คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัยวุฒิ โลหชิตรานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ผลของการกระทำเป็นเหตุให้เกิดอันตรายตามธรรมชาติ และอายุความความผิดพาอาวุธ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายไป เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อจำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหายการที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้นจึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามมาตรา 339 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการอนุญาตให้ฎีกาโดยตรงต่อศาลฎีกาในคดีผู้บริโภคขัดกับเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
แม้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 จะบัญญัติให้นำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมก็ตาม แต่การอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ นั้น ขัดกับหลักการและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 52 ในเรื่องการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาในคดีที่จะขึ้นมาสู่ศาลฎีกา โดยให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาเท่านั้น คดีจึงจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ จึงไม่นำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวมาปรับใช้ในคดีผู้บริโภค การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดร่วมกันพยายามฆ่าและมีอาวุธปืน ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ปืนถือเป็นเจตนาเข้าร่วม
แม้พยานโจทก์ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ในคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยอมให้ ม. เอาอาวุธปืนซึ่งเป็นของบิดาจำเลยที่ 1 ไปเหน็บไว้ที่เอวก่อนพากันออกจากบ้านจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมพร้อมใจให้ ม. ใช้อาวุธดังกล่าวกระทำความผิดขณะเดินทางไปด้วยกัน ถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะมีส่วนร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ต้น และในขณะ ม. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวกนั้น รถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 อยู่ห่างจากรถจักรยานยนต์ของ ม. ประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะใกล้กันพอที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ และก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 กับพวกได้พากันขับรถจักรยานยนต์ผ่านผู้เสียหายกับพวกไปแล้ว จึงได้พากันขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับมาและหลังจาก ม. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก จำเลยที่ 1 กับพวกได้ยกมือขึ้นแสดงความดีใจ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรู้เห็นและพร้อมใจกันมากระทำความผิด มิใช่เป็นเหตุการณ์ที่ ม. ตัดสินใจกระทำความผิดเฉพาะหน้าเพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวทรัพย์สินพิพาท (ต้นยางพารา) ระหว่างดำเนินคดี เพื่อป้องกันความเสียหาย
การทำสวนยางพาราเป็นกิจการอย่างหนึ่งของโจทก์ และโจทก์ใช้ที่ดินพิพาทบางแปลงทำสวนยางพารา ดังนี้ ต้นยางพาราซึ่งเป็นไม้ยืนต้นย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งต้นยางพาราอันเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ดแต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ มีผลเท่ากับเป็นการโต้เถียงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและต้นยางพาราอันเป็นส่วนควบของที่ดิน ถือได้ว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในคดีด้วย ข้อเท็จจริงได้ความตามทางไต่สวนว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขาย อันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (2) หากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวกรณีทรัพย์สินพิพาท (ต้นยางพารา) ถูกทำลายหรือโอนไปยังผู้อื่นระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด โดยกล่าวอ้างว่า การทำสวนยางพาราเป็นกิจการอย่างหนึ่งของโจทก์ และโจทก์ใช้ที่ดินพิพาทบางแปลงทำสวนยางพารา เมื่อต้นยางพาราซึ่งเป็นไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งต้นยางพารา การที่โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสิบเอ็ด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ มีผลเท่ากับเป็นการโต้เถียงสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและต้นยางพารา ถือได้ว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในคดีด้วย เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (2) หากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงมีเหตุสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราวตามมาตรา 254 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่ามีการปล้นทรัพย์ ศาลยกฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ แต่ลงโทษทำร้ายร่างกาย
ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้อันเป็นเหตุในลักษณะคดีแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยไม่มีฝ่ายใดฎีกาว่าจำเลยทั้งสามกับพวกรุมชกต่อยใช้ไม้และขวดเบียร์ตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจงใจทำผิดกฎหมายฐานโกงเจ้าหนี้เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 30 กันยายน 2541 จำนวนเงิน 500,000 บาท และฉบับลงวันที่ 30 เมษายน 2542 จำนวนเงิน 200,000 บาท โดยมิได้เป็นหนี้กันจริง แล้วดำเนินคดีและบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 42/2545 ของศาลชั้นต้นต่อที่ดินโฉนดเลขที่ 47781 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1142/2544 ของศาลชั้นต้น บังคับคดีต่อทรัพย์สินดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจทำผิดกฎหมาย อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 สัญญากู้ยืมเงินทั้ง 2 ฉบับและสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 42/2545 ของศาลชั้นต้น จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โดยไม่ต้องเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2553

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่ 2-3 มีหน้าที่รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการชดใช้ค่าเสียหายจากการขายที่ดินผิดสัญญา แม้จะอ้างอำนาจกรรมการ
ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติว่า ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการในขอบอำนาจกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว กิจการดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการส่วนตัว แต่เมื่อได้ความว่า ในการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ โดยมอบอำนาจให้ ว. ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายในเงื่อนเวลาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันอยู่และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 อันเป็นเวลาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมทราบดีว่าจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอ้างสิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายนี้มาต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่
จำเลยที่ 4 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนการได้มาโดยสุจริตกับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้และต้องเสียเปรียบจากการจดทะเบียนนั้นก็ตาม โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนนั้นได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ผู้บริโภค ไม่สามารถใช้วิธีอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
คดีผู้บริโภคจะขึ้นมาสู่ศาลฎีกาได้เฉพาะแต่กรณีที่คู่ความยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค พร้อมคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลชั้นต้นเพื่อส่งให้ศาลฎีกาพิจารณา และศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาแล้วเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 46, 49, 51, 52 และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ข้อ 40 ดังนั้นจึงไม่อาจอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 7 นำบทบัญญัติในเรื่องการอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมใช้บังคับแก่คดีผู้บริโภคได้ เพราะขัดเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ดังกล่าว
of 15