คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวุฒิ โลหชิตรานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิครอบครองเป็นเหตุให้ฟ้องได้
โจทก์บรรยายคำฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลง อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงชอบที่เสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามภูมิลำเนาปัจจุบันของผู้ถูกฟ้องคดี และผลกระทบต่อการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
เดิมขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 37 ต่อมาในปี 2540 โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาในปี 2545 จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 43 การติดต่อยื่นคำร้องและคำแถลงต่อศาลหลังจากนั้นจำเลยระบุภูมิลำเนาคือบ้านเลขที่ 43 ทั้งสิ้น การที่ต่อมาเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องได้กระทำในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเกือบ 10 ปี เจ้าพนักงานศาลน่าจะตรวจสอบที่อยู่ของจำเลยในสายงานว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และแจ้งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยปิดหมายตามภูมิลำเนาเดิมคือบ้านเลขที่ 37 ซึ่งจำเลยย้ายที่อยู่ออกไปแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบนัดแล้ว การที่จำเลยมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลเพิ่มตามนัด จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับภาระจำยอมต้องเป็นเจ้าของที่ดิน การใช้ทางต่อเนื่องไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม
ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องภาระจำยอม: เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ฟ้องบังคับได้ การได้สิทธิภาระจำยอมจากการครอบครอง
ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้นผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจำต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียน จ. ซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10899-10901/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์ ตัวการ-ผู้สนับสนุน การพิสูจน์เจตนาและบทบาทของจำเลย
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์สำเร็จ นับแต่จำเลยที่ 1 เริ่มพรากผู้เยาว์ขึ้นรถยนต์กระบะบริเวณหลังหอพักโดยมีเจตนาเพื่อการอนาจาร ดังนั้น ไม่ถือว่าผู้เยาว์อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ร่วมรู้เห็นหรือคบคิดกับจำเลยที่ 1 ในการพรากผู้เยาว์ตั้งแต่ต้น จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการพรากผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ขับรถและเรือพาจำเลยที่ 1 และผู้เยาว์ไปส่งที่บ้าน ช. เป็นระยะเวลาหลังมีการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์สำเร็จแล้ว ไม่ใช่ก่อนหรือขณะกระทำความผิด จึงหาใช่เป็นตัวการหรือผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 83 และ 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9230/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้บริโภค, สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, อายุความ, การบอกเลิกสัญญา, หน้าที่ของผู้ขาย
จำเลยเป็นผู้เสนอขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ ส. ป. และ ฉ. บุคคลทั้งสามจึงเป็นผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 3 ซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 4 (4) เมื่อผู้บริโภคทั้งสามได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดสัญญาจะซื้อจะขายของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายและได้ยื่นคำร้องขอต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอัยการ เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยในศาลและมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคทั้งสามที่ร้องขอได้ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์นำเอกสารมาสืบ จำเลยไม่ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารนั้นได้ตามมาตรา 93 (4) ((93 (1)) (เดิม))
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เป็นเรื่องละเมิดสิทธิผู้บริโภค แต่ตามคำบรรยายฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคใช้สิทธิของผู้บริโภคทั้งสามที่ถูกจำเลยละเมิดสิทธิโดยไม่ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามกำหนดและส่งมอบจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้บริโภคทั้งสามตามสัญญา เป็นการใช้สิทธิดำเนินคดีแทนผู้บริโภคทั้งสามในการบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงต้องถืออายุความตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่อายุความละเมิดตามที่จำเลยอ้างต่อสู้ เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างผู้บริโภคทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยไม่พร้อมที่จะชำระหนี้แก่ผู้บริโภคทั้งสาม ผู้บริโภคทั้งสามจึงยังไม่ต้องชำระหนี้ที่เหลือแก่จำเลย เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่ผู้บริโภคทั้งสามภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากจำเลยไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่เพิกเฉย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่รับไว้ตามมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหลังผิดนัดชำระหนี้ และความรับผิดเบี้ยประกันภัยหลังฟ้อง
จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาการคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยแก่จำเลยจากอัตราคงที่ร้อยละ 5.75 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี การปรับอัตราดอกเบี้ยภายหลังที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้และยังไม่พ้นกำหนดเวลา 3 ปี ที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่กับจำเลยดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยอาศัยเหตุที่จำเลยผิดนัดตามข้อตกลงในสัญญา หาใช่เป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามปกติโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญากู้เงินไม่ ดังนั้น เมื่อบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง มีระยะเวลาที่แน่นอน ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
สัญญากู้เงินกำหนดให้ผู้กู้ต้องจัดการเอาประกันภัยทรัพย์ที่จำนองโดยผู้ให้กู้เป็นผู้รับประโยชน์ และในกรณีผู้กู้มิได้จัดทำประกันภัย แต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดทำประกันภัยแทนผู้กู้ ผู้กู้ยินยอมชำระเงินค่าธรรมเนียมและเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนการชำระหนี้ตามสัญญากู้ กรณีดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระเงินแทนไปแล้ว แต่ที่โจทก์ขอมาตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยหลังจากวันฟ้อง กรณีเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคตและจะถือว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ของตนยังไม่ได้ จึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว ศาลชอบที่จะยกคำขอส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์-คำร้องคุ้มครองประโยชน์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเหตุสมควรขยายเวลาอุทธรณ์ แต่ไม่อาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ประกอบกับผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งแรก จึงมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้อง
คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8688/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญากู้เงิน & การบังคับจำนอง: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับ & แก้ไขคำพิพากษาหากผิดพลาด
เมื่อสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
การที่ผู้กู้มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองไว้แก่ผู้ให้กู้ โดยมีข้อตกลงให้ผู้ให้กู้จัดการทำประกันภัยแทนผู้กู้ได้ และผู้กู้ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมและค่าเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้น กรณีดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่ที่โจทก์ขอมาเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้อง จึงเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ อันเป็นหนี้ในอนาคตจะถือว่าจำเลยที่ 1 และนาย ช. ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนนั้นยังไม่ได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และนาย ช. ตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้และบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นการบังคับจำนองว่า เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยทั้งสองโดยชอบแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ หากไม่พอย่อมยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 และนาย ช. ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ แต่ในตอนพิพากษากลับมิได้พิพากษาเกี่ยวกับการบังคับจำนอง คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8371/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. กับการทำไม้หวงห้าม: ที่ดิน ส.ป.ก. ยังคงเป็นที่ดินของรัฐ
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 36 ทวิ วรรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาก็เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์ เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิใช้สอย จำหน่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ดินของรัฐ แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4) ก็ตาม ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดิน วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินจากกรมป่าไม้เป็น ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามมาตรา 36 ทวิ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 2 ไม่อาจถือได้ว่า ส.ป.ก. เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอื่นตามความหมายของ ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) ที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินที่มิได้มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน การที่ ส.ป.ก. ออกเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. จัดสรรในที่ดินของรัฐให้แก่เกษตรกร จึงเป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น ดังนั้นที่ ส. ได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตามที่บัญญัติในมาตรา 3 (2) แห่ง ป.ที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตาม ป.ที่ดิน และยังคงเป็นป่าตามมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของ ส. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ
of 15