พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิดเป็นสำคัญ
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความได้โจทก์ร่วมต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 ปรากฏตามคำเบิกความโจทก์ร่วมและ น. ภริยาของโจทก์ร่วมได้ความว่า หลังจากมอบรังนกนางแอ่นและไม้จันทร์หอมให้จำเลยแล้ว จำเลยบอกให้โจทก์ร่วมรอรับเงินอยู่ที่ลานจอดรถซึ่งเป็นสถานที่ส่งมอบสินค้านั้นเอง โจทก์ร่วมและ น. จึงรอจำเลยอยู่บริเวณดังกล่าว ตั้งแต่เวลาประมาณ 16 ถึง 17 นาฬิกา จนกระทั่งเที่ยงคืนจำเลยก็ไม่ไปตามนัด เมื่อโจทก์ร่วมโทรศัพท์ติดต่อไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยจำเลยก็ปิดเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเสีย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวโจทก์ร่วมควรจะรู้เสียตั้งแต่ในขณะนั้นแล้วว่าจำเลยเจตนาฉ้อโกงตน การที่โจทก์ร่วมพยายามโทรศัพท์ถึงจำเลยอีกหลายครั้งในเวลาต่อมาทั้งๆ ที่จำเลยรับบ้างไม่รับบ้าง หรือบางครั้งรับปากว่าจะนำเงินไปชำระแต่แล้วก็ผิดนัด เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมผ่อนผันหรือให้โอกาสแก่จำเลย ซึ่งถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบหรือแน่ใจถึงการกระทำของจำเลยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นวันที่จำเลยอ้างต่อ บ. ว่าได้ให้เงินโจทก์ร่วมแล้วแต่เพียงใด การร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมในวันที่ 23 มีนาคม 2544 จึงเป็นการร้องทุกข์เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10903/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและผลกระทบของการไม่ระบุมาตรา 336 ทวิ ในคำฟ้องอาญา
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลย เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
ส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (4) จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองดพิพากษาเกินคำขอหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง จำเลยหรือศาลฎีกาย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (4) จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองดพิพากษาเกินคำขอหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง จำเลยหรือศาลฎีกาย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10428/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกเงินยืมเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ไม่เข้าข่ายสัญญาตาม ป.รัษฎากร ก็ใช้เป็นพยานได้ หากมีพยานสนับสนุน
บันทึกเงินยืมมีข้อความว่า วันที่ 9 ธันวาคม 2543 ข้าพเจ้า ส. ขอทำบันทึกว่าได้ยืมเงินและรับเงินยืมจาก พ. ไปแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 4,500,000 บาท (สี่ล้านห้าแสนบาท) จริง และขอชำระเงินยืมดังกล่าวคืนแก่ พ. ผู้ให้ยืมเงินต่อไปนี้... เพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน... ซึ่งก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ 4,500,000 บาท ดังความในตอนท้ายที่มีลายมือชื่อของจำเลยว่าผู้ยืมและโจทก์ว่าผู้ให้ยืม บันทึกเงินยืมดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แม้โจทก์จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9543/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินยกให้วัด: การอุทิศที่ดินเพื่อสร้างวัดทำให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดโดยสมบูรณ์ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้อื่นแล้วยกให้วัดโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล ต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2513 โดยมีโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส โจทก์ที่ 2 ก็ได้แสดงเจตนายืนยันว่าได้มีการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ตลอดมาโดยมีการทำบันทึกถ้อยคำว่า โจทก์ที่ 1 มีความประสงค์ขอรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2513 ถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่สร้างวัดที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำหรับใช้เป็นที่สำหรับสร้างวัดโจทก์ที่ 1 ตามเจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เมื่อสร้างวัดโจทก์ที่ 1 เสร็จเรียบร้อย กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมเห็นชอบให้ตั้งวัดโจทก์ที่ 1 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนั้น เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แล้วตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ที่ 1 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนซึ่งมีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยไปยังจำเลยร่วมที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9197/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าสินค้า การรับสภาพหนี้ และข้อยกเว้นอายุความสำหรับผู้ประกอบการค้า
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) กำหนดว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ประกอบการค้าที่จะเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี แต่กรณีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามความในท้าย (1) ซึ่งหมายถึงกิจการระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพ่อค้าไม้กับจำเลยซึ่งเป็นผู้นำไม้ที่ซื้อมาจากโจทก์ไปรับเหมาก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยกัน สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) หากแต่อยู่ในบังคับอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8536/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในเคหสถานและการใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลฎีกายกประเด็นเวลาเกิดเหตุและแก้ไขโทษ
ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยได้ความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน 2548 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2548 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด มีคนร้ายเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของ ย. ผู้เสียหาย และลักสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำธนาคาร ก. ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานดังกล่าวไป แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืนซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังได้เพียงว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายใดฎีกาก็ตามแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีจึงฟังได้เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา แม้ผู้เสียหายรายอื่นเคยถอนฟ้องคดีเดิมที่มีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นผู้เสียหายเคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โดยอาศัยเหตุจากการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 199 ให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ได้ขอถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวไป ซึ่งเป็นสิทธิส่วนตัวของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะกระทำได้ ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายอื่นที่จะฟ้องจำเลยได้อีก แม้มูลเหตุที่จะฟ้องเป็นเรื่องการโอนที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์รายเดียวกันก็ตาม ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์จำกัดเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินขอบเขต เป็นการละเมิดอำนาจและต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นให้เหตุผลในคำพิพากษาว่า การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยตลอด เป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ มิใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อจะขายอันจะเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 เมื่อครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ แต่ขออุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายว่าเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่ความจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า ไม่ชอบอย่างไร การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายให้จำเลยทั้งห้า แต่ได้ก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ยังไม่ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น และเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายก่อน ทั้งที่อุทธรร์ของจำเลยทั้งห้าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ซิมการ์ดเป็นทรัพย์มีรูปร่าง การรับซิมการ์ดที่ได้จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกงเข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
ตามคำฟ้องของโจทก์ ข้อ 1 บรรยายสรุปได้ว่า มีคนร้ายเอาไปเสียซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหายที่ 1 แล้วนำไปทำปลอมโดยนำภาพถ่ายของบุคคลอื่นมาปิดทับภาพถ่ายผู้เสียหายที่ 1 ในบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าว จากนั้น คนร้ายได้นำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมดังกล่าว ไปหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนได้ซิมการ์ดและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้เสียหายที่ 2 ไป และตามคำฟ้องโจทก์ ข้อ 2 บรรยายว่า ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ซึ่งใช้กระทำผิดโดยใช้กับหมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ดของผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง ทั้งนี้โดยจำเลยรับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง หมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ด ไว้จากคนร้ายโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดลักษณะลักทรัพย์และฉ้อโกง ตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ชัดเจน ทรัพย์แห่งการกระทำผิดฐานรับของโจรอันหนึ่งคือซิมการ์ด ของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างอันเป็นทรัพย์ตามคำจำกัดความตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 137 ไม่ใช่สิทธิการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจรซิมการ์ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4058/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกกิจการร่วมค้า: จำเลยในฐานะกรรมการบริษัทคู่สัญญา ไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง
กิจการร่วมค้า ค. จัดตั้งขึ้นโดยโจทก์กับบริษัท พ. ส่วนจำเลยเป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท พ. เท่านั้น สัญญากิจการร่วมค้าจึงผูกพันเฉพาะบริษัท พ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก หาผูกพันจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เลิกกิจการร่วมค้า ค. และชำระบัญชี แม้บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท และเสร็จการชำระบัญชี และผู้ชำระบัญชีบริษัท พ. ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ก็ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้โจทก์ฟ้องจำเลยได้ ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยลงชื่อในเอกสารขอเบิกเงินของกิจการร่วมค้า ค. ตามบัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินฝากรวม 3 บัญชี ร่วมกับโจทก์ในนามของกิจการร่วมค้า ค. ตลอดจนลงชื่อในเอกสารขอปิดบัญชีทั้งสามบัญชีดังกล่าวกับธนาคาร ฮ. ก็เป็นเรื่องการขอจัดการทรัพย์สินที่สืบเนื่องมาจากการขอเลิกกิจการร่วมค้า ค. อันถือได้ว่าเป็นการขอชำระบัญชีนั่นเอง โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยไม่ได้เช่นกัน