟ้องไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์ หนังสือสัญญาจำนองจึงไม่ผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำพาคนต่างด้าวเข้าประเทศ - โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ฯ มาตรา 63 เพียงข้อหาเดียว เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การปฏิเสธในชั้นศาล โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกคนต่างด้าวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาในราชอาณาจักรด้านอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายไม่มีหนังสือหรือเอกสารใช้แทนหนังสืออันถูกต้อง ไม่ผ่านเข้ามาทางช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่กำหนด จะนำคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมมาฟังลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 หาได้ไม่
ทางนำสืบของโจทก์เจือสมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับคนต่างด้าวมาจากอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดย ด. ชาวโพนพิสัยติดต่อหาคนงานให้ ม. ภริยาของจำเลยที่ 3 ตามที่ ม. พยานโจทก์เบิกความยืนยัน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าคนงานที่บรรทุกมาจากจังหวัดหนองคายเป็นคนต่างด้าว แต่เมื่อมิใช่นำหรือพาคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามฟ้องไม่ได้
ทางนำสืบของโจทก์เจือสมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับคนต่างด้าวมาจากอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดย ด. ชาวโพนพิสัยติดต่อหาคนงานให้ ม. ภริยาของจำเลยที่ 3 ตามที่ ม. พยานโจทก์เบิกความยืนยัน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าคนงานที่บรรทุกมาจากจังหวัดหนองคายเป็นคนต่างด้าว แต่เมื่อมิใช่นำหรือพาคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีอากรหลังปลดล้มละลาย: ยังมีผลผูกพัน แม้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
คำสั่งปลดจากล้มละลายมีผลทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้ ทั้งทำให้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณีที่ไม่หลุดพ้น รวมทั้งหนี้เกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 77 ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วหรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 ไม่ เมื่อหนี้คดีนี้เป็นหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 2 เคยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ต่อมาจำเลยที่ 2 ถูกปลดจากล้มละลาย จำเลยที่ 2 ก็ยังไม่หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 89 ในคดีนี้ได้ ทั้งถือไม่ได้ว่ามีการขอให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซ้ำอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 15 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13596/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล: การพิจารณาองค์ประกอบตามสภาพสถานที่เกิดเหตุและการยอมความ
แม้ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนสายหลักและเป็นที่เปิดเผย แต่ตามบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุปรากฏว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นถนนพหลโยธินขาขึ้น มีการสร้างสะพานคอนกรีตข้ามคลองอนุศาสนนันทน์และยังไม่แล้วเสร็จ รถยนต์ยังแล่นสัญจรผ่านสะพานไม่ได้ ส่วนถนนพหลโยธินขาล่องสร้างสะพานเสร็จเรียบร้อยและมีการเปิดการจราจรสวนกันที่บริเวณสะพานข้ามคลองดังกล่าว ทั้งบริเวณเกาะกลางถนนที่จำเลยทั้งสองนำผู้เสียหายที่ 4 มากระทำอนาจาร มีการปลูกหญ้าเต็มเกาะกลางถนน แสดงว่าขณะเกิดเหตุบริเวณถนนที่เกิดเหตุยังไม่เปิดให้บุคคลใดขับรถผ่าน ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ขับรถสัญจรไปมาบนถนนที่เกิดเหตุที่จะให้การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 ของจำเลยทั้งสองได้เกิดต่อหน้าบุคคลผู้สัญจรไปมาทั่วไป การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 จึงไม่ได้เกิดต่อหน้าต่อตาผู้คนจำนวนมากหรือที่มีผู้ชุมนุม ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล