คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/34

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของ: เริ่มนับแต่วันรับมอบงาน มิใช่วันปฏิเสธการเบิกจ่าย
โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีวัตถุประสงค์หลายอย่างรวมทั้งรับเหมาประมูลงานก่อสร้างและงานด้านวิศวกรรมโยธาทุกชนิด โจทก์ทั้งสองจึงเป็นผู้ประกอบการค้า สิทธิเรียกร้องเอาค่าของที่ได้ส่งมอบหรือค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ 2 ปี และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป และมาตรา 602 กำหนดให้สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำโจทก์ทั้งสองจึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างได้นับแต่วันที่ได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างและได้ส่งมอบงานแล้ว ถือเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความ มิใช่ถือเอาวันที่ผู้ว่าจ้างปฏิเสธไม่อนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า: ลูกหนี้ประกอบธุรกิจ อายุความ 5 ปี
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5)ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 193/34(1) ต้องคำนึงถึงสถานะภาพของฝ่ายลูกหนี้เป็นสำคัญ คือหากลูกหนี้เป็นผู้อุปโภคหรือบริโภคเองแล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะให้ลูกหนี้ชำระหนี้มีกำหนดอายุความสองปี แต่ถ้าลูกหนี้ได้ใช้ ประกอบธุรกิจของลูกหนี้ต่อไปอีกต่อหนึ่งแล้ว สิทธิเรียกร้องดังกล่าว มีกำหนดอายุความห้าปี เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อแผ่นพลาสติก จากโจทก์เพื่อใช้เอง แต่ได้ใช้ประกอบกิจการค้าของจำเลยทั้งสอง เพื่อแสวงหากำไรต่อไปอีกทอดหนึ่ง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมี อายุความห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุดหลังโอนสิทธิ
เมื่อหนังสือสัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุคมนาคม (โทรศัพท์เคลื่อนที่) ไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระหนี้ที่แน่นอนไว้แต่อย่าใด โจทก์ผู้ให้บริการย่อมเรียกให้จำเลยผู้เช่าใช้บริการดังกล่าวชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 ข้อกำหนดในสัญญาในการเรียกเก็บค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือหลักประกันโดยใช้วิธีส่งใบแจ้งหนี้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นการบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ไม่ใช่เป็นกำหนดเวลาชำระหนี้สิ้นสุดลง อายุความจึงมิได้เริ่มนับตั้งแต่เวลาการบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้สิ้นสุดลงแต่อย่างใดไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้โอนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ให้บุคคลอื่นไป สัญญาเช่าใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้บริการดังกล่าวจากจำเลยได้ทันที คือตั้งแต่วันที่จำเลยโอนการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันฟ้องเกินกำหนด 2 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำจากผู้ประกอบการจัดหาสินค้า ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่อง ใช้ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องชำรุดบกพร่องไว้ ทั้งฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องเรียกมัดจำคืนเพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการเป็นธุระจัดหาสินค้าดินสอสีรายพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน แต่จำเลยส่งมอบสินค้าไม่มีคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าคืนแล้ว อันถือได้ว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) หาใช่เรื่องฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไม่ ฉะนั้นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ามัดจำค่าสินค้าหรือเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าบางส่วนคืนนี้เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนมัดจำสินค้าชำรุด: อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ป.พ.พ.มาตรา 193/34 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องชำรุดบกพร่องไว้ ทั้งฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องเรียกมัดจำคืนเพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการเป็นธุระจัดหาสินค้าดินสอสีรายพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน แต่จำเลยส่งมอบสินค้าไม่มีคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าคืนแล้ว อันถือได้ว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ กรณีต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา378 (3) หาใช่เรื่องฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไม่ ฉะนั้นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ามัดจำค่าสินค้าหรือเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าบางส่วนคืนนี้เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญา และอายุความในการเรียกร้องเงินค่าแรงล่วงหน้า
โจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ย. ก่อสร้างสาธารณูปโภคในหมู่บ้านโครงการบ้านแมกไม้ โดยได้ชำระเงินค่าแรงล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย.ไปแล้วและจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบริษัท ย. โดยหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงินที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย. และเมื่อบริษัท ย.มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัทย.มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จึงต้องฟังว่า บริษัท ย.เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
เงินค่าแรงล่วงหน้าที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท ย.นั้นมิใช่เป็นเรื่องเงินทดรองจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่เป็นการเรียกเงินจากผู้ค้ำประกันที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย.ไปซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2537 ยังไม่เกินกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันค่าแรงล่วงหน้า: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ตามที่บริษัท ย. มีความประสงค์จะทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้ซึ่งในการนี้บริษัท ย. จะต้องมีหนังสือรับรองของธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 4,400,000 บาท โดยหนังสือฉบับนี้จำเลยที่ 1 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ย. ต่อโจทก์สำหรับการทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้คราวนี้ไว้ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,400,000 บาทจากข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันแสดงเจตนายินยอมที่จะเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าแรงจ่ายล่วงหน้าจำนวน 4,400,000 บาท ตามข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยที่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายเงินค่าแรงล่วงหน้าจำนวน4,400,000 บาท ให้แก่บริษัท ย. ไปแล้ว ที่หนังสือค้ำประกันระบุไว้ตามสัญญาข้อ 3 ว่าหนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม 2535หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่รับผิดชอบใด ๆทั้งสิ้น หมายความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันมีเจตนาจะให้หนังสือค้ำประกันมีผลผูกพันและใช้บังคับกันได้ตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป กล่าวคือ หากเกิดกรณีที่บริษัท ย. จะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 4,400,000 บาทที่ได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รับผิดชดใช้ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้นับแต่วันดังกล่าว กรณีมิใช่ว่าการรับเงินจำนวน 4,400,000 บาทของบริษัท ย. จากโจทก์จะต้องกระทำขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วยไม่ แต่ขณะเดียวกันหากเหตุแห่งการที่บริษัท ย.จะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 1 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันก็หาจำต้องรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันด้วยไม่ หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงิน 4,400,000 บาท ที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย.และเมื่อบริษัทย. มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ย. โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ย. มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า บริษัท ย. แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามิได้กระทำผิดสัญญาเท่านั้น ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไว้จึงต้องฟังตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า บริษัท ย. เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย. ไปจากจำเลยผู้ค้ำประกันของบริษัท ย. ไปตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5195/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจ้างทำของ: ค่าขายบ้านจัดสรรเป็นสินจ้างเพื่องานตามมาตรา 193/34(8) พ.ร.บ.แพ่งฯ
คำให้การจำเลยที่ระบุว่าคำฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเรียกร้องเอาค่าขายบ้านจัดสรรซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้างทำของต้องใช้สิทธิภายใน 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 โจทก์บรรยายคำฟ้องว่าสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จ้างทำของเกิดขึ้นเมื่อ 5 ปี 8 เดือนที่ผ่านมา คดีโจทก์ขาดอายุความแม้จะไม่ได้ระบุเลขอนุมาตราใดก็เป็นคำให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 ศาลชอบที่จะนำบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมาปรับแก่คดีได้
ค่าขายบ้านที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นสินจ้างเพื่องานที่ทำตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(8) มิใช่เป็นค่าตอบแทนที่ไม่มีบทกฎหมายเกี่ยวกับอายุความกำหนดแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายตามสมควร: การพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์, ความยากง่ายของคดี, และอายุความค่าจ้าง
บันทึกข้อตกลงค่าจ้างว่าความที่ระบุว่า ค่าทนายตกลงกันตามสมควรภายหลังจากศาลชั้นต้นตัดสินหรือประนีประนอมยอมความนั้น คำว่า ตามสมควรย่อมหมายถึงไม่ได้กำหนดจำนวนแน่นอนว่าเป็นเท่าใด แต่ให้กำหนดโดยคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องและความยากง่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและการงานที่โจทก์ได้ปฏิบัติไปแล้วในการว่าความให้จำเลยด้วย ซึ่งเมื่อทั้งโจทก์และจำเลยมิได้มีข้อตกลงกำหนดจำนวนเงินไว้ชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันแล้วก็ต้องถือเอาจำนวนพอสมควรเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาค่าจ้างว่าความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2533 แต่มีการอุทธรณ์อยู่ แสดงว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ว่าความในชั้นอุทธรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าว่าความของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2536 แล้ว จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้แก้ฎีกาให้จำเลย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความจึงเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 จึงไม่เกิน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(16)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อตกลงและลงมือทำงาน แม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ผูกพัน
สัญญาจ้างทำของไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือเพียงแต่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์และโจทก์ตกลงรับจ้างตามที่จำเลยว่าจ้าง สัญญาจ้างย่อมเกิดขึ้นผูกพันคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามนั้น
ผู้รับจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรวมทั้งเงินทดรองที่ผู้รับจ้างจ่ายแทนผู้ว่าจ้างไปก่อนตามสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
of 12