คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวุฒิ โลหชิตรานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: ศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขคำฟ้องได้หากไม่ชัดเจน แม้ไม่จำเป็นแต่ไม่ทำให้เสียหายต่อสิทธิ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท เป็นคดีมโนสาเร่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 189 (1) ซึ่งกรณีโจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 191 วรรคสอง ซึ่งเป็นวิธีพิจารณาความที่กำหนดไว้สำหรับการพิจารณาคดีมโนสาเร่ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้ดุลพินิจศาลที่จะสั่งหรือไม่สั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ ศาลพิจารณาจากข้อหาที่โจทก์ฟ้องแต่ละกระทง
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ก. และ 1 ข. ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชปลอม ส่วนฟ้องในข้อ 1 ค. โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมฉบับเดิมเท่านั้น มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการขึ้นใหม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องข้อ 1 ค. จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมฐานเดียวตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 266 (1) เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานขับรถโดยประมาท จำคุก 4 ปี ฐานหลบหนีและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำคุก 2 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี 2 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ลดโทษให้จำเลยที่ 1 หนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 คงลงโทษฐานขับรถโดยประมาทจำคุก 3 ปี ฐานหลบหนีและไม่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จำคุก 45 วัน รวมจำคุก 3 ปี 45 วัน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าเหตุตามฟ้องไม่ได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบเหตุ หากพ้นกำหนดสิทธิยื่นคำร้องจะขาดเสีย
ผู้ร้องทั้งสามทราบประกาศการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ร้องทั้งสามโดยชอบ และทราบเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 อันเป็นวันขายทอดตลาดแล้ว แต่ผู้ร้องทั้งสามมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบห้าวันที่ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสามกำหนด ผู้ร้องทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13992/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาฎีกาในคดียาเสพติด: การอนุญาตฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน และการตีความความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 จะเป็นบทหนัก แต่ความผิดตามบทมาตราดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 ด้วย ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ แต่ฎีกาของจำเลยมิได้มีคำขอโดยทำเป็นคำร้องมาพร้อมกับฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาของจำเลยไว้วินิจฉัย แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น พอแปลได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาพิจารณารับฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13813/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด และการลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และ "กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหยกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ก็ยังคงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13813/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและกฎหมายจราจร/ขนส่ง การพิจารณาความผิดกรรมเดียวและความผิดตามกฎหมายที่ลงโทษหนักที่สุด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลย ในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องข้อหาตามพ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ก็ยังคงลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง ประกอบพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13225/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดขัดเจตนารมณ์ พ.ร.บ.อาคารชุด: เจ้าของโครงการต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
การที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 (เดิม) บัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวม และที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด กับต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษา และการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 นั้น ก็เพื่อจะได้นำเงินดังกล่าวไปเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วม ซึ่งเจ้าของร่วมผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางย่อมรวมถึงบริษัท ว. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและเจ้าของห้องชุดพิพาทในขณะจดทะเบียนอาคารชุดและยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นด้วย การที่จำเลยออกข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดยกเว้นให้เจ้าของโครงการอาคารชุดซึ่งมีห้องชุดไว้เพื่อขาย ไม่ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด จึงเป็นการออกข้อบังคับที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ข้อบังคับในส่วนดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ บริษัท ว. ต้องรับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10565/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ และการแยกกรรมความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยรวบรวมขายเมล็ดพันธุ์พืชชนิดข้าวเปลือกเจ้าซึ่งเสื่อมคุณภาพ ให้แก่ผู้ใด เมื่อใด สถานที่ใด จำนวนและราคาเท่าไร ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องก็สามารถเข้าใจข้อหาได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
จำเลยฎีกาว่าไม่ได้ติดฉลากวันสิ้นอายุการใช้ทำพันธุ์เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่ผ่านการทดสอบความงอก และจำเลยไม่ได้เตรียมเมล็ดพันธุ์พืชไว้จำหน่ายหรือได้จำหน่ายให้แก่ผู้ใด เป็นฎีกาในทำนองปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพและเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ฎีกาดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 4 ซึ่งไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ
ความผิดฐานเป็นผู้รับใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าโดยไม่ระบุเดือนและปีที่รวบรวม เดือนและปีที่สิ้นอายุการใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 มาตรา 22 (2) และความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพตามมาตรา 36 มีเจตนากระทำความผิดที่แตกต่างกัน จึงเป็นคนละกรรมกัน แม้จำเลยยังไม่ได้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวม ก็ไม่ทำให้เป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10565/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมโดยไม่ระบุรายละเอียดและรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพ เป็นความผิดคนละกรรม
ความผิดฐานเป็นผู้รับใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าโดยไม่ระบุเดือนและปีที่รวบรวม เดือนและปีที่สิ้นอายุการใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ตาม พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 มาตรา 22 (2) และความผิดฐานรวบรวมเมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพตามมาตรา 36 มีเจตนากระทำความผิดที่แตกต่างกัน จึงเป็นคนละกรรมกัน แม้จำเลยยังไม่ได้จำหน่ายเมล็ดพันธ์ที่รวบรวมก็ไม่ทำให้เป็นความผิดกรรมเดียวกัน
เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพที่รวบรวมเป็นข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 3 จำนวน 72 กิโลกรัม และพันธุ์ชัยนาท 1 อีก 72 กิโลกรัม รวม 144 กิโลกรัม การกระทำของจำเลยทำให้ผลิตผลของพันธุ์พืชไม่ได้มาตรฐานและเป็นการหลอกลวงเกษตรกรให้ได้รับความเสียหายอันเป็นผลเสียหายโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จึงชอบแล้ว
of 15