พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายละเอียดฟ้องอาญา: เพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาหรือไม่? ศาลฎีกาชี้ ป.วิ.อ.ม.158(5) เน้นให้จำเลยเข้าใจข้อหา ไม่ต้องลงรายละเอียดทุกขั้นตอน
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประสงค์แต่เพียงให้คำฟ้องมีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีก็พอ เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดจำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยิงผู้ตายอย่างไร ใครเป็นผู้ยิงและผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกายด้วยอาวุธชนิดใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเพียงพอของฟ้องอาญา: รายละเอียดการกระทำความผิดและพยานแวดล้อมเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งมูลเหตุจูงใจที่ทำให้จำเลยทั้งสองกระทำความผิด โดยได้ระบุด้วยว่ามีผู้เห็นเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าขณะที่เกิดเหตุการฆ่ามีจำเลยทั้งสองเท่านั้นที่อยู่ในที่เกิดเหตุ คนร้ายไม่มีทางที่จะเป็นผู้อื่น แม้ไม่มีรายละเอียดโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองว่าร่วมยิงอย่างไร ใครเป็นผู้ยิง และผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกาย ด้วยอาวุธปืนชนิดใดทั้งไม่มีข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยิงผู้ตายก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ที่ประสงค์แต่เพียงให้มีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็พอแล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นสืบพยาน เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอด จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9716/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์: สิทธิเรียกร้องของตัวแทนต่อตัวการ และผลของการตายของลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ในคดีล้มละลายซื้อและขายหลักทรัพย์ตามสัญญานายหน้าตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์และกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ ช. ผู้ตายมีลักษณะเป็นตัวการตัวแทน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คักค้านใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เรียกเอาเงินที่ลูกหนี้ได้ทดรองจ่ายไปแทน ช. เป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของตัวแทนเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จึงเป็นกรณีที่สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อ ช. มีกำหนดอายุความเกินกว่า 10 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ช.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านซึ่งมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการติดตามเก็บรวบรวมและรับเงินซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) ประกอบมาตรา 119 ได้รู้ถึงการตายของ ช. นับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2547 เมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. โดยวิธีการปิดหมายวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 จึงยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (5) มูลหนี้พิพาทที่ผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้และแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องจึงยังไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านซึ่งมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการติดตามเก็บรวบรวมและรับเงินซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) ประกอบมาตรา 119 ได้รู้ถึงการตายของ ช. นับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2547 เมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. โดยวิธีการปิดหมายวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 จึงยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (5) มูลหนี้พิพาทที่ผู้คัดค้านมีหนังสือทวงหนี้และแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องจึงยังไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9061/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสั่ง และสั่งว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยไม่จดทะเบียน & สิทธิในการเพิกถอนการจำนองที่ดินจากการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยชอบ
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ แต่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายแล้วดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา เมื่อจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นของตนและไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 เพราะผู้ที่จะจำนองทรัพย์สินได้ต้องเป็นเจ้าของในขณะนั้น การจำนองจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้นต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 1 จดเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากจำเลยที่ 1 มาเป็นชื่อโจทก์นั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น โจทก์จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป. ที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8014/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินอุทิศให้เป็นสาธารณสมบัติ แม้สระน้ำตื้นเขินและมีการถมที่ดิน ก็ยังคงเป็นที่สาธารณะ
บิดาโจทก์ทั้งห้าอุทิศที่ดินพิพาทให้ขุดเป็นสระน้ำประจำหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่แสดงเจตนาอุทิศให้ก็ใช้ได้ แม้ต่อมาสระน้ำจะตื้นเขินจนไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีการถมสระน้ำปลูกสร้างร้านค้าชนบทกับทำสนามเด็กเล่นที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม โดยหาได้เปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคำถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว และผลของการถอนฟ้อง
ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องถอนคำร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา โดยที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อสำนวนคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ความผิดข้อหานี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ความผิดข้อหานี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ที่รับโอนสิทธิไม่ต้องยื่นคำร้องสวมสิทธิก่อน
ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น... ก็เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องมาสามารถบังคับคดีในคดีแพ่งในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิต่างๆ ที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ได้ หาจำต้องยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อในการยึดหน่วงราคาเมื่อทรัพย์สินชำรุด และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารและส่งมอบทาวน์เฮ้าส์พิพาทคืนให้โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าออกไปจากทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง การวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
โจทก์มอบอำนาจให้ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น พร้อมที่ดินกับจำเลยในราคา 1,900,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด โดยจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวและจำเลยชำระเงินให้โจทก์เป็นเวลา 5 งวด เมื่อทาวน์เฮ้าส์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีความชำรุดบกพร่องหลายแห่ง จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์แก้ไขความชำรุดบกพร่องและยึดหน่วงยังไม่ต้องชำระราคาค่าซื้อในงวดสุดท้ายได้ การที่จำเลยยังไม่ชำระราคาค่าซื้องวดสุดท้าย เพราะโจทก์ยังมิได้แก้ไขความชำรุดบกพร่องจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 488
โจทก์มอบอำนาจให้ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น พร้อมที่ดินกับจำเลยในราคา 1,900,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด โดยจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวและจำเลยชำระเงินให้โจทก์เป็นเวลา 5 งวด เมื่อทาวน์เฮ้าส์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีความชำรุดบกพร่องหลายแห่ง จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์แก้ไขความชำรุดบกพร่องและยึดหน่วงยังไม่ต้องชำระราคาค่าซื้อในงวดสุดท้ายได้ การที่จำเลยยังไม่ชำระราคาค่าซื้องวดสุดท้าย เพราะโจทก์ยังมิได้แก้ไขความชำรุดบกพร่องจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522-5523/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ไม่ใช่เพื่อจำหน่าย จึงไม่เข้าข่ายการริบทรัพย์สิน
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ได้ใช้คำนิยามคำว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเท่านั้น จึงมิได้อยู่ในความหมายของความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 3 ดังกล่าว