พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4615/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนรถประจำตำแหน่งข้าราชการ ไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดี
เงินประจำตำแหน่งเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการขณะดำรงตำแหน่งตามที่ระบุ ส่วนเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งข้าราชการ เป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับรถประจำตำแหน่งได้รับในลักษณะคงที่แน่นอนเช่นเดียวกับเงินเดือนและเป็นรายเดือน จึงเป็นรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนของข้าราชการ ชึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14979/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านตัวแทนในไทยต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มาตรา 8 (3) บัญญัติห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีสาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ซึ่งตามบัญชีสามข้อ (11) ได้กำหนดการทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทนไว้ด้วย แต่ยกเว้นไว้ 4 กรณี ได้แก่ (ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ (ข) ... (ค) ... (ง) . โดยไม่มีข้อกำหนดว่าการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535บทบัญญัติมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 กำหนดว่า กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดเรื่องการถือหุ้น การเป็นหุ้นส่วนหรือการลงทุนของคนต่างด้าว การอนุญาตหรือการห้ามคนต่างด้าวในการประกอบธุรกิจบางประเภทหรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวไว้เป็นประการใด ให้ใช้บังคับตามกฎหมายและมิให้นำความใน พ.ร.บ. นี้ไปใช้บังคับในส่วนที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์และการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนของจำเลยทั้งเจ็ดได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตามมาตรา 8 (3) กรณีจึงไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจะเป็นการประกอบธุรกิจบริการอื่น อันจะเป็นการต้องห้ามตามบัญชีสาม ข้อ 21 หรือไม่ การประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์และเป็นที่ปรึกษาการลงทุนของจำเลยทั้งเจ็ด จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 8 (3)
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ให้คำจำกัดความธุรกิจหลักทรัพย์ว่าหมายถึง ธุรกิจหลักทรัพย์ รวม 7 ประเภท ได้แก่ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (4) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และ (5) ... (6) ... (7) ... และให้ความหมายการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ว่า การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นทางค้าปกติ โดยได้รับค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม หรือค่าตอบแทนอื่น การค้าหลักทรัพย์หมายความว่า การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในนามของตนเองเป็นทางค้าปกติโดยกระทำนอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ การที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุน หมายความว่า การให้คำแนะนำแก่ประชาชนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์ หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ เป็นทางค้าปกติ ทั้งนี้โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หมายความว่า การรับหลักทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ไปเสนอขายต่อประชาชน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ยังได้ให้คำจำกัดความของหลักทรัพย์ว่าหมายถึง (1) ตั๋วเงินคลัง (2) พันธบัตร (3) ตั๋วเงิน (4) หุ้น (5) หุ้นกู้ (6) หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม (7) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (8) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ (9) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงุทน และ (10) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ซึ่งหลักทรัพย์ทั้งสิบประเภทมิได้กำหนดหรือจำกัดว่าเป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทยเป็นการเฉพาะ แต่หมายถึงหลักทรัพย์ทั้งสิบประเภททั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้จำเลยทั้งเจ็ดอ้างว่ามิได้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทยเนื่องจากนักลงทุนเป็นชาวต่างประเทศที่มิได้อยู่ในประเทศไทย หลักทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ทั้งไม่มีการนำเงินที่มีการซื้อขายเข้ามาในประเทศไทยจึงไม่เป็นความผิด แต่เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทำการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในนาม ด. ในประเทศไทย จึงเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 4 ซึ่งตามมาตรา 90 บัญญัติว่า การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบกับเมื่อมีการตรา พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ขึ้นบังคับใช้ โดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 และ พ.ศ.2527 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดทุนทั้งตลาดแรกและตลอดรองให้กว้างขวางและเป็นสากลยิ่งขึ้น มีตราสารประเภทต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นและเพื่อควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งกระจายความรับผิดชอบอยู่หลายหน่วยงานให้มีความเป็นเอกภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กฎหมายและหน่วยงานที่ใช้ในการกำกับเดียวกันโดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นหลักทรัพย์ในตลาดทุนไทยหรือต่างประเทศ ทั้งไม่คำนึงว่าผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทยเป็นคนสัญชาติใด ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยมิได้จัดตั้งในรูปบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง และต้องรับโทษตามมาตรา 289
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ให้คำจำกัดความธุรกิจหลักทรัพย์ว่าหมายถึง ธุรกิจหลักทรัพย์ รวม 7 ประเภท ได้แก่ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (4) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และ (5) ... (6) ... (7) ... และให้ความหมายการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ว่า การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นทางค้าปกติ โดยได้รับค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม หรือค่าตอบแทนอื่น การค้าหลักทรัพย์หมายความว่า การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในนามของตนเองเป็นทางค้าปกติโดยกระทำนอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ การที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุน หมายความว่า การให้คำแนะนำแก่ประชาชนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์ หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ เป็นทางค้าปกติ ทั้งนี้โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หมายความว่า การรับหลักทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ไปเสนอขายต่อประชาชน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ยังได้ให้คำจำกัดความของหลักทรัพย์ว่าหมายถึง (1) ตั๋วเงินคลัง (2) พันธบัตร (3) ตั๋วเงิน (4) หุ้น (5) หุ้นกู้ (6) หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม (7) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (8) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ (9) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงุทน และ (10) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ซึ่งหลักทรัพย์ทั้งสิบประเภทมิได้กำหนดหรือจำกัดว่าเป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทยเป็นการเฉพาะ แต่หมายถึงหลักทรัพย์ทั้งสิบประเภททั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้จำเลยทั้งเจ็ดอ้างว่ามิได้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทยเนื่องจากนักลงทุนเป็นชาวต่างประเทศที่มิได้อยู่ในประเทศไทย หลักทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ทั้งไม่มีการนำเงินที่มีการซื้อขายเข้ามาในประเทศไทยจึงไม่เป็นความผิด แต่เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทำการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในนาม ด. ในประเทศไทย จึงเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 4 ซึ่งตามมาตรา 90 บัญญัติว่า การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จะกระทำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งในรูปบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบกับเมื่อมีการตรา พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ขึ้นบังคับใช้ โดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 และ พ.ศ.2527 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดทุนทั้งตลาดแรกและตลอดรองให้กว้างขวางและเป็นสากลยิ่งขึ้น มีตราสารประเภทต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นและเพื่อควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งกระจายความรับผิดชอบอยู่หลายหน่วยงานให้มีความเป็นเอกภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กฎหมายและหน่วยงานที่ใช้ในการกำกับเดียวกันโดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นหลักทรัพย์ในตลาดทุนไทยหรือต่างประเทศ ทั้งไม่คำนึงว่าผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทยเป็นคนสัญชาติใด ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 90 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันประกอบธุรกิจหลักทรัพย์โดยมิได้จัดตั้งในรูปบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้โดยได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง และต้องรับโทษตามมาตรา 289
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14628/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์เกี่ยวกับพยานหลักฐานเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 ปี ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป จำคุก 3 เดือน รวมจำคุก 3 ปี 3 เดือน และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลล่างให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: เจ้าของทรัพย์สินต้องพิสูจน์สิทธิ หากพิสูจน์ไม่ได้ทรัพย์สินตกเป็นของกองทุน
ตามทางไต่สวนผู้คัดค้านนำสืบไม่ได้ว่าทรัพย์สินที่ผู้ร้องขอให้ริบผู้คัดค้านเป็นเจ้าของที่แท้จริง กลับนำสืบเองว่าเป็นทรัพย์สินของ ณ. และ ว. ซึ่ง ณ. และ ว. ไม่ได้ยื่นคำร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินดังกล่าวด้วยตนเอง แม้ผู้คัดค้านจะเป็นบิดาของ ณ. และสามีของ ว. ก็ไม่อาจขอคืนทรัพย์สินแทนได้ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5548/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายหาเสียงเลือกตั้ง: จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายทั้งหมด แม้จะได้รับจากบุคคลอื่น
รถยนต์ที่ อ. นำมาแล่นหาเสียง โดย ค. ผู้สมัครในทีมเดียวกับจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างมาหาเสียงให้จำเลยและทีมงาน มีแผ่นป้ายหาเสียงของจำเลยและทีมงานติดตั้งอยู่ และเมื่อมีค่าใช้จ่ายในการที่ อ. นำรถยนต์แล่นหาเสียง ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อว่าจ้างของ ค. หรือจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างเอง จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการว่าจ้างตามกฎหมาย แม้ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเมื่อนำมารวมกับบัญชีค่าใช้จ่ายที่จำเลยได้ยื่นไว้แล้วจะมีจำนวนไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนดก็ตาม การที่จำเลยไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาล และความรับผิดชอบต่อทนายความที่แต่งตั้ง
ตาม ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 หมวด 1 วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ไม่นำวิธีพิจารณาคดีสามัญมาใช้บังคับ จำเลยได้ยื่นคำให้การฉบับแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ก่อนวันกำหนดนัดไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน จึงยังมีเวลาที่จำเลยจะยื่นคำร้องแก้ไขคำให้การได้อีกจนกว่าจะถึงวันนัด ครั้นถึงวันนัด คู่ความประสงค์จะเจรจาตกลงกันศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนคดีไปเป็นวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ดังนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้อีกจนถึงวันดังกล่าว แม้ตาม ป.วิ.พ มาตรา 193 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ก็ตาม แต่กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ภายในกำหนดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยเลื่อนยื่นคำให้การได้ซึ่งหมายรวมถึงการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ด้วย ทั้งปรากฏว่าในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นวันนัดไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน ที่เลื่อนมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นได้จ่ายสำเนาให้ พ. ทนายโจทก์รับสำเนาแล้ว ทนายโจทก์ไม่ค้าน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามคำร้องดังกล่าว คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการสั่งโดยชอบ หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบ โจทก์ต้องโต้แย้ง แต่โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งคำสั่งให้รับคำให้การอันเป็นคำคู่ความเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกจากที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงในรายงานหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งเป็นหนังสือ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยดังกล่าวเพราะทนายโจทก์ฉ้อฉลไม่แจ้งให้โจทก์ทราบนั้น เห็นว่า โจทก์เป็นผู้แต่งตั้ง พ. เป็นทนายความของโจทก์มีอำนาจในการว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ รวมทั้งการจำหน่ายสิทธิของโจทก์ได้ด้วย โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันและรับผิดชอบในสิ่งที่ พ. ตัวแทนของโจทก์กระทำไปภายในขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมายด้วย ข้ออ้างของโจทก์ที่ปฏิเสธไม่รับรู้การปฏิบัติหน้าที่ของ พ. จึงไม่มีเหตุผลรับฟัง ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยไว้โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22746/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่เรียกเงินจากผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง และการกระทำผิดฐานกรรโชกทรัพย์ โดยข้อเท็จจริงการจ่ายเงินหลังแจ้งความไม่มีผลต่อการลงโทษ
จำเลยขับรถจักรยานยนต์มาที่วินรถจักรยานยนต์พูดว่า หากใครไม่จ่ายไม่ให้จอด ระวังจะจำเบอร์ไม่ได้ จำซอยไม่ได้ ขับเงียบ ๆ ใกล้จะหมดเวลาของพวกมึงแล้ว มีลักษณะเป็นการข่มขู่ผู้เสียหายทั้งสามว่าอาจถูกทำร้าย หลังจากมีการแจ้งความร้องทุกข์แล้วแต่ไม่มีการควบคุมตัวจำเลยในระหว่างดำเนินคดี ผู้เสียหายทั้งสามเกรงจะได้รับอันตรายและถูกห้ามขับรถจักรยานยนต์รับจ้างในซอยเกิดเหตุจึงต้องจำยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยวันละ 15 บาท ตามที่จำเลยเรียกร้อง แต่ข้อเท็จจริงที่ผู้เสียหายทั้งสามจำยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยวันละ 15 บาท ภายหลังมีการแจ้งความร้องทุกข์แล้วนั้น ปรากฏแต่ในทางพิจารณาโดยโจทก์ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ จึงต้องห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยได้แต่ในความผิดฐานพยายามกรรโชกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคแรก ประกอบมาตรา 80 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22674/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้ายาเสพติด: การครอบครองยาเสพติดเมื่อเดินทางเข้าประเทศถือเป็นการนำเข้า แม้แหล่งที่มาไม่ชัดเจน
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้บทนิยามคำว่า "นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเดินทางจากประเทศกัมพูชาเข้ามาในประเทศไทย โดยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางติดตัวมาด้วยดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะได้เมทแอมเฟตามีนมาจากใครและด้วยวิธีการอย่างไร หรือเป็นการนำติดตัวจากประเทศไทยดังที่จำเลยอ้างหรือไม่ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แหล่งที่มาและการได้มาซึ่งเมทแอมเฟตามีนก่อนการนำเข้าจึงมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15911/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยตัวแทน การรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก และการจดทะเบียนรถยนต์
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทของจำเลยที่ 1 โดยติดต่อกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ไปเกินอำนาจหรือนอกขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ได้มอบหมาย โดยขายต่ำกว่าราคาต้นทุน และไม่มีอำนาจรับเงินแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ทางปฏิบัติของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการมีมูลเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทน ที่ให้ส่วนลดและของแถมแก่ลูกค้าและมีอำนาจรับเงินแทนจำเลยที่ 1 อยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนดังเช่นที่จำเลยที่ 2 เคยรับเงินค่าจองรถยนต์จาก พ. ไปแล้ว ไม่มีปัญหาอย่างใด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปภายในขอบอำนาจของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 และเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกับโจทก์โดยเห็นแก่อามิสสินจ้างตามมาตรา 825 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา 823 และมาตรา 825 เพื่อให้ตนเองพ้นความรับผิดตามที่ฎีกาได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยครบถ้วนและโดยสุจริตแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์และมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ที่ไม่ใช่ของเจ้าหนี้: ฎีกานอกประเด็นและไม่เป็นสาระต่อคดี
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดโดยอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของต้นยางพาราที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ การที่ผู้ร้องฎีกาว่า ต้นยางพาราพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องถูกห้ามยึดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ประกอบ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 25 จึงเป็นฎีกานอกคำร้องและนอกประเด็น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง