คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ กิตติพงษ์พัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9599/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดสิทธิทายาทโดยธรรมกรณีทำพินัยกรรม: การจำหน่ายทรัพย์สินโดยพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ ทรัพย์สินยังตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย
การตัดไม่ให้ทายาทโดยธรรมได้รับมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 กำหนดไว้ 2 กรณี กรณีแรกคือเจ้ามรดกแสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมโดยชัดแจ้งด้วยการระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก กรณีที่สองคือเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดโดยไม่มีทายาทโดยธรรมคนที่เจ้ามรดกประสงค์จะตัดมิให้รับมรดกมีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์ใด ๆ ในพินัยกรรมนั้น เมื่อตามพินัยกรรมไม่ระบุว่าตัดโจทก์มิให้รับมรดกโดยชัดแจ้งและที่ยกทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท 6 คน โดยไม่มีชื่อโจทก์นั้น มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า หมายถึงเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้ามรดกมีสิทธิในกองมรดกของ อ. ครึ่งหนึ่งในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ที่ดินพิพาทตามข้อ 5 ของพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกที่เป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกที่ได้รับการยกให้มาจาก พ. จึงเป็นคนละส่วนกัน เมื่อตามพินัยกรรมข้อ 5 คงมีแต่คำสั่งของเจ้ามรดกที่ให้ผู้จัดการมรดกขายที่ดินพิพาทแล้วนำเงินมาชำระหนี้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ โดยมิได้มีคำสั่งของเจ้ามรดกว่า หากการชำระหนี้มีเงินเหลือให้ตกได้แก่ผู้ใด หรือหากมีกรณีที่ทรัพย์มรดกดังกล่าวไม่มีการดำเนินการตามนั้นจะให้ตกได้แก่ผู้ใด ทั้งปรากฏว่าได้มีการไถ่ถอนทรัพย์จำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารเจ้าหนี้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงเป็นกรณีที่ข้อกำหนดในพินัยกรรมเรื่องการชำระหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินรายนี้เป็นอันไร้ผล ที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังมิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1699 และ 1620 วรรคสอง โจทก์เป็นบุตรคนหนึ่งในจำนวนบุตร 8 คน ของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิได้รับหนึ่งในแปดส่วนของที่ดินพิพาทตามมาตรา 1629 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 1633

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8595/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การพิเคราะห์ความสัมพันธ์ 'ผู้อยู่ในความปกครอง' และการรับฟังพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายมิใช่ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของจำเลย และคำว่า "ผู้อยู่ใต้อำนาจปกครอง" ตาม ป.อ. มาตรา 285 หมายถึง ความปกครองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ตามพฤตินัย การที่จำเลยและภริยารับผู้เสียหายมาอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา ผู้เสียหายมิได้อยู่ในความปกครองของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกเลี้ยง จึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราแก่ผู้อยู่ในความปกครองตาม ป.อ. มาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่พร้อมในการโอนกรรมสิทธิ์และการคืนเงินมัดจำในสัญญาซื้อขาย
จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่า ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 อันเป็นวันนัดโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินส่วนที่เหลือ จำเลยทั้งสองอยู่ในสภาพพร้อมที่จะโอนทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้ไปที่สำนักงานที่ดินจริง ทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทจึงยังติดจำนองอยู่กับธนาคาร จำเลยทั้งสองไม่มีความพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์สามารถนำเงินส่วนที่เหลืออยู่มาชำระได้ในวันดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาต่างตอบแทนที่จะมีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ตามสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้แสดงความพร้อมในส่วนของตนย่อมไม่อาจอ้างเอาแต่เพียงวันที่กำหนดในสัญญามาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
เมื่อเลยกำหนดวันนัดโอนแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงให้โจทก์ชำระเงินค่างวดแก่ธนาคารแทนต่อมาอีกถึง 3 งวด แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ยึดถือเอาวันนัดโอนในสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หลังจากโจทก์ชำระเงินค่างวดแทนจำเลยทั้งสองครั้งสุดท้ายในวันที่ 5 ตุลาคม 2546 หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองจะต้องกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือและไปรับโอนกรรมสิทธิ์ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนด จำเลยทั้งสองจึงจะสามารถบอกเลิกสัญญาโดยถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 อันจะเป็นเหตุให้มีสิทธิริบเงินมัดจำของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองได้นำทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนจำเลยทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการและตัวแทน กรณีละเมิดจากการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยชำรุด และการประเมินค่าเสียหายที่สมเหตุสมผล
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคของโครงการรวมทั้งจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ประกาศโฆษณาขายอาคารชุด การที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบุคคลอื่นติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคารชุด จำเลยที่ 1 ต้องดูแลให้ระบบป้องกันอัคคีภัยใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ในการมีระบบป้องกันอัคคีภัย หากระบบป้องกันอัคคีภัยไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้งานได้ไม่สมบูรณ์จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัยจนสามารถใช้งานได้ ตามที่โฆษณาไว้ เมื่อต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 และปรากฏแก่โจทก์ว่า ระบบป้องกันอัคคีภัยที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบุคคลอื่นมาติดตั้งไม่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ จำเลยที่ 1 ยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดแก้ไขปรับปรุงให้การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยใช้งานได้สมบูรณ์
ระบบป้องกันอัคคีภัยที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาจำเลยที่ 2 ติดตั้งแก่อาคารชุด ไม่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดดำเนินการแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัยให้สามารถใช้งานได้ การที่จำเลยที่ 2 มอบหมายให้พนักงานของตนตรวจสอบแก้ไขระบบดังกล่าวจึงเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 2 เชื่อมต่อสายไฟฟ้าเข้าระบบผิด ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร เกิดความเสียหายแก่ระบบป้องกันอัคคีภัย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนก่อให้เกิดขึ้นดังกล่วด้วยตามมาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการแก้ไขระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยที่ได้รับความเสียหายให้เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควร โจทก์ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเข้าจัดการในทรัพย์สินของตน โดยจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการและเรียกค่าใช้จ่ายจากจำเลยทั้งสองได้ หากต้องรอจนจำเลยทั้งสองแก้ไขระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยซึ่งไม่อาจคาดหมายกำหนดเวลาเสร็จสิ้นได้ ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของโครงการและผู้รับเหมาต่อความเสียหายของระบบป้องกันอัคคีภัย รวมถึงสิทธิในการจัดการทรัพย์สินและเรียกค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคของโครงการรวมทั้งจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามประกาศโฆษณาขายอาคารชุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบุคคลอื่นติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคารชุด จำเลยที่ 1 ต้องดูแลให้ระบบป้องกันอัคคีภัยดังกล่าวใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ หากระบบป้องกันอัคคีภัยไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ตามที่โฆษณาไว้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างเหมาจากจำเลยที่ 1 ให้ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยให้แก่อาคารชุด จึงเป็นการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 2 เชื่อมสายไฟเข้าระบบผิดทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดความเสียหายแก่ระบบป้องกันอัคคีภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนก่อให้เกิดขึ้นดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
การที่จำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการแก้ไขระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้รับความเสียหายให้เสร็จสิ้นภายในเวลาอันควร โจทก์ย่อมมีสิทธิจัดหาบุคคลภายนอกมาดำเนินการในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเข้าจัดการในทรัพย์สินของตนและเรียกค่าใช้จ่ายจากจำเลยทั้งสองได้ โดยถือเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213, 215.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม แม้ไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก่อนฟ้องก็สามารถทำได้
แม้รายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมที่โจทก์ดำเนินการสั่งซื้อไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้มีการทำคำสั่งนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรตามทางปฏิบัติ แต่ในรายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมนั้นได้มี บ. วิศวกรคุมงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ตรวจสอบและลงชื่อกำกับไว้ และมี ส. หัวหน้าคนงานเบิกความเป็นพยานยืนยันการตรวจสอบและลงลายมือชื่อกำกับดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้นำสืบหักล้างคำเบิกความของ ส. กรณีจึงต้องฟังตามที่ ส. เบิกความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหนี้โจทก์ตามเอกสารรายการสั่งซื้อดังกล่าว
ตามป.พ.พ. มาตรา 602 บัญญัติว่าอันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ ดังนี้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าแรงและค่าวัสดุให้แก่โจทก์ในเวลาที่รับมอบงาน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ โดยมิต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 อย่างชัดแจ้ง และฎีกาไม่เชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงในคดีของตนเอง
ฎีกาประการแรกของโจทก์กล่าวถึงแต่เฉพาะคดีของบุคคลอื่นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาอย่างไร ซึ่งเป็นคนละคดีกับคดีของโจทก์ ย่อมมีข้อที่จะต้องพิจารณาเฉพาะของแต่ละคดี โจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในคดีของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือข้อเท็จจริงอย่างไร ส่วนฎีกาประการที่สองที่อ้างว่าคำพิพากษาในคดีอาญาที่ยกฟ้องโจทก์และคดีดังกล่าวถึงที่สุด ย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นคำพิพากษาที่ซ้ำซ้อนกับคดีอาญาดังกล่าว นั้น ไม่ปรากฏว่ามีข้อกฎหมายดังที่โจทก์กล่าวอ้าง และก็เป็นข้อฎีกาที่มิได้ชี้ให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบอย่างไรเช่นเดียวกัน ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีพยายามฆ่า จำเลยเปลี่ยนคำให้การจากป้องกันตัวเป็นไม่มีเจตนาฆ่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาผิด
การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง และไม่เป็นการป้องกันสิทธิของตนตามมาตรา 68 เพราะกรณียังฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายกับพวกได้กระทำการใดซึ่งเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแก่จำเลย พิพากษาลงโทษจำคุกสุทธิ 3 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ในอุทธรณ์ของจำเลยมิได้มีการกล่าวแก้ว่าผู้เสียหายได้กระทำการใดซึ่งมีลักษณะเป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแก่จำเลย อันจะเป็นเหตุให้จำเลยสามารถใช้สิทธิป้องกันตนเองด้วยการใช้อาวุธปืนของกลางกระทำการต่อผู้เสียหายตามที่โจทก์ฟ้องดั่งที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าอาวุธปืนของกลางไม่ได้บรรจุกระสุนปืนไว้ พวกของผู้เสียหายที่อยู่ในที่เกิดเหตุต่างเป็นญาติของจำเลยที่จำเลยสนิทสนมและไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายกับพวก เป็นการอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่ตรงข้ามกับข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การยอมรับแล้ว เพียงแต่จำเลยต่อสู้และนำสืบว่าตนสามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะเป็นการใช้สิทธิป้องกันตนเองให้พ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงเนื่องจากผู้เสียหายใช้กระบองและพวกของผู้เสียหายใช้มีดจะเข้ามาทำร้ายจำเลยก่อน อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการป้องกันดั่งที่จำเลยให้การต่อสู้กรณีไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8490/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้โฉนดที่ดินปลอมหลอกลวงเพื่อหวังผลประโยชน์ การกระทำผิดกรรมเดียว
จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนโดยใช้โฉนดที่ดินพิพาทปลอมที่มีรอยตราปลอมประทับอยู่ ไปแลกเอาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับจริงของผู้เสียหายมา อันเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารและลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย แล้วนำโฉนดที่ดินพิพาทฉบับจริงพร้อมหนังสือมอบอำนาจปลอมของผู้เสียหาย ไปใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188 มาตรา 252 ประกอบมาตรา 251 และมาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 การกระทำทั้งหมดล้วนมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ การทำให้สามารถขายหรือขายฝากที่ดินพร้อมอาคารพิพาทของผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90 อันได้แก่ความผิดฐานใช้โฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8490/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม, เอาไปเสีย/ลักทรัพย์โดยอุบาย, และร่วมกันกระทำความผิด
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนโดยใช้โฉนดที่ดินพิพาทปลอมที่มีรอยตราปลอมประทับอยู่ ไปแลกเอาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับจริงของผู้เสียหายมาอันเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารและลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย แล้วนำโฉนดที่ดินพิพาทฉบับจริงพร้อมหนังสือมอบอำนาจปลอมของผู้เสียหายไปใช้แสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน การกระทำทั้งหมดล้วนมีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียว คือ การทำให้สามารถขายหรือขายฝากที่ดินพร้อมอาคารของผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท
of 5