พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความจำกัดสิทธิบังคับคดี: โจทก์บังคับคดีเฉพาะทรัพย์จำนองตามสัญญา แม้บังคับแล้วยังขาดหนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีทรัพย์สินอื่น
ตามคำฟ้องในคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง หากยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นออกขายทอดตลาดได้ แต่เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมกลับระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความว่า หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีและให้ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที โดยไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดอีก ไม่ปรากฏข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองตามฟ้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การจำกัดสิทธิเรียกร้องเมื่อบังคับคดีเฉพาะทรัพย์จำนอง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ หนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้เงินกู้รวม 36,130,856.01 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ตกลงร่วมรับผิดในหนี้ 27,265,664.86 บาท โจทก์ตกลงลดยอดหนี้ให้จำเลยทั้งสามเหลือจำนวน 19,152,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์บังคับคดีในยอดหนี้เต็มจำนวนและยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที โดยไม่มีข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามได้อีก และไม่อาจนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีล้มละลาย: เหตุอื่นที่ไม่ควรล้มละลายเปลี่ยนไปถือเป็นประเด็นใหม่
ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. เจ้าหนี้เดิมหากมาฟ้องร้องลูกหนี้ในประเด็นที่เจ้าหนี้เดิมได้ฟ้องร้องและศาลได้วินิจฉัยถึงที่สุดไปแล้วโดยเหตุอย่างเดียวกัน ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ได้
คดีก่อนธนาคาร ท. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลล้มละลายกลางเห็นว่าแม้จำเลยทั้งสองจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยทั้งสองมีรายได้ประจำรวมกันเกินเดือนละ 100,000 บาท ย่อมสามารถชำระหนี้ได้ อีกทั้งหากเจ้าหนี้เดิมยินยอมลดหนี้จำนวนหนึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น สมควรให้จำเลยทั้งสองไปเจรจาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม กรณีจึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุด แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ระยะเวลาผ่านพ้นไป 4 ปีเศษแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่โจทก์ ทั้งไม่ชำระหนี้ใดๆ ให้แก่โจทก์เลย เช่นนี้ หากเป็นจริงดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ก็ถือว่าเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายนั้นอาจจะเปลี่ยนไปในสาระสำคัญ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนธนาคาร ท. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลล้มละลายกลางเห็นว่าแม้จำเลยทั้งสองจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยทั้งสองมีรายได้ประจำรวมกันเกินเดือนละ 100,000 บาท ย่อมสามารถชำระหนี้ได้ อีกทั้งหากเจ้าหนี้เดิมยินยอมลดหนี้จำนวนหนึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น สมควรให้จำเลยทั้งสองไปเจรจาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม กรณีจึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุด แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ระยะเวลาผ่านพ้นไป 4 ปีเศษแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่โจทก์ ทั้งไม่ชำระหนี้ใดๆ ให้แก่โจทก์เลย เช่นนี้ หากเป็นจริงดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ก็ถือว่าเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายนั้นอาจจะเปลี่ยนไปในสาระสำคัญ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นตรวจค้นสถานที่พักอาศัย: การค้นที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้ครอบครองสถานที่อยู่ด้วย และการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
มาตรา 102 บัญญัติให้เจ้าพนักงานค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นหรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ร้องขอมาเป็นพยาน ดังนี้ แม้ขณะเริ่มลงมือค้นเจ้าพนักงานตำรวจจัดให้ จ. ซึ่งมิใช่บุคคลในครอบครัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานในการค้นห้องจำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวเพราะจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ก็ตาม แต่ระหว่างค้นจำเลยที่ 2 ได้กลับมานำเจ้าพนักงานตำรวจค้นห้องจำเลยที่ 2 ด้วยตนเองต่อไปจนกระทั่งค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลาง จึงถือว่าเจ้าพนักงานทำการค้นห้องจำเลยที่ 2 ต่อหน้าจำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองสถานที่ตามมาตรา 102 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706-3718/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสิบสามและบริวารที่เข้าไปบุกรุกที่ดินพิพาท ให้ออกจากที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสิบสามให้การว่า จำเลยแต่ละคนครอบครองโดยสุจริต สงบ และเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมานาน โจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เอกสารสิทธิของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสิบสาม แม้จำเลยทั้งสิบสามจะให้การว่า จำเลยแต่ละคนและบริวารทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่หลายพันไร่มานานตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ก็ไม่อาจแปลได้ว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่สาธารณะ การที่จำเลยทั้งสิบสามนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ทั้งไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลล่างทั้งสองนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้จะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง และคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งสิบสามสำนวนจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ และนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในฟ้องเดิม มีผลทำให้การวินิจฉัยคดีในส่วนฟ้องแย้งที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคลาดเคลื่อนไปจากความจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเสียทั้งหมด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706-3718/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องและประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเพื่อให้เป็นธรรม
ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลล่างนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้คดีนี้จะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง และคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้อันเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีตามฟ้องเดิม ซึ่งมีผลทำให้การวินิจฉัยคดีในส่วนฟ้องแย้งที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่จะมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาแต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องในส่วนของฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเสียทั้งหมดแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการลดโทษคดียาเสพติด: การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน
แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 จะให้ศาลมีอำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร มิใช่บทบังคับ ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งตำหนิรูปพรรณ ก. และ ป. ให้พนักงานสอบสวนทราบ จนมีการออกหมายจับบุคคลทั้งสอง แต่ทางนำสืบของโจทก์และจำเลยไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนสามารถจับกุม ก. และ ป. มาดำเนินคดีได้หรือไม่ อย่างไร คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะกำหนดโทษจำเลยให้น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า - ตัวแทนไม่เปิดเผยชื่อ - ค่าเสียหาย - การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เช่า
จำเลยร่วมรับว่าเงินประกันการเช่าในวันยื่นแบบเสนอราคา เงินค้ำประกันการทำสัญญาและเงินค่าเช่าภายหลังสัญญาเป็นเงินของจำเลยร่วม กับมิได้ปฏิเสธถึงเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่จำเลยอ้างว่าเป็นเงินของจำเลยร่วม จึงต้องฟังว่าเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่จำเลยชำระให้โจทก์เป็นเงินของจำเลยร่วม ส่วนหนังสือขอเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่านั้นโจทก์นำสืบสนับสนุนว่า จำเลยร่วมมีหนังสือถึงโจทก์ขอเปลี่ยนชื่อผู้เช่าอ้างว่ามอบอำนาจให้จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์จึงแจ้งจำเลยร่วมว่าได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว โดย ก. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยร่วมเบิกความรับว่าได้รับเอกสารที่โจทก์แจ้งจริง ทั้งมิได้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของหนังสือขอเปลี่ยนชื่อผู้เช่าการที่จำเลยร่วมนำสืบว่าไม่เคยมีหนังสือขอเปลี่ยนชื่อผู้เช่าถึงโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ที่จำเลยร่วมนำสืบและฎีกาอ้างว่า จำเลยร่วมทำท่าขึ้นทรายในที่ดินที่เช่าและออกเงินค้ำประกันการทำสัญญาเช่าให้จำเลย กับยินยอมให้จำเลยกู้เงินโดยไม่ทำหลักฐานการกู้เพื่อชำระค่าประมูล ค่าเช่าภายหลังสัญญา เพราะจำเลยร่วมได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยเป็นค่าจ้างให้ขนทรายในอัตรา 100 บาท ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร โดยวันหนึ่งขนทรายไม่ต่ำกว่า 3,000 ลูกบาศก์เมตร เนื่องจากบริษัทของจำเลยทำสัญญาขายทรายให้บริษัท ว. ดังนี้ แม้หากจะฟังว่าจำเลยร่วมรับจ้างขนทรายให้บริษัทของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยผู้ว่าจ้างเพียงมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างให้จำเลยร่วมผู้รับจ้างเท่านั้น เป็นหน้าที่ของจำเลยร่วมต้องทำท่าขึ้นทรายเพื่อขนทรายให้บริษัทจำเลยตามที่รับจ้าง เมื่อการเช่าที่ดินตามฟ้อง เป็นการเช่าเพื่อทำท่าขึ้นทรายและจำเลยร่วมเข้าใช้ประโยชน์โดยการทำท่าขึ้นทราย 3 ท่า ในที่ดินที่เช่าด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยร่วมเพื่อขนทรายไปส่งตามที่ว่าจ้าง และเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์ตามสัญญาเป็นเงินของจำเลยร่วมทั้งสิ้นข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยร่วมจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ทั้งยิ่งกลับทำให้พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักมากขึ้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์แทนจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินแต่อย่างใดไม่
เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน - ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ - ความรับผิดในค่าเสียหาย - การหักเงินค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์แทนจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การที่โจทก์ไม่พิจารณาเปลี่ยนชื่อผู้เช่าที่ดินจากจำเลยเป็นจำเลยร่วมตามที่จำเลยร่วมร้องขอ ก็เพราะจำเลยไม่เคยเปิดเผยต่อโจทก์ว่าทำสัญญากับโจทก์ในฐานะตัวแทนของจำเลยร่วม แม้โจทก์จะเพิ่งทราบว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการในการทำสัญญาเช่าที่ดิน ก็เป็นสิทธิของโจทก์จะเลือกฟ้องตัวการหรือตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาได้ เพราะถึงอย่างไรจำเลยในฐานะตัวแทนก็ไม่จำต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์อยู่แล้ว จึงมิใช่โจทก์ประสงค์ที่จะผูกพันกับจำเลยโดยตรงเท่านั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าต่อโจทก์
ปัญหาว่า จำเลยนำสืบแก้ไขเอกสารเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ จำเลยร่วมก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เมื่อจำเลยร่วมมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยร่วมจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
ปัญหาว่า จำเลยนำสืบแก้ไขเอกสารเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ จำเลยร่วมก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เมื่อจำเลยร่วมมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยร่วมจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ต้องหา – การจัดหาทนายความ – การสอบสวน – การริบของกลาง – ลดโทษ
คดีมีโทษถึงประหารชีวิต การสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาจึงอยู่ในบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้ต้องหาที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความให้ เมื่อพนักงานสอบสวนถามแล้วผู้ต้องหาไม่มีทนายความ เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานสอบสวนต้องหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิให้จำเลยทราบแล้ว และสอบถามเรื่องทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธไม่ต้องการทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยตามคำให้การดังกล่าวจำเลยไม่ขอให้การโดยจะไปให้การในชั้นศาล การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง แต่ในบทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคท้าย บัญญัติไว้เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้ ฉะนั้นแม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด เมื่อมีการสอบสวนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ขอให้ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่า จำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่าจำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุ และเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12,000 เม็ด อาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ซองกระสุนปืน 1 ซอง กับกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. จำนวน 11 นัด ดังนั้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใด ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งที่มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำความผิดตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78
โจทก์ขอให้ศาลริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางโดยอ้างว่า จำเลยใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีน แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่าจำเลยถูกจับขณะขับรถยนต์ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุ และเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12,000 เม็ด อาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ซองกระสุนปืน 1 ซอง กับกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. จำนวน 11 นัด ดังนั้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใด ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดซึ่งหมายถึงความผิดฐานที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงไม่อาจริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางของจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งที่มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32
การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำความผิดตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78