คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวุฒิ โลหชิตรานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10390/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระหนี้ค่าส่วนกลางอาคารชุด ผู้ประมูลซื้อต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขการขายทอดตลาด
ในการประกาศขายทอดตลาดห้องชุดพิพาทได้ระบุเงื่อนไขการขายทอดตลาดไว้ว่า "...ผู้ซื้อได้ต้องรับผิดชอบเรื่องภาระหนี้สิน (หากมี) ที่มีต่อนิติบุคคลอาคารชุดด้วย" ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกรมบังคับคดีที่กำหนดให้ระบุข้อความลักษณะดังกล่าวในกรณีที่ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นอาคารชุดเพื่ออนุวัตรตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ห้องชุดพิพาทได้จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวจะปฏิเสธอ้างว่าไม่ทราบเงื่อนไขนี้ไม่ได้ ทั้งก่อนประกาศขายทอดตลาด จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งยอดหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจำนวน 1,264,798.51 บาท ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระอยู่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้ว ซึ่งโจทก์สามารถขอตรวจสอบภาระหนี้สินดังกล่าวได้จากเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนเข้าสู้ราคาได้อยู่แล้ว เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ในสำนวนบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งเป็นข้อมูลสำคัญที่โจทก์ต้องนำมาประกอบการตัดสินใจเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าไม่ทราบว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทมีภาระหนี้สินจำนวนเท่าใดจึงฟังไม่ขึ้น เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางพร้อมเบี้ยปรับที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทคนเดิมค้างชำระให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองรายการหนี้หรือการปลอดหนี้ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9984/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์เห็นพ้องว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ จึงจำหน่ายคดี และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้องแม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี แต่ศาลอุทธรณ์ก็ให้เหตุผลในการจำหน่ายคดีว่า เป็นเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นเช่นกัน มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9244/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญา ผลร้ายเกิดกับผู้ที่ไม่ได้ระบุในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผลร้ายเกิดแก่บุคคลอื่นซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายผู้เสียหายและฐานทำร้ายบุคคลอื่นโดยพลาดไป เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยลงโทษได้ทุกบทหรือบทหนึ่งบทใดได้ ดังนั้น ข้อเท็จจริงว่า การกระทำของจำเลยทำให้ผู้ใดได้รับผลร้ายจึงเป็นข้อสำคัญ การที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องว่าผลร้ายเกิดเหตุแก่ผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จึงลงโทษจำเลยฐานทำร้ายบุคคลที่โจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องมิได้ และเมื่อฐานพยายามกระทำผิดลหุโทษต่อผู้เสียหายไม่ต้องรับโทษ ศาลก็ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8928/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของกฎกระทรวงที่แก้ไขภายหลังต่อความผิดเดิม: ซองกระสุนปืนเกิน 10 นัด
แม้ซองกระสุนปืนของกลาง สามารถบรรจุกระสุนได้ 15 นัด ซึ่งเกินกว่า 10 นัด อันเป็นซองกระสุนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 12 (2) ซึ่งเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ก็ตาม แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2552) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2552 ให้ยกเลิก กฎกระทรวงฉบับที่ 3 ข้อ 12 (2) โดยให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน "ซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินยี่สิบนัดฯ" ดังนั้น ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎกระทรวงที่บัญญัติในภายหลังการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำรุดทรุดโทรมของบ้านจากเหตุภายนอก จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแต่ศาลกำหนดจำนวนที่สมเหตุสมผล
คำฟ้องของโจทก์แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ แม้โจทก์มิได้แจกแจงรายละเอียดของค่าเสียหายไว้ ก็ไม่ทำให้จำเลยไม่อาจต่อสู้คดีได้ เนื่องจากจำเลยยังสามารถให้การต่อสู้คดีได้ว่าค่าเสียหายของโจทก์หากมีก็ไม่เกิน 50,000 บาท ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำหนังสือแจ้งผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1)
ขณะที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในกลางปี 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 เมื่อเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่า จำเลยจะเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์เวลาใดจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนอย่างน้อย 30 วัน แสดงว่าการยอมรับสภาพหนี้ของจำเลยมีเงื่อนไข ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ให้โจทก์ทราบ ก็ถือว่าจำเลยยังคงยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสืบเนื่องตลอดมา แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือ แจ้งทนายความของโจทก์ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่เข้าดำเนินการซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ตามหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 เป็นกรณีจำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2548 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารใดจะใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาในแง่ว่ามีคุณค่าต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประเด็นในคดีหรือไม่มิใช่พิจารณาจากวันเวลาที่ทำเอกสาร และแม้โจทก์ไม่อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ท. ผู้ทำเอกสารดังกล่าวก็คงจะเบิกความได้ความตามเอกสารอยู่ดี การทำเอกสารดังกล่าวขึ้นมาเป็นพียงพยานเอกสารประกอบคำเบิกความของ ท. เท่านั้น ดังนั้นแม้จะทำเอกสารขึ้นในภายหลัง โจทก์ก็ย่อมอ้างเอกสารนั้นเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพที่ดีและแข็งแรง หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 800,000 บาท เป็นคำขอที่ให้ศาลบังคับจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 500,000 บาท แก่โจทก์และให้ยกคำขออื่น โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพดีและแข็งแรงด้วย ถือเป็นกรณีที่ศาลต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ทุกข้อ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความในคดีละเมิด การฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับจากวันที่เหตุสะดุดหยุด
การที่จำเลยทำหนังสือแจ้งผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งภริยาโจทก์ไปร้องเรียนไว้ว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ซึ่งขณะที่จำเลยทำหนังสือทั้งสองฉบับนั้นยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เกิดเหตุละเมิดเมื่อกลางปี 2541 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความและให้เริ่มนับอายุความใหม่ แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดก็ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 เมื่อเอกสารหมาย จ.7 มีข้อความว่า จำเลยจะเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์เวลาใดจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบก่อน 30 วัน แสดงว่าการยอมรับสภาพหนี้ของจำเลยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้โดยเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์เมื่อใด จำเลยจะแจ้งล่วงหน้าให้โจทก์ทราบอย่างน้อย 30 วัน ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ให้โจทก์ทราบ ก็ถือว่าจำเลยยังคงยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสืบต่อเนื่องตลอดมา แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 แจ้งทนายความของโจทก์ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่เข้าดำเนินการซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของโจทก์ เป็นกรณีจำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 อายุความตามสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2548 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิด: ผลของการยอมรับสภาพหนี้และการปฏิเสธความรับผิดชอบ
การที่จำเลยทำหนังสือว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) ซึ่งขณะที่จำเลยทำหนังสือทั้งสองฉบับนั้นยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามสิทธิเรียกร้องที่คู่ความทั้งสองฝ่ายยอมรับตรงกันว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นในกลางปี 2541 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความและให้เริ่มนับอายุความใหม่ แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงเวลาใดก็ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์คดีคุ้มครองผู้บริโภค ต้องรวมกลุ่มคดี ไม่แยกรายบุคคล หากรวมกันเกินอำนาจศาลแพ่ง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยรวม คดีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคจึงเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษต่างจากคดีแพ่งทั่วไป โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคเป็นส่วนรวม การพิจารณาทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดีว่าจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดจึงต้องคิดคำนวณทุนทรัพย์ในลักษณะทุนทรัพย์รวมกลุ่มคดี มิใช่คิดแยกทุนทรัพย์ของผู้บริโภคแต่ละราย ดังนี้ แม้ทุนทรัพย์ที่ผู้บริโภคเรียกร้องมาแต่ละรายจะมีจำนวนรายละไม่เกิน 300,000 บาท แต่เมื่อทุนทรัพย์รวมกลุ่มคดีมีจำนวน 610,709 บาท กรณีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมทุนทรัพย์คดีผู้บริโภค: คดีพิเศษต้องคิดรวมกลุ่ม ไม่แยกรายบุคคล
คดีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 10 (7) เป็นการดำเนินคดีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นส่วนรวมตามมาตรา 39 จึงเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษต่างจากคดีแพ่งทั่วไป หลักเกณฑ์ในการพิจารณาทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดีว่าจะอยู่ในอำนาจของศาลใด ต้องคำนวณทุนทรัพย์ในลักษณะรวมกลุ่มคดีโดยรวมทุนทรัพย์ของผู้บริโภคทุกราย แม้แต่ละรายไม่เกิน 300,000 บาท แต่ในคดีนี้ เมื่อรวมทุนทรัพย์ในคดีแล้วจำนวน 610,709 บาท จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า มูลหนี้ของผู้บริโภคแต่ละรายสามารถแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 และไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 อย่างคดีแพ่งทั่วไปเป็นการไม่ชอบ จึงต้องรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6615/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุด: สิทธิเรียกร้องเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อจำเลยผิดสัญญา
เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันเพราะการบอกเลิกสัญญาของจำเลย คู่สัญญาจึงยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา กล่าวคือ โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือและจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองห้องแก่โจทก์ แต่ได้ความตามคำให้การของจำเลยว่าจำเลยได้โอนขายห้องชุดทั้งสองห้องแก่บุคคลภายนอกไปแล้วก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญา ดังนี้ การชำระหนี้ของจำเลยในการที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์จึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอันเกิดจากการกระทำของจำเลยโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยอาจซื้อห้องชุดคืนมาโอนให้โจทก์ได้หรือไม่ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 389 โดยหาจำต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ตามมาตรา 387 ก่อน การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว เมื่อสัญญาเลิกกันเพราะโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม กล่าวคือ จำเลยจำต้องคืนราคาห้องชุดที่โจทก์ชำระแล้วแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ ทั้งนี้ตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ประกอบมาตรา 7
of 15