พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3302/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีบริษัท กรณีมีทรัพย์สินคงเหลือ และผลกระทบต่อสิทธิผู้ถือหุ้น
ผู้ร้องเคยเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท ย. และได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1270 ให้ถือว่าเป็นที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่ก็มิได้หมายความว่าหากได้จดทะเบียนแล้ว หากมีเหตุจำเป็นขัดข้องจากการชำระบัญชีกิจการของบริษัทแต่เดิมแล้วจะมีการชำระบัญชีเพิ่มเติมใหม่อีกไม่ได้ ซึ่งก็ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดห้ามไว้ นอกจากนี้หากกรณีมีมูลเหตุข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้องขอของผู้ร้องว่าหลังจากจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว ผู้ร้องตรวจสอบพบว่ายังมีที่ดินที่บริษัท ย. ถือกรรมสิทธิ์อยู่อีก 2 แปลง กรณีจะดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ซึ่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัทที่ยังคงหลงเหลืออยู่โดยมิได้มีการชำระบัญชีด้วยวิธีการเช่นใด ในเมื่อบริษัทมิได้ยังคงตั้งอยู่แต่สิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคลไปแล้ว และย่อมกระทบกับสิทธิที่จะได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นอีกด้วย ดังนั้น คดีมีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท ย. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืน กระทำชำเรา และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อการอนาจาร แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่าจำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายด้วยวิธีการอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์ เพราะการกระทำเพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยอมความได้และการกำหนดโทษในคดีค้ามนุษย์ ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อกำหนดโทษตามกฎหมายที่ยังไม่ระงับ
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก และ พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 อันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก แต่ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้เสียหายทั้งสามต่างยื่นคำร้องว่า แต่ละคนได้รับค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 จนเป็นที่พอใจแล้วจึงไม่ประสงค์จะว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคท้าย บัญญัติว่า "ความผิดตามวรรคแรกฯ เฉพาะกรณีที่กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีเป็นความผิดอันยอมความได้" เมื่อผู้เสียหายทั้งสามซึ่งต่างก็มีอายุเกินสิบห้าปีแล้วทั้งสิ้น จึงเท่ากับยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในระหว่างฎีกา สิทธิของโจทก์ในการนำความผิดฐานนี้มาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 มาตรา 5 และ 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยศาลล่างทั้งสองต่างมิได้กำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ไว้ คดีของจำเลยที่ 1 จึงอาจต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: คดีเมาแล้วขับชนจนผู้อื่นบาดเจ็บ สิทธิฟ้องระงับหากเคยถูกตัดสินลงโทษในความผิดฐานเมาแล้วขับแล้ว
พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยขับรถในขณะเมาสุรา จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม (เดิม) กับการที่จำเลยซึ่งมีอาการมึนเมาสุราขับรถในลักษณะส่ายไปมาบนท้องถนนและขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถที่แล่นสวนมาเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่มีผู้เสียหายที่ 1 ขับ และมีผู้เสียหายที่ 2 นั่งไปด้วยได้รับความเสียหาย และผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่หลายกรรมต่างกันไม่ เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราแล้วสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในการกระทำเดียวกันนั้นเป็นคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายต้องสมเหตุสมผล การลงมือทะเลาะวิวาทก่อนทำให้ไม่สามารถอ้างป้องกันตนได้
ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของพยานทั้งสองว่า หลังจากผู้ตายเปิดประตูรถและเกาะประตูรถถีบจำเลยแล้ว ช. ได้เข้าไปดึงตัวผู้ตายจากรถของจำเลยในเวลานั้นหากจำเลยซึ่งนั่งอยู่ในรถไม่ประสงค์จะมีเรื่องกับผู้ตายก็น่าจะขับรถออกจากบริเวณนั้นไปเสีย แต่จำเลยกลับลงจากรถตามผู้ตายไปจนเกิดเหตุชกต่อยกันแสดงให้เห็นว่าจำเลยสมัครใจลงไปทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย ดังนั้น แม้จำเลยจะถูกผู้ตายใช้ไม้ตีที่ศีรษะก่อนและจะตีซ้ำอีกจำเลยจึงใช้มีดแทงผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยมิชอบ สิทธิในการฟ้องแย่งการครอบครอง และอายุความ
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นใหม่ว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ถือเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามข้ออ้างข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพราะประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่กำหนดไว้แต่เดิมนั้นเอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้นำสืบไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การอยู่แล้วนอกจากนี้การกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่ก็กระทำหลังจากคู่ความทั้งสองฝ่ายนำพยานเข้าสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยไม่มีผลต่อการนำสืบและการรับฟังข้อเท็จจริงตามนำสืบของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่จำต้องแจ้งให้คู่ความทราบและไม่จำต้องสืบพยานเพิ่มเติม การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้แต่เดิมขึ้นใหม่ก็เพื่อสะดวกในการวินิจฉัยคดีจึงเป็นการกระทำโดยชอบ
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่จะต้องวินิจฉัยเพราะการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นมิใช่เป็นที่ดินของตนเอง
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าของ ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกซึ่งหมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่จะต้องวินิจฉัยเพราะการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นมิใช่เป็นที่ดินของตนเอง
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าของ ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกซึ่งหมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9200/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์: การใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือการพาททรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม แต่ไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในลักษณะใด อย่างไร อันถือได้ว่าเป็นการใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำความผิดโดยตรง เพราะความผิดฐานนี้สามารถเป็นความผิดโดยสมบูรณ์ได้โดยหาจำต้องใช้รถจักรยานยนต์ด้วยเสมอไปไม่ การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ที่ใช้เฉพาะในการเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจฟังว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดอันศาลจะมีอำนาจริบได้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8863/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุนในคดียาเสพติด ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 จำคุก 5 ปี และปรับ 400,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์แก้บทที่ลงโทษเฉพาะเกี่ยวกับลักษณะแห่งการกระทำความผิดกับโทษที่ลงแก่จำเลยที่ 2 โดยแก้จากต้องร่วมรับผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 83 มาเป็นฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 จำคุก 3 ปี 4 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกินห้าปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8605/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างและคู่สัญญาตกลงกันใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารคลับเฮาส์โดยโจทก์เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2542 เรื่อยมาจนถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2542 จำเลยที่ 2 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนใหม่ผิดไปจากเดิมหลายประการ ซึ่งมีทั้งการเพิ่มเหล็กเพิ่มคอนกรีตและต้องทุบงานที่ก่อสร้างไปแล้วบางส่วนทิ้งเพื่อทำให้ตามแบบที่แก้ไข ทำให้โจทก์ต้องเสียเวลา เนื่องจากขณะนั้นลงมือก่อสร้างไปแล้วเกือบเดือน ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยที่ 2 ก็บอกให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การก่อสร้างจะต้องล่าช้าออกไปจนไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ตามกำหนดเวลาเดิมอย่างแน่นอน ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า คู่กรณีเจตนาให้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา โดยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป การทำงานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่อาจบอกเลิกสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เว้นแต่จะได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ได้เสนอราคางานที่เพิ่มเติมต่อจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 และแจ้งจำเลยที่ 2 ถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบซึ่งโจทก์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปก่อนขอให้จำเลยที่ 2 หาทางช่วยเหลือโดยจัดสรรเงินให้เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 2 รับเอกสารดังกล่าวแล้วบอกกว่าจะจัดการให้ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่ในที่สุดจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชำระการทิ้งงานของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแบบแปลนใหม่ทั้งๆ ที่โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ต้องรับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ในส่วนของงานที่เพิ่มเติมและอื่นๆ
โจทก์ได้เสนอราคางานที่เพิ่มเติมต่อจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 และแจ้งจำเลยที่ 2 ถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมแบบซึ่งโจทก์ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปก่อนขอให้จำเลยที่ 2 หาทางช่วยเหลือโดยจัดสรรเงินให้เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 เมื่อจำเลยที่ 2 รับเอกสารดังกล่าวแล้วบอกกว่าจะจัดการให้ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 แต่ในที่สุดจำเลยที่ 2 ก็ไม่ชำระการทิ้งงานของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าก่อสร้างส่วนที่เพิ่มขึ้นตามแบบแปลนใหม่ทั้งๆ ที่โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ต้องรับผิดในค่าเสียหายของโจทก์ในส่วนของงานที่เพิ่มเติมและอื่นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8605/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบก่อสร้างทำให้สัญญาเดิมเปลี่ยนแปลง สิทธิบอกเลิกสัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด
จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้รับช่วงก่อสร้างอาคารคลับเฮ้าส์ โดยกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแปลนก่อสร้างให้ผิดไปจากเดิมหลายประการ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าการก่อสร้างจะต้องล่าช้าออกไปจนไม่สามารถทำให้เสร็จได้ภายในวันที่กำหนดอย่างแน่นอน ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่า คู่กรณีมีเจตนาให้มีการเปลี่ยนแปลงในข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา โดยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป การทำงานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่อาจบอกเลิกสัญญาโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนด เว้นแต่จะได้บอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 การบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 โดยไม่บอกกล่าวก่อนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ