พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยจากเหตุเวนคืนที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ร่วมกัน
ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจ้างพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้าน โจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่จะถูกเวนคืนเพื่อทำถนนเพียงแต่ยังไม่มีการสำรวจแนวเขตถนนที่แน่นอน เมื่อภายหลังมีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงผ่านที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสี่จึงไม่สามารถส่งมอบที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์เพื่อได้ใช้ประโยชน์ตามสัญญา การชำระหนี้ย่อมตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตา 372 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระคืนจากจำเลยทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้ยังมิได้ส่งมอบให้ผู้รับ
จำเลยกับพวกว่าจ้างให้ ธ. นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเห็นว่าการกระทำของจำเลยกับพวกที่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองก่อนที่จำเลยกับพวกจะส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ธ. นั้น เป็นการกระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดสำเร็จแล้ว โดยที่จำเลยกับพวกยังไม่ต้องส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ธ. จำเลยกับพวกจึงเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง มิใช่เป็นผู้ก่อให้ ธ. กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด เนื่องจากความผิดฐานเป็นผู้ใช้จะต้องยังไม่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกับพวกเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยเพียงแต่โต้เถียงว่าจำเลยไม่เกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีน จึงเห็นว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3157/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ โดยอาศัยหลักกฎหมายอาญา มาตรา 3(1)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุจำนวน 130 เม็ดครึ่ง น้ำหนัก 9.13 กรัม โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเท่าใด กรณีจึงต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่และมาตรา 66 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่โดยมาตรา 65 วรรคสี่ ซึ่งเป็นบทหนักมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาทแตกต่างจากมาตรา 65 วรรคสอง ตามกฎหมายเดิมที่มีระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียว โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่าต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกำลังรับโทษอยู่ร้องขอ ศาลจึงชอบที่จะกำหนดโทษจำเลยที่ 1 เสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 2 กำลังรับโทษอยู่และสำนวนความปรากฏแก่ศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมกำหนดโทษใหม่สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตาม ป.อ.มาตรา 3 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11186/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด ส่วนจำเลยอื่นมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลพิจารณาโทษและลดโทษตามกฎหมาย
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้ว่าพวกของตนจะนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งให้แก่ผู้ซื้อ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์มายังจุดนัดและดักรอผู้ซื้อเพื่อพาไปหาพวกของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จ จึงเป็นตัวการมิใช่เพียงผู้สนับสนุน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่ ผ. จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับ ผ. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่สายลับ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง 615 เม็ด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีน้ำหนัก 56.30 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง แล้ว และเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 615 เม็ด ซึ่งตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางพบปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม ปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนตามรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาตรวจหาสารบริสุทธิ์แล้วจึงนำผลที่ได้มาคำนวณหาปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลาง 600 เม็ด ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่กำหนดปริมาณสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษโดยการคำนวณ จึงคำนวณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่ามีปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์ 11.260 กรัม โดยไม่มีข้อสงสัยว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวอาจมีส่วนผสมที่แตกต่างกับเมทแอมเฟตามีนส่วนอื่นที่จะทำให้ปริมาณสารบริสุทธิ์คำนวณได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่ ผ. จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับ ผ. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด ให้แก่สายลับ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง 615 เม็ด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มีน้ำหนัก 56.30 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง แล้ว และเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 615 เม็ด ซึ่งตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางพบปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 11.542 กรัม ปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนตามรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาตรวจหาสารบริสุทธิ์แล้วจึงนำผลที่ได้มาคำนวณหาปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลาง 600 เม็ด ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่กำหนดปริมาณสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษโดยการคำนวณ จึงคำนวณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 600 เม็ด ดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่ามีปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์ 11.260 กรัม โดยไม่มีข้อสงสัยว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวอาจมีส่วนผสมที่แตกต่างกับเมทแอมเฟตามีนส่วนอื่นที่จะทำให้ปริมาณสารบริสุทธิ์คำนวณได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10783/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ไม่เข้าข่ายความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187 หรือโกงเจ้าหนี้
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187 ต้องเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด หรือที่ตนรู้ว่าน่าจะถูกยึดหรืออายัด จึงต้องเป็นกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว และจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าว เพื่อจะมิให้การเป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล แต่คดีนี้ขณะที่จำเลยขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 5052 ให้แก่ พ. นั้น ยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยกับพวกชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10632/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อซื้อบริการค้าประเวณีเพื่อจับกุมผู้กระทำผิด และความผิดฐานจัดหาเด็กเพื่อค้าประเวณี
การใช้เจ้าพนักงานตำรวจไปล่อซื้อบริการค้าประเวณีเป็นเพียงการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการแสวงหาหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยตามอำนาจใน ป.วิ.อ. มาตรา 2 (10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยพร้อมด้วยพยานหลักฐาน ดังนั้นการใช้เจ้าพนักงานตำรวจไปล่อซื้อบริการค้าประเวณีจากจำเลยจึงเป็นเพียงวิธีพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ จึงมิใช่เป็นการก่อหรือใช้ให้จำเลยกระทำความผิด
การที่จำเลยเป็นธุระจัดหาเด็กหญิง ก. ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เพื่อทำการค้าประเวณีให้แก่ ณ. แม้ ณ. ยังไม่ได้ร่วมประเวณีกับเด็กหญิง ก. ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
การที่จำเลยเป็นธุระจัดหาเด็กหญิง ก. ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เพื่อทำการค้าประเวณีให้แก่ ณ. แม้ ณ. ยังไม่ได้ร่วมประเวณีกับเด็กหญิง ก. ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากยักยอกทรัพย์เป็นลักทรัพย์ และอำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้มีการถอนคำร้องทุกข์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 182 กระทง เป็นจำคุก 364 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้ไขกำหนดโทษ ถือว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์มีเพียงคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดกฎหมายเฉพาะ แม้มีข้อยกเว้นทั่วไป ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องก่อสร้างทางขึ้นที่จอดรถอาคารพิพาทมีความสูง 2.03 เมตร แม้จะไม่ได้ระยะความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ.2521 ที่กำหนดให้ระยะดิ่งระหว่างพื้นดินถึงส่วนต่ำสุดของคานหรือเพดานหรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร แต่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทางขึ้นที่จอดรถที่ผู้ร้องก่อสร้างจึงถูกต้องตามกฎหมาย การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่หยิบยกกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย แล้วชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะหากอนุญาโตตุลาการนำข้อกฎหมายมาประกอบการวินิจฉัยด้วย ก็จะปรากฏให้เห็นได้ว่าการก่อสร้างของผู้ร้องมิได้เป็นความผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ร้องไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีที่ผู้ร้องอุทธรณ์ในทำนองว่า การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ปัญหานี้แม้ผู้ร้องไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นพิพาทในชั้นการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องก็สามารถยกขึ้นอ้างเป็นประเด็นพิพาทในชั้นศาลได้ ผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความผิดพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ สำหรับเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบ
เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 และมาตรา 8 ทวิ ต่างเป็นความผิดสำเร็จได้ในตัวเองแยกจากกันได้ การพิจารณาว่าจำเลยจะกระทำความผิดตามมาตรา 8 ทวิ หรือไม่ จึงไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 7 มาก่อน และมาตรา 8 ทวิ ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าใช้บังคับใช้กับอาวุธปืนที่มีหรือไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของนายทะเบียนประทับ ดังนั้น ต้องถือว่าใช้บังคับกับอาวุธปืนทั้งที่มีและไม่มีเครื่องหมายประจำอาวุธปืนของนายทะเบียนประทับ ซึ่งกรณีปกติย่อมเป็นความผิดตามบทบัญญัติ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เมื่อมาตรา 8 ทวิ วรรคสาม บัญญัติว่า ความในมาตรานี้มิให้บังคับแก่ (1) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหาร และตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างปฎิบัติหน้าที่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านถือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นพาอาวุธปืนของกลางติดตัวออกไประงับเหตุทะเลาะวิวาทอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย แม้อาวุธปืนของกลางจะไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนและจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางก็ตาม ย่อมไม่ใช้บังคับแก่จำเลยในกรณีนี้ด้วย ดังนั้น การกระทำของจำเลยส่วนนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และการบังคับตามคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง
คดีนี้ในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะกำหนดโทษและเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกต้องโดยระบุวรรคของ มาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบทบัญญัติที่อ้างอิงประกอบภายในวงเล็บ ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกใช้ไม้ ขวดสุรา และก้อนอิฐเป็นอาวุธทุบตีและร่วมกันชกต่อยทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง
เมื่อคดีส่วนอาญาต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกใช้ไม้ ขวดสุรา และก้อนอิฐเป็นอาวุธทุบตีและร่วมกันชกต่อยทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง