พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การไม่ทำให้จำเลยแพ้คดีอัตโนมัติ ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเพื่อพิสูจน์ความประมาท
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขับรถยนต์ ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของรถยนต์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็ยังวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายชนะคดีไม่ได้จนกว่าจะได้พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองทั้งสองนำสืบว่าคดีมีมูลตามข้ออ้างแห่งฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 206 วรรคหนึ่ง ทั้งเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้การและนำสืบต่อสู้คดีจึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ หาใช่กรณีที่ศาลจะต้องฟังแต่เฉพาะพยานโจทก์ทั้งสองฝ่ายเดียวว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกาไม่ และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องในส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ หากฟังเหตุมิได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดทางการแพทย์: สัญญาช่วยเหลือไม่ใช่การรับสภาพหนี้
ตามสัญญาระบุว่า จำเลยที่ 3 ยินดีที่จะให้การช่วยเหลือโจทก์ที่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพและอาการป่วยจากการติดเชื้อเอชไอวีในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาประมาณ 5 ปี เป็นเงินจำนวนหนึ่งไม่เกิน 500,000 บาท โดยจำเลยที่ 3 จะนำเรื่องนี้ไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 ก่อนและจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้ แสดงว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขว่าต้องให้จำเลยที่ 3 นำไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 ก่อน ซึ่งยังไม่แน่ว่าคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 จะเห็นชอบและตกลงทำสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงยังไม่ระงับไปตามสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 อันมีผลเป็นการรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 การใช้สิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายแต่ละมูลละเมิดของโจทก์จึงต้องใช้ภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือเดือนพฤษภาคม 2539 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 จึงล่วงพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คพิพาทตามกฎหมายคือใคร? กรณีบริษัทฟ้องแทนกรรมการ
ผู้ใดจะเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมายย่อมต้องถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 ซึ่งหมายถึงบุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานะเป็นผู้รับเงินหรือเป็นผู้รับสลักหลังถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือก็นับว่าเป็นผู้ทรงเช่นกัน ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏขณะที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย ผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะนั้นคือ พ. น. และ จ. หาใช่โจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นบุคคลต่างหากจากบุคคลทั้งสามไม่ แม้บุคคคลทั้งสามจะมีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ร่วมในการรับเช็คพิพาทมาดังที่โจทก์ร่วมกล่าวอ้างก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าขณะที่ธนาคารตามเช็คพิพาทปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำสั่งอายัดทางไปรษณีย์ต้องพิสูจน์อายุและสถานะของผู้รับแทนตามกฎหมาย
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278/1 และมาตรา 76 เจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ในหนังสือรับรอง มีผู้รับแทนตามเอกสารท้ายหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าบุคคลผู้รับแทนนั้นมีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้ร้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงย่อมไม่เป็นการเพียงพอที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณหนี้ค้างชำระและหักชำระหนี้ตามกฎหมายแพ่ง จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ที่ชัดเจน
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยให้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยและให้ชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้ง จำเลยไม่ผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์อีกและได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมทั้งสองฉบับสัญญาครั้งละครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาฉบับอื่นๆ อีกหลายฉบับ โดยโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อจำเลยเป็นหนี้อยู่หลายจำนวนรวมกันและชำระหนี้รวมกันแต่ละเดือนก็ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนว่าห้ามมิให้นำ ป.พ.พ. มาตรา 329 ที่ให้นำเงินที่จำเลยชำระไปหักใช้ดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงนำไปชำระหนี้ต้นเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานมาใช้บังคับ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณหนี้ค้างชำระที่ไม่ชัดเจน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาให้รับผิดได้
คำฟ้องของโจทก์มีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมายื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องและชัดเจนเป็นสาระสำคัญในการฟ้องคดี หากโจทก์ไม่สามารถแสดงรายละเอียดการหักชำระหนี้ได้อย่างชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
พยานโจทก์เบิกความอ้างถึงการกู้ยืมเงินของจำเลยตามฟ้องเพียงฉบับเดียว ทั้งยืนยันว่าจำเลยผ่อนชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนละ 4,375 บาท รวม 30 เดือน หลังจากนั้นจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์อีก เมื่อถึงวันฟ้องจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยเพียง 5 ปี เป็นเงิน 262,500 บาท รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระจำนวน 612,500 บาท ส่วนหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญารายอื่น ๆ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการที่พยานโจทก์ดังกล่าวตอบคำถามติงของทนายโจทก์ โดยโจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นอย่างไร มากน้อยเพียงใด อันจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่โต้แย้งประเด็นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นไปโดยจงใจ และโจทก์นำดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมเข้ากับต้นเงินเป็นทุนทรัพย์ในคำฟ้อง จึงตกเป็นโมฆะ ฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้ระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิจากการซื้อขายกับเจ้าหนี้จำนอง: กรณีจำเลยผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์
ป.พ.พ. มาตรา 276 บัญญัติว่า "บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยในราคานั้น และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น" หนี้ที่ตกอยู่ภายใต้บุริมสิทธินี้จึงได้แก่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้น ซึ่งเป็นหนี้ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระแก่ผู้ขาย แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อห้องชุดพิพาทมิใช่ผู้ขาย และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดพิพาทก็เพื่อออกขายทอดตลาดชำระหนี้ที่จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามคำพิพากษา เงินดังกล่าวหาใช่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้นไม่ โจทก์จึงไม่มีบุริมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: สิทธิการครอบครองเดิมไม่ผูกพัน สำนักงานปฏิรูปที่ดินมีอำนาจจัดสรร
ที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธินั้นเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ บุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน ฉะนั้นแม้โจทก์จะครอบครองที่ดินมาก่อนทางราชการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินก็ตาม แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้วที่ดินรวมทั้งต้นยางพาราซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกเป็นของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจจัดให้บุคคลใดเข้าถือครองและทำประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด การกระทำของจำเลยหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247