พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การกระทำความผิดกรรมเดียว แม้มีการจ่ายเงินหลายครั้ง
การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก และความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นการกระทำโดยหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและได้เงินหรือทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวง โดยผู้กระทำความผิดมีเจตนาให้เกิดผลต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้ที่ถูกหลอกลวงแต่ละคน ส่วนเหตุการณ์ในภายหลังที่ผู้กระทำความผิดได้เงินหรือทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนอีกหลายคราว ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงในครั้งแรก หาใช่เป็นการกระทำใหม่อีกกรรมหนึ่งไม่
ผู้เสียหายทั้งสิบได้นำนากหญ้าจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไปเลี้ยงตามคำแนะนำเชิญชวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก โดยจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก คู่ละ 20,000 บาท แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 นำนากหญ้าไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกและจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้กล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่ การได้รับเงินในครั้งต่อมาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินไปจากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 แม้จะต่างวาระกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน รวม 10 กรรม ตามจำนวนผู้เสียหาย
ผู้เสียหายทั้งสิบได้นำนากหญ้าจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไปเลี้ยงตามคำแนะนำเชิญชวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก โดยจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก คู่ละ 20,000 บาท แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 นำนากหญ้าไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกและจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้กล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่ การได้รับเงินในครั้งต่อมาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินไปจากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 แม้จะต่างวาระกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน รวม 10 กรรม ตามจำนวนผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง: ศาลมีอำนาจกำหนดได้ตามความเหมาะสม
ค่าทนายความใช้แทนไม่ใช่ค่าธรรมเนียมที่ ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้มิให้เรียก แต่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดได้ตามดุลพินิจ เมื่อคดีที่พิจารณาในศาลนั้น ๆ สิ้นสุดลง คดีนี้มีโจทก์ร่วมทั้งสองแต่งตั้งทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848-5849/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่อง: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19
ญาติของผู้เสียหายไปแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่แต่เพียงว่า ผู้เสียหายได้หายตัวไปโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงมาแจ้งความเพื่อขอให้เจ้าพนักงานตำรวจช่วยสืบหาตัวผู้เสียหายให้เท่านั้น ไม่มีรายละเอียดอื่น ไม่มีแม้แต่ข้อความที่ระบุว่าผู้แจ้งเชื่อว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น การแจ้งความเช่นนี้ จึงมิใช่คำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) (8) ไม่ก่อให้เกิดปัญหาว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคดีนี้ตามมาตรา 19 วรรคสอง (ข) เพราะข้อเท็จจริงตามคำแจ้งความดังกล่าว ไม่ทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่จะสามารถเป็นได้แม้กระทั่งพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนคนหนึ่งในหลายท้องที่ที่มีการกระทำความผิดต่อเนื่องกันตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง
กรณีว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ได้ผ่านบทบัญญัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง มาก่อนแล้ว และเกิดมีปัญหาที่พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องต่างมีอำนาจสอบสวนเท่านั้น สถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาเป็นท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน โดยผู้เสียหายถูกเอาตัวไปที่บริเวนหน้าสำนักสงฆ์ถ้ำกระแชง และเป็นสถานีตำรวจที่ ด. ได้ไปกล่าวโทษไว้ เช่นนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาจึงย่อมเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสอง (ข)
กรณีว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่ได้ผ่านบทบัญญัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง มาก่อนแล้ว และเกิดมีปัญหาที่พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องต่างมีอำนาจสอบสวนเท่านั้น สถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาเป็นท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน โดยผู้เสียหายถูกเอาตัวไปที่บริเวนหน้าสำนักสงฆ์ถ้ำกระแชง และเป็นสถานีตำรวจที่ ด. ได้ไปกล่าวโทษไว้ เช่นนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบันนังสตาจึงย่อมเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสอง (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9435/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาขึ้นอยู่กับผู้เสียหายโดยนิตินัย คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่นมีผลผูกพัน
คำพิพากษาถึงที่สุดของศาลฎีกาซึ่งคู่ความนำสืบกล่าวอ้างรับกันว่ามีการดำเนินคดีดังกล่าวจนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษานั้น ย่อมต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวได้ โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์และเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวละครอุลตร้าแมนมิลเลนเนียม และยังได้รับโอนสิทธิผลงานอุลตร้าแมนตามข้อตกลงมอบสิทธิ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่ออาศัยเป็นเหตุฟ้องจำเลยทั้งสองได้ยุติไปตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลฎีกาว่า โจทก์มิใช่ผู้สร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนตั้งแต่เริ่มแรก และข้อตกลงมอบสิทธิเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ กรณีย่อมต้องถือว่าโจทก์อ้างสิทธิโดยแอบอ้างการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์และใช้เอกสารสิทธิปลอมโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย และไม่มีอำนาจฟ้องมาตั้งแต่แรก แม้ข้อเท็จจริงนี้จะปรากฏขึ้นในชั้นพิจารณาของศาลฎีกา แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างมาตั้งแต่ต้น ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เสรีภาพในการชุมนุมสงบและการพิสูจน์เจตนาในการกระทำผิดร่วม
การที่ชาวบ้านร่วมชุมนุมและเดินขบวนกันเพราะไม่พอใจที่ทางราชการมีมติให้จัดตั้งกิ่งอำเภอนาทมในที่อื่น ที่ไม่ใช่ตำบลนาทมโดยมีชาวบ้านร่วมกันกว่า 200 คน ไม่ปรากฏว่ามีการร่วมกันวางแผนหรือคบคิดกระทำการในสิ่งผิดกฎหมาย ไม่มีผู้ใดมีอาวุธ จึงต้องถือว่าเป็นการชุมนุมที่เริ่มต้นด้วยความสงบปราศจากอาวุธ อันเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนโดยชอบที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้การรับรองตลอดมา การกระทำความผิดมาเกิดขึ้นในภายหลัง ต้องถือว่าเป็นเจตนาของผู้กระทำความผิดของแต่ละคนแต่ละกลุ่มจะถือเอาเป็นเจตนาร่วมของผู้เข้าชุมนุมทุกคนไม่ได้ ลำพังแต่จำเลยเป็นผู้ร่วมอยู่ในกลุ่มชาวบ้าน 2 กลุ่ม ที่มีคนร้ายบางคนกระทำความผิดก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือพฤติการณ์อันใดที่แสดงการขัดขวางมิให้ ศ. กับพวกนำรถดับเพลิงเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเผาสะพาน ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับคนร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 83 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีเสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลา และการรับฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์มาโดยไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วและข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีได้ความว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ในวันเดียวกันพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล และไม่ปรากฏว่ามีเหตุเข้าข้อยกเว้นที่จะจับโดยไม่มีหมายจับได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่จะต้องฟ้องคดีภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือต้องผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13227/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายคำว่า 'ไตร่ตรองไว้ก่อน' ในฟ้องอาญา ไม่ต้องระบุรายละเอียดวิธีเตรียมการ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ในการฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 7 ร่วมกับพวกกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คำว่าไตร่ตรองไว้ก่อนมีความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นเรื่องที่มีการเตรียมการมาล่วงหน้ามิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจมาก่อน อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็อ้าง ป.อ. มาตรา 289 มาด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าไตร่ตรองไว้ก่อนอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12639/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแนวเขตที่ดิน: โจทก์ซื้อโฉนดถูกต้อง จำเลยอ้าง น.ส.3 ทับที่ดินเดิม ศาลยืนตามโฉนด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่าโจทก์รับโอนที่ดินมาจาก ห. โดยไม่สุจริต โดยไม่ปรากฏว่าไม่สุจริตอย่างไร และทางนำสืบของจำเลยก็ไม่ปรากฏเรื่องนี้ ถือว่าคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทนี้
จำเลยให้การว่าจำเลยคัดค้านการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ เนื่องจากเป็นที่ดินของจำเลย เป็นคำให้การที่ยืนยันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การด้วยว่า จำเลยกับมารดาร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้วก็ตาม เพราะจะขัดกับคำให้การที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะการครอบครองปรปักษ์จะต้องกระทำต่ออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาท จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินพิพาทของโจทก์ เท่ากับขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์นั่นเอง ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
จำเลยให้การว่าจำเลยคัดค้านการขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ เนื่องจากเป็นที่ดินของจำเลย เป็นคำให้การที่ยืนยันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตาม น.ส.3 ของจำเลย จึงไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การด้วยว่า จำเลยกับมารดาร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปีแล้วก็ตาม เพราะจะขัดกับคำให้การที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะการครอบครองปรปักษ์จะต้องกระทำต่ออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาท จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินพิพาทของโจทก์ เท่ากับขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์นั่นเอง ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เมื่อคดีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12525/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเมื่อมีการขอออกโฉนดโดยผู้ไม่มีสิทธิ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 แต่จำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยจำเลยได้ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ บ. ทำให้จำเลยขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และหมดสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาเมื่อ บ. ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จนเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การบรรยายฟ้องดังกล่าวเท่ากับเป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิไปออกโฉนดที่ดินพิพาทได้ แม้ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 และมาตรา 12 ได้กำหนดให้ทางราชการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมที่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งสมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน แต่ภายในห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี แต่เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นที่ดินของรัฐซึ่งราษฎรสามารถมีสิทธิครอบครองได้ และไม่มีกฎหมายห้ามโอนสิทธิครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันเพียงแต่ราษฎรไม่สามารถยกการครอบครองขึ้นอ้างต่อรัฐได้เท่านั้น แต่สามารถใช้ยันกันระหว่างราษฎรด้วยกันได้ โจทก์จึงสามารถมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ เมื่อจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11600/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าประกันผลงาน: สิทธิเรียกร้องเริ่มเมื่อครบกำหนด 2 ปีหลังส่งมอบงาน ฟ้องภายใน 2 ปีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ส่งมอบสินค้าแก่จำเลยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าประกันผลงานซึ่งหักจากค่าสินค้าไว้คืนแก่โจทก์ย่อมเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 จึงยังไม่ขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)